ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการจัดส่งอาหารถึงที่โดยใช้วิธีการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกทวิ

Main Article Content

คัทรียา ชาญปริยวาทีวงศ์
สุธาทิพย์ ภู่บุบผาพันธ์
รัฐพล ภู่บุบผาพันธ์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการจัดส่งอาหารถึงที่ โดยใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองนครราชสีมาจำนวน 400 คน เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมการเลือกใช้บริการ คุณลักษณะส่วนบุคคล และทัศนคติเกี่ยวกับบริการจัดส่งอาหารถึงที่ จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ด้วยวิธีการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกทวิ (Binary Logistic Regression) โดยการนำเข้าตัวแปรแบบ Backward elimination ซึ่งผลการศึกษาพบว่าปัจจัยด้านประสบการณ์การใช้บริการ, การประหยัดเวลา, รูปลักษณ์ของอาหารที่ได้รับและค่าบริการจัดส่ง เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญอันดับแรกๆ ที่ผู้ประกอบการธุรกิจควรให้ความสำคัญในการปรับปรุงรูปแบบการบริการให้สามารถตอบรับความต้องการของลูกค้าได้ และปัจจัยอีกกลุ่มหนึ่งที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการจัดส่งอาหารถึงที่ ได้แก่ ปัจจัยด้านสภาพอากาศ, สภาพจราจร, ความเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุ และอุปสรรคด้านที่จอดรถ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ผู้ประกอบการธุรกิจจัดส่งอาหารถึงที่อาจใช้เป็นข้อมูลเพิ่มเติมในการจัดทำกลยุทธ์หรือแผนการประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการให้บริการเพื่อตอบรับต่อความต้องการของลูกค้าซึ่งจะส่งผลให้มีการกลับมาใช้บริการซ้ำและธุรกิจให้บริการจัดส่งอาหารถึงที่สามารถให้บริการได้อย่างยั่งยืน

Article Details

How to Cite
[1]
ชาญปริยวาทีวงศ์ ค., ภู่บุบผาพันธ์ ส., และ ภู่บุบผาพันธ์ ร., “ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการจัดส่งอาหารถึงที่โดยใช้วิธีการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกทวิ”, sej, ปี 14, ฉบับที่ 1, น. 44–55, ส.ค. 2019.
บท
บทความวิจัย

References

[1] ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, "จับตาปี’ 60 สั่งอาหารออนไลน์หนุนตลาด Delivery โตร้อยละ 11-15สวนทางภาพรวมธุรกิจร้านอาหารที่เติบโตเพียงเล็กน้อย," Kasikornthai Econ Analysis, vol. 22, no. 2797, pp. 1-4, 2559.

[2] ธนรัตน์ ศรีสำอางค์, เอก บุญเจือ, and วรรณัย สายประเสริฐ, "พฤติกรรมผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครต่อการใช้บริการสั่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ผ่านเว็บไซต์," วารสารบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, vol. 1, no. 1, pp. 354-371, 2558.

[3] M. Ghajargar, G. Zenezini, and T. Montanaro, "Home delivery services: innovations and emerging needs," (in English), IFAC-Papersonline, vol. 49, no. 12, pp. 1371-1376, 2016.

[4] ศิริน เจริญพินิจนันท์, "ทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภคต่อการสั่ง ซื้อ พิซซ่า ฮัทแบบบริการส่งถึงบ้าน ในเขตกรุงเทพมหานคร," บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการตลาด, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพมหานคร, 2546.

[5] ปวริศา ธรรมศรี, "แผนธุรกิจร้านปาลิกา คาเฟ่," บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาวิชาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, กรุงเทพมหานคร, 2559.

[6] สุพจน์ พานทอง, "การศึกษาความน่าจะเป็นไปได้ในการลงทุนธุรกิจร้านอาหารบริการถึงบ้านในเขตเทศบาลนครนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา," บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาวิชาบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, พระนครศรีอยุธยา, 2548.

[7] W. Szeto, R. Wong, and W. Yang, "Guiding vacant taxi drivers to demand locations by taxi-calling signals: A sequential binary logistic regression modeling approach and policy implications," Transport Policy, vol. 76, pp. 100-110, 2019.

[8] M.-H. Hsiao, "Shopping mode choice: Physical store shopping versus e-shopping," (in English), Transportation Research Part E: Logistics and Transportation Review, vol. 45, no. 1, pp. 86-95, 2009.

[9] M. A. Morganosky and B. J. Cude, "Consumer response to online grocery
shopping," (in English), International Journal of Retail & Distribution Management, vol. 28, no. 1, pp. 17-26, 2000.

[10] ธีรวีร์ วราธรไพบูลย์ and อังคณา ศิริอำพันธ์กุล, "ปัจจัยที่กำหนดการตัดสินใจใช้บริการสินค้าจากร้านค้าปลีก," วารสารการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์, vol. 22, no. 1, pp. 141-157, 2558.

[11] A. Fairouz, "An investigation of factors influenceing consumers' intention to use online shopping : an empiracal study in south of Jordan " (in English), Journal of internet banking and commerce, vol. 21, no. 2, pp. 1-50, 2016.

[12] D. Zhou, T. Shah, S. Ali, W. Ahmad, I. U. Din, and A. Ilyas, "Factors affecting household food security in rural northern hinterland of Pakistan," Journal of the Saudi Society of Agricultural Sciences, vol. 18, no. 2, pp. 201-210, 2017.

[13] R. Wong, W. Szeto, L. Yang, Y. Li, and S. Wong, "Public transport policy measures for improving elderly mobility," Transport policy, vol. 63, pp. 73-79, 2018.

[14] P. van der Waerden, M. de Bruin, and A. N. R. da Silva, "Car drivers' knowledge and preferences regarding additional services at parking facilities," Transportation research procedia, vol. 25, pp. 4049-4057, 2017.

[15] รวมพร สิทธิมงคล, มธุริน นิลมงคล, ศรัณญา การะเกษ, and ศุภัทรชา ราษฎร์ดุษดี, "การประยุกต์ใช้การวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกในการศึกษาพฤติกรรมการกลั่นแกล้งกันบนโลกออนไลน์ของนักศึกษา," Thai Journal of Science and Technology, vol. 7, no. 1, สาขาวิชาคณิตศาสตร์และสถิติ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ pp. 1-12, 2561.

[16] J. C. Stoltzfus, "Logistic regression: a brief primer," Academic Emergency Medicine, vol. 18, no. 10, pp. 1099-1104, 2011.

[17] T. Yamane, Statistics: an introductory analysis. New York: Harper & Row, 1967.

[18] ยุทธ ไกยวรรณ์, "หลักการและการใช้การวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติคสำหรับการวิจัย," วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย, vol. 1, no. 4, pp. 1-12, 2555.

[19] L. S. Meyers, G. Gamst, and A. J. Guarino, Applied multivariate research: Design and interpretation. Sage publications, 2016.