ข้อมูลพฤกษศาสตร์และการตรวจสอบหาสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญบางชนิดของต้นหญ้านางแดง (Bauhinia strychnifolia)
คำสำคัญ:
ข้อมูลพฤกษศาสตร์, สารต้านอนุมูลอิสระ, ต้นหญ้านางแดงบทคัดย่อ
การศึกษามุ่งหมายตรวจสอบลักษณะทางสัณฐานวิทยา วิสัย และชีพลักษณ์ที่สำคัญของต้นหญ้านางแดง รวมทั้งวิเคราะห์หาสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญ คือ ฟีนอลิก และฟลาโวนอยด์ รวมถึงการออกฤทธิ์ต้านทานสารอนุมูลอิสระด้วยวิธีการ DPPH assay จากสารสกัดหยาบที่ได้จากส่วนลำต้น ใบ และกิ่งก้าน ผลการศึกษาพบว่าหญ้านางแดงมีวิสัยเป็นไม้เถาเนื้อแข็ง ออกดอกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ลักษณะสัณฐานที่สำคัญ คือ ลำต้นเป็นไม้เนื้อแข็ง มีลักษณะเป็นร่องๆ สีออกเทาน้ำตาล และมีมือพัน ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ สีเขียวเข้ม ผิวใบมัน ใบมีลักษณะรูปไข่ ปลายใบมีลักษณะกลม และโคนใบเว้า ดอกเป็นแบบช่อกระจะ ดอกมีสีแดง ดอกจะออกที่บริเวณปลายกิ่ง รูปทรงกระบอกแคบ และโค้งเล็กน้อย เมื่อตรวจสอบสารพฤกษเคมีพบว่าสารสกัดของต้นหญ้านางแดงทุกส่วนมีสารฟีนอลิก ฟลาโวนอยด์ อีกทั้งยังออกฤทธิ์ในการต้านทานสารอนุมูลอิสระ
References
สวนีย์ ไกรเทพ บุษบา มาตระกูล สุดาลักษณ์ ธัญญาหาร วรพรรณ ยิ่งศิวะพัฒน์ ศิริพร พจน์พาณิชพงศ์ ศญาดา ด่านไทยวัฒนา และสราวุธ สายจันมา. 2560.
ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์ต้านจุลชีพของสารสกัดเถาย่านางแดงต่อเชื้อก่อโรคในช่องปาก. เวชสารแพทย์ทหารบก. 70(2): 73-79.
สุรางค์รัตน์ พันแสง และพวงผกา แก้วกรม. 2562a. ผลของการใช้สมุนไพรกำลังช้างเผือก (Hiptage candicans) ต่อสมรรถนะการเจริญเติบโตและลดการตกค้างของยาปฏิชีวนะในไก่เนื้อ. แก่นเกษตร 50 (4): 1153-1161 (2565)./doi:10.14456/kaj.2022.97.
สุรางค์รัตน์ พันแสง และพวงผกา แก้วกรม. 2562b. ฟลาโวนอยด์และฟินอลิกในส่วนต่างๆ ของต้นกําลังช้างเผือกและผลต่อลิมโฟไซต์และโมโนไซต์ในหนู. วารสารนเรศวรพะเยา. 12(1): 10-12.
สิตา ทิศาดลดิลก และ เอื้อมพร รัตนสิงห์. 2562. ฤทธิ์ต้านออกซิเดชันและปริมาณสารประกอบ ฟีนอลทั้งหมดของสารสกัดหยาบจากมะตาด.วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์. 14(3): 104-116.
Bunluepuech, K., Wattanapiromsakul, C.,Madaka, F., & Tewtrakul, S. 2013. Anti-HIV-1 integrase and Anti-allergic Activities of Bauhinia strychnifolia. Songklanakarin. Journal of Science and Technology. 35: 659-664.
Chamratpan, S. and Homchuen, S.A. 2005. Ethnobotany in upper northeastern Thailand. Acta Hortic. 675: 6774.
Harborne, J.B. 1998. Phytochemical methods. A guide to modern techniques of plant analysis. 3rd Edition. London: Chapman & Hall, UK.
Karagozler, A.A., Erdag, B. Emek, Y. C. and Uygun, D.A.. 2008. Antioxidant activity and proline content of leaf extracts from Dorystoechas hastata. Food Chemistry. 111(2): 400–407.
Larson RA. 1988. The antioxidant of higher plants. Phytochem 27: 969- 978.
Singleton, V.L., Orthofer, R., Lamuela-Raventós, R.M. 1999. Analysis of total phenols and other oxidation substrates and antioxidants by means of folin-ciocalteu reagent. Methods Enzymol. 299: 152-178.
Santisuk T., Chayamarit K., Pooma R. and Suddee S. 2006. Thailand Red Data: Plants. Office of Natural Resources and Environmental Policy and Planning. Bangkok, Thailand. 256 p.
Trease, G.E. and Evans, W.C. 2002. Pharmacognosy. 15th ed. Edinburgh: W.B. Saunders. pp. 303-306.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิจัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารวิจัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ก่อนเท่านั้น