ผลของการใช้รูปแบบกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพด้วยการนวดและยืดเหยียดกล้ามเนื้อ อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา
คำสำคัญ:
รูปแบบกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพ, การนวด, การยืดเหยียดกล้ามเนื้อบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้รูปแบบกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพด้วยการนวดและยืดเหยียดกล้ามเนื้อ อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างสมัครใจเข้าร่วม ผู้วิจัยได้พัฒนารูปแบบกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพด้วยการจัดทำคู่มือการนวดและยืดเหยียดกล้ามเนื้อ แล้วนำรูปแบบฯ มาทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง แบ่งเป็น 2 กลุ่มๆ ละ 30 คน กลุ่มควบคุมเป็นกลุ่มที่ไม่ได้รับการนวด กลุ่มทดลองเป็นกลุ่มที่ได้รับการนวดตามคู่มือ เป็นเวลา 16 สัปดาห์ ทดสอบความอ่อนตัว และประเมินระดับความรู้สึกปวดเมื่อย วิเคราะห์ข้อมูล หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความแตกต่างภายในกลุ่มด้วยสถิติ Paired t-test และระหว่างกลุ่มด้วยสถิติ Independent t-test ผลวิจัย พบว่า 1) ได้คู่มือการนวดและยืดเหยียดกล้ามเนื้อในการพัฒนารูปแบบกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพ มีความเที่ยงตรงตามเนื้อหาในระดับดี 2) ผลการประเมินความอ่อนตัว และระดับความรู้สึกปวดเมื่อยของทั้ง 2 กลุ่ม หลังการทดลองมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ก่อนการทดลองและหลังการทดลองของกลุ่มทดลอง มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ดังนั้น การพัฒนารูปแบบกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพด้วยการจัดทำคู่มือการนวดและยืดเหยียดกล้ามเนื้อช่วยพัฒนาความอ่อนตัว และลดระดับความรู้สึกปวดเมื่อยได้
References
การกีฬาแห่งประเทศไทย. (2546). แบบทดสอบสมรรถภาพทางกายอย่างง่ายของการกีฬาแห่งประเทศไทย. (น.24-34). กรุงเทพฯ: กองวิทยาศาสตร์การกีฬา ฝ่ายวิทยาศาสตร์การกีฬา การกีฬาแห่งประเทศไทย.
การท่องเที่ยวและกีฬา. (2563). รายงานฉบับสมบูรณ์ (Full Report) โครงการศึกษาห่วงโซ่อุปทาน การท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ (Medical Tourism) ของไทย (น.27). กรุงเทพฯ: กองวิจัยการตลาดการท่องเที่ยว.
งามเนตร เอี่ยมนาคะ, แจ่มจิตต์ นิศามณีพงษ์, ปทิตตา พันธ์ละออ, ชุรีภรณ์ เสียงล้ำ และ วันวิสา ภูสนาม. (2564). THAILAND HEALTH TOURISM สู่เส้นทางสุขภาพสายประเทศไทย The Journey To Thailand Health Tourism EP.1 (น.29). นนทบุรี: กองสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข.
เจริญ กระบวนรัตน์. (2557). วิทยาศาสตร์การฝึกสอนกีฬา. พิมพ์ครั้งที่ 1. (น.106-109). กรุงเทพฯ: บริษัท สินธนาก๊อปปี้เซ็นเตอร์ จำกัด.
ชิดชนก ศรีราช และ ชาญชลักษณ์ เยี่ยมมิตร. (2564). การพัฒนาความอ่อนตัวด้วยโปรแกรมการฝึกยืดเหยียดกล้ามเนื้อที่มีต่อคุณภาพชีวิตด้านร่างกายในผู้สูงอายุ จังหวัดจันทบุรี. วารสารชุมชนวิจัย, 15(3), น.104-115.
ธนภรณ์ ทีเหล็ก, อำพล บุญเพียร และ ปฐมา จันทรพล. (2563). ผลของการนวดน้ำมันลำโพงกาสลักต่ออาการปวดกล้ามเนื้อคอ บ่า ไหล่ จากออฟฟิศซินโดรมในนักศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย, 12(3), น.408-419.
นีรนาท สุนทรประทม, อำพร ศรียาภัย และ สุพิตร สมาหิโต. (2563). ผลของการออกกำลังกายแบบยืดเหยียดกับการนวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้าที่มีต่อการทรงตัวในผู้สูงอายุที่เป็นเบาหวาน. วารสารสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการ, 46(1), น.92-102.
ระวิวรรณ แซ่หลี, ณัฐวิภา หงส์เจริญกุล, เนตรนภา เขี้ยวแก้ว และอิสรีย์ ศุภเลิศจารุภัทร์. (2562). ผลของการฝึกยืดเหยียดกล้ามเนื้อและการนวดแผนไทยเพื่อพัฒนาความอ่อนตัวของนักกีฬาประเภทวีลแชร์ สังกัดจังหวัดยะลา. ในการประชุมสัมมนาวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ วิชาการล้านนาเพื่อการศึกษาและพัฒนา ยุค 4.0 ครั้งที่ 1 (น.939-944). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา.
วันทนา โซวเจริญสุข และ เพียรชัย คำวงษ์. (2560). ผลของการนวดต่อการลดภาวะปวดดเมื่อยกล้ามเนื้อภายหลังจากการออกกำลังกายของกล้ามเนื้อเหยียดเข่าในชายสุขภาพดี. วารสารพิฆเนศวร์สาร, 13(1), น.207-219.
วิทยา ปัทมะรางกูล และ ยุภาพรณ์ สิงห์ลำพอง. (2561). การศึกษาเปรียบเทียบการฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายของนักกีฬาโดยใช้เทคนิคในการฟื้นฟูที่แตกต่างกัน. วารสารวิชาการ สถาบันการ พลศึกษา, 10(1), 89-102.
ศิรสา เรืองฤทธิ์ชาญกุล และอรพิชญา ไกรฤทธิ์. (2561). การประเมินความเจ็บปวดเรื้อรังในผู้สูงอายุ. วารสารรามาธิบดีเวชสาร, 41(3), น.92-99.
สำนักงานอุทยานธรณีโคราช. (2562). เอกสารสมัครอุทยานธรณีโลก อุทยานธรณีโคราช จังหวัดนครราชสีมา (น.52-57). นครราชสีมา: สถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินและทรัพยากรธรณีภาคตตะวันออกเฉียงเหนือ เฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
อาริสร์ กาญจนศิลานนท์, ไพลิน เผือกประคอง และ กานต์พาจี ศรแก้ว. (2563). ผลของการนวดต่อความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ และมุมกระดูกสันหลังส่วนเอวขณะนั่งในคนที่มีกล้ามเนื้อรยางค์ส่วนล่างไม่สมดุลแบบ LOWER-CROSSED SYNDROME TYPE B. วารสารมหาวิทยาลัย คริสเตียน, 26(4), น.95-105.
Chen, P.C., Wei, L., Huang, C.Y., Chang, F.H., & Lin, Y.N. (2022). The effect of Massage Force on Relieving Nonspecific Low Back Pain: A Randomized Controlled Trial. International Journal of Environmental Research and Public Health, 19, pp.1-11.
Hongsuwan, C., Eungpinichpong, W., Chatchawan, U. & Yamauchi, J. (2015). Effects of Thai massage on physical fitness in soccer players. Journal of Physical Therapy Science, 27(2), pp.505-508.
Jeong, H.M., Shim, J.H. & Suh, H.R. (2017). The passive stretching, massage and muscle energy technique effects on range of motion, strength and pressure pain threshold in musculoskeletal neck pain of young adults. Physical Therapy Rehabilitation Science, 6(4), pp.196-201.
Panngooluema, K. & Eungpinichpong, W. (2021). Thai massage using squeezed technique could relieve pain and stiff neck in neck strain patients. Asia-Pacific Journal of Science and Technology, 27(4), pp.1-7.
Pico-Espinosa, O.J., Aboagye, E., Cote, P., Peterson, A. Holm, L,W., Jensen, I. & Skillgate, E. (2020). Deep tissue massage, strengthening and stretching exercise, and a combination of both compared with advice to stay active for subacute or persistent non-specific neck pain: A cost-effectiveness analysis of the Stockholm Neck trial (STONE). Musculoskeletal Science and Practice, 46, pp.1-8.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิจัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารวิจัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ก่อนเท่านั้น