การศึกษาไมโครพลาสติกในลำตะคองเขตเทศบาลนคร จังหวัดนครราชสีมา
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณและลักษณะสัณฐานวิทยาของไมโครพลาสติกในน้ำผิวดินของลำตะคอง ในเขตเทศบาลนครนครราชสีมา ทำการเก็บตัวอย่างน้ำผิวดินจาก 6 สถานี (3 สถานีเป็นพื้นที่ชุมชน และ 3 สถานีเป็นพื้นที่เกษตรกรรม) ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2565 เก็บตัวอย่างน้ำที่ระดับ 0-30 cm ด้วยวิธีเก็บตัวอย่างน้ำแบบจ้วง (Grab Sampling) จากนั้นทำการสกัดแยกอนุภาคไมโครพลาสติกด้วยวิธี Wet peroxide oxidation และศึกษาลักษณะของไมโครพลาสติก ได้แก่ ปริมาณ รูปร่างและสี ด้วยกล้องจุลทรรศน์แบบสเตอริโอ จากการศึกษา พบว่า ปริมาณไมโครพลาสติกเฉลี่ยมีค่าระหว่าง 1,506-5,481 ชิ้น/ลิตร โดยสถานีบ้านข่อยงาม มีการปนเปื้อนของไมโครพลาสติกมากที่สุด รองลงมา คือ ชุมชนศาลาลอย และ ตลาดประปา ตามลำดับ อย่างไรก็ตามปริมาณไมโครพลาสติกไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิตระหว่าง พื้นที่ที่ใช้ประโยชน์ (P>0.05) จากการจำแนกรูปร่าง พบว่า ส่วนใหญ่มีรูปร่างเป็นแบบชิ้นเล็กมากที่สุด รองลงมา คือ รูปร่างแบบเม็ด คิดเป็นร้อยละ 77.65 และ 14.27 ตามลำดับ ส่วนสี พบว่า สีดำมากที่สุด รองลงมา คือสีเหลือง-น้ำตาล โดยคิดเป็นร้อยละ 73.16 และ 13.45 ตามลำดับ จากผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า กิจกรรมจากการการเกษตรกรรมและกิจกรรมครัวเรือน เป็นแหล่งกำเนิดหลักของการปนเปื้อนไมโครพลาสติกของลำตะคองในเขตเทศบาลนครนครราชสีมา
References
กนกวรรณ เนตรสิงแสง. (2563). การปนเปื้อนไมโครพลาสติกในน้ำผิวดินและปลา ในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร)
ธนสินทร์ องอาจ และ วัชราภรณ์ ตันติพนาทิพย์. (2565). การปนเปื้อนของไมโครพลาสติกในแหล่งน้ำผิวดิน กรณีศึกษา คลองท่อ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา, 27 (ฉบับที่ 2), น. 1194-1211.
เพ็ญศิริ เอกจิตต์ และ สิริวรรณ รวมแก้ว. (2562). ขยะ
ไมโครพลาสติกบริเวณชายหาดฝั่งตะวันตก จังหวัดภูเก็ต. วารสารสิ่งแวดล้อม, 23 (ฉบับที่ 2), น. 1-8.
มูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย. ( 22 พฤษภาคม 2563). ปริมาณพลาสติกในช่วง COVID 19.
สำนักงานจังหวัดนครราชสีมา. (2563). แผนพัฒนาจังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2561 – 2565.
Baldwin, A.K., Corsi, S.R. & Mason, S.A. (2016). Plastic Debris in 29 Great Lakes Tributaries: Relations to Watershed Attributes and Hydrology. Environmental Science & Technology, 50 (19), pp. 10377-10385.
Browne, M.A., Galloway, T. & Thompson, R. (2007). Microplastic – an emerging contaminant of potential concern?. Integrated Environmental Assessment and Management, 3 (4), pp. 559–561.
Chen, Y., Leng, Y., Liu, X. & Wang, J. (2020). Microplastic pollution in vegetable farmlands of suburb Wuhan, central China. Environmental Pollution, 257, 113449.
Dodsona, G.Z., Shotorbana, A. K., Hatcherb, P. G., Waggonerb D.C., Ghosalc, S. & Noffkea N. (2020). Microplastic fragment and fiber contamination of beach sediments from selected sites in Virginia and North Carolina, USA. Marine Pollution Bulletin, 151, 110869, pp. 1-11.
Himu, M.M., Afrin, S., Akbor, M.A., Siddique, M.A.B., Uddin, M.K. & Rahman, M.M. (2020). Assessment of microplastics contamination on agricultural farmlands in central Bangladesh. Case Studies in Chemical and Environmental Engineering, 5, 100195, pp. 1-8.
Leslie, H.A., Brandsma, S.H., van Velzen, M.J.M. & Vethaak, A.D. (2017). Microplastics en route: Field measurements in the Dutch river delta and Amsterdam canals, wastewater treatment plants, North Sea sediments and biota. Environment International, 101, pp. 133–142.
Liu, S., Jian, M., Zhou, L. & Li, W. (2019). Distribution and characteristics of microplastics in the sediments of Poyang Lake, China. Water Science & Technology, 79 (10), pp. 1868 – 1877.
Lusher, A.L., Tirelli V., O’Connor I. & Officer, R. (2015). Microplastics in Arctic polar waters: the first reported values of particles in surface and sub-surface samples. Scientific Reports, 5, 14947, pp. 1-9.
Masura, J., Baker, J., Foster, G. & Arthur, C. (2015). Laboratory methods for the analysis of microplastics in the marine environment: recommendations for quantifying synthetic particles in waters and sediments. NOAA Technical Memorandum NOS-OR&R-48 (pp. 31). USA : NOAA Marine Debris Division.
Piehl, S., Leibner, A., Löder, M.G.J., Dris, R., Bogner, C. & Laforsch, C. (2018). Identification and quantification of macro- and microplastics on an agricultural farmland. Scientific Reports, 8, 17950, pp. 1-9.
Su, L., Xue, Y., Li, L., Yang, D., Kolandhasamy, P., Li, D. & Shi, H. (2016). Microplastics in Taihu Lake, China. Environmental Pollution, 216, pp. 711-719.
Susan Cosier. (2021). A Growing Concern: Microplastic Pollution on Farm Fields. Retrieved February 02, 2021, from http: https://www.nrdc.org/stories/growing-concern-microplastic-pollution-farm-fields
Thompson, R.C., Olsen, Y., Mitchell, R.P., Davis, A., Rowland, S.J., John, A.W.G., McGonigle, D. & Russell, A.E. (2004). Lost at sea: where is all the plastic. Science, 304, 5672, p. 838.
Wang, W., Ndungu, A.W., Li, Z. & Wang, J. (2017). Microplastics pollution in inland freshwaters of China: A case study in urban surface waters of Wuhan, China. Science of the Total Environment, 575, pp. 1369–1374.
Yan, M., Yang, J., Sun, H., Liu, C. & Wang, L. (2022). Occurrence and distribution of microplastics in sediments of a man-made lake receiving reclaimed water. Science of The Total Environment, 813, 152430.
Zhang, C., Zhou, H., Cui, Y., Wang, C., Li, Y. & Zhang, D. (2019). Microplastics in offshore sediment in the Yellow Sea and East China Sea, China. Environmental Pollution, 244, pp. 827-833.
Zhang, J., Zou, G., Wang, X., Din, W., Xu, L., Liu, B., Mu, Y., Zhu, X., Song, L. & Chen, Y. (2021). Exploring the Occurrence Characteristics of Microplastics in Typical Maize Farmland Soils With Long-Term Plastic Film Mulching in Northern China. Frontiers in Marine Science, Marine Pollution, 8, 800087, pp. 1-13.
Zhao, H., Zhou, Y., Han, Y., Sun, Y., Ren, X., Zhang, Z. & Wang, Q. (2022). Pollution status of microplastics in the freshwater environment of Chaina : a mini review. Water Emerging Contaminants & Nanoplastics, 1 (5), pp. 1-17.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิจัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารวิจัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ก่อนเท่านั้น