การปรับเทียบอัตโนมัติของแบบจำลองแท็งค์โดยใช้ Microsoft Excel Solver

Main Article Content

เสฎฐา ศาสนนันทน์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้นำเสนอการหาค่าที่เหมาะสมของพารามิเตอร์ในแบบจำลองแท็งค์ โดยทำการเปรียบเทียบผลการคำนวณระหว่างวิธีการสุ่มแทนค่า (Trial and error) ของพารามิเตอร์และการประยุกต์ใช้ Microsoft Excel Solver เพื่อหาค่าพารามิเตอร์ที่เหมาะสม ผลการศึกษาพบว่าการปรับเทียบแบบจำลองแท็งค์ในลุ่มน้ำยมตอนบนโดยใช้ Microsoft Excel Solver ได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าการสุ่มแทนค่าของพารามิเตอร์ในเชิงความถูกต้องและมีความสะดวกรวดเร็ว ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า Microsoft Excel Solver สามารถนำไปประยุกต์ใช้สอบเทียบค่าพารามิเตอร์ของแบบจำลองแท็งค์ในลุ่มน้ำยมตอนบน นอกจากนี้ได้ทำการหาค่าสัมประสิทธิ์ที่เหมาะสมในการใช้เป็นฟังก์ชั่นวัตถุประสงค์ของการหาค่าพารามิเตอร์ในแบบจำลองแท็งค์โดยกำหนดค่าสัมประสิทธิ์ต่างๆได้แก่ IA, Nash, R2และ RMSE ซึ่งพบว่าการใช้ค่าสัมประสิทธิ์ IA เป็นฟังก์ชั่นวัตถุประสงค์จะให้ค่าที่ดีที่สุด

Article Details

How to Cite
[1]
ศาสนนันทน์ เ., “การปรับเทียบอัตโนมัติของแบบจำลองแท็งค์โดยใช้ Microsoft Excel Solver”, sej, ปี 12, ฉบับที่ 2, น. 151–159, ก.ค. 2018.
บท
บทความวิจัย

References

[1] สนิท วงษา, “การพยากรณ์และเตือนภัยโดยใช้ข้อมูลรายวัน : กรณีศึกษาลุ่มน้ำปิงตอนบนจังหวัดเชียงใหม่,” วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ., ฉบับที่ 30(2), หน้าที่ 315-327, 2007.
[2] J. Nash and J. Sutcliffe, "River flow forecasting through conceptual models part I — A discussion of principles", Journal of Hydrology, vol. 10, no. 3, pp. 282-290, 1970.
[3] M. Sugawara, "Automatic calibration of the tank model / L'étalonnage automatique d'un modèle à cisterne", Hydrological Sciences Bulletin, vol. 24, no. 3, pp. 375-388, 1979.
[4] Y. Yokoo, S. Kazama, M. Sawamoto and H. Nishimura, "Regionalization of lumped water balance model parameters based on multiple regression", Journal of Hydrology, vol. 246, no. 1-4, pp. 209-222, 2001.