การกำหนดวิธีปฏิบัติการบินเข้าและออกของอากาศยานภายในเขตประชิดสนามบิน ระหว่างสนามบินเชียงใหม่ปัจจุบัน และสนามบินเชียงใหม่ แห่งที่สอง อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดวิธีปฏิบัติ (Procedure Design) ห้วงอากาศ โดยการใช้ Standard Instrument Departure : SID และ Standard Instrument Arrival : STAR เพื่อการบินเข้าและออกของอากาศยาน ภายในเขตประชิดสนามบินระหว่างสนามบินเชียงใหม่ปัจจุบันและสนามบินเชียงใหม่แห่งที่สอง โดยผู้วิจัยได้ศึกษาข้อมูลพื้นฐานทางภูมิศาสตร์ อุปสรรคบริเวณโดยรอบของสนามบิน และข้อจำกัดของพื้นที่ทางอากาศที่จะส่งผลต่อการบินเข้า-ออกสนามบินของอากาศยาน รวมถึงรูปแบบการให้บริการการจราจรทางอากาศ ตลอดจนสถิติการให้บริการจราจรทางอากาศที่สามารถรองรับปริมาณอากาศยานได้สูงสุด ภายใต้กรอบแนวคิด และหลักการที่ใช้ประกอบการกำหนดวิธีปฏิบัติการบิน ผลจากการวิจัยสามารถกำหนดวิธีปฏิบัติของอากาศยานบิน เข้า-ออก ระหว่างสนามบินเชียงใหม่ปัจจุบัน(VTCC) และสนามบินเชียงใหม่ แห่งที่สอง อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน (VTCB) จำนวน 2 ทางวิ่ง รวม 4 ทิศทาง ที่ใช้สำหรับการบินของอากาศยานเข้าและออก โดยเชื่อมโยงไปจนถึงจุดรายงานหรือจุดส่งมอบการควบคุมอากาศยานระหว่างหน่วยงานจราจรทางอากาศ (Reporting Point/Transfer Point) ที่กำหนดขึ้น ประกอบด้วย VISES, LAMUN, ADLUS, MONLO, KABMU, ASAVI, PANTA, ENBAT, MARNI, GOGOP and PUMAM รวม 11 จุดรายงาน ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลักคือ
- การกำหนดวิธีปฏิบัติการบินออกจากสนามบิน (Standard Instrument Departure : SID) ได้กำหนดเส้นทางหลักเพื่อควบคุมการบินของอากาศยานหลังจากวิ่งขึ้น (Path Descriptor/Waypoint Path) จำนวน 6 จุด คือ BANTI, DOILO, WEERA, FRANG, PHRAO และ YONOK ทำให้สามารถกำหนดแผนภูมิเส้นทางบินขาออก มีจำนวน 9 แผนภูมิ โดยกำหนด Climb Gradient 1 NM/300 ft หรือ 0.049 / 4.94% และกำหนดระยะสูงในแนวตั้ง (Vertical Separation) ระหว่างอากาศยานที่กำลังบินออกจากสนามบิน ด้วยระยะสูง 1,000 ft หรือมากกว่า ตามมาตรฐานการจัดการจราจรทางอากาศ
- การกำหนดวิธีปฏิบัติการบินเข้าสนามบิน (Standard Instrument Arrival : STAR) ได้กำหนดเส้นทางหลักเพื่อควบคุมการบินขาเข้าของอากาศยาน (Path Descriptor/Waypoint Path) จำนวน 8 จุดคือ PARNU, PASAK, SAKET, SUTEP, PINUM, SAIAU, TAPAE และ WORAI ไปจนถึงจุดสุดท้ายของการบินเข้าสู่สนามบิน (Final Approach Fix: FAF) ทำให้สามารถกำหนดแผนภูมิเส้นทางบินเข้า มีจำนวน 11 แผนภูมิซึ่งกำหนด Descent Gradient ตามสมรรถนะของอากาศยาน แต่กำหนดช่วงระยะ Final Approach Segment ไว้ที่ 0.052 / 5.2% และกำหนดระยะสูงในแนวตั้ง (Vertical Separation) ระหว่างอากาศยานที่กำลังบินเข้าสู่สนามบิน ด้วยระยะสูง 1,000 ft หรือมากกว่า ตามมาตรฐานการจัดการจราจรทางอากาศ และความเร็วของ อากาศยานไม่เกิน 250 knots และเมื่อนำแบบวิธีปฏิบัติ (SID/STAR) มาทดสอบด้วยโปรแกรมแบบจำลองเสมือนจริง Air Traffic Control Radar Simulator โดยได้กำหนดรูปแบบการจราจรทางอากาศบินเข้า-ออก สำหรับ 2 สนามบิน ประกอบการการทดสอบ จำนวน 3 รูปแบบ คือ อากาศยานบินออกจากสนามบิน อากาศยานบินเข้าสนามบิน และอากาศยานบินเข้าและออกจากสนามพร้อมกัน 2 สนามบิน โดยทดสอบกับตัวชี้วัดที่สามารถรองรับปริมาณการจราจรทางอากาศไม่น้อยกว่า 24 เที่ยวบิน/ชั่วโมง ตามสภาพการจราจรทางอากาศที่หนาแน่นสูงสุดในปัจจุบัน
ผลการทดสอบ ได้กำหนดเงื่อนไขการบินเข้า-ออก ตาม Profile ที่ได้กำหนดในวิธีปฏิบัติการบิน ภายใต้สภาพแวดล้อมการควบคุมการจราจรทางอากาศ พบว่า สามารถรองรับปริมาณการจราจรทางอากาศพร้อมกันทั้ง 2 สนามบินได้เฉลี่ย 40 เที่ยวบิน/ชั่วโมง ซึ่งเพิ่มขึ้นจากตัวชี้วัดที่กำหนด จำนวน 16 เที่ยวบิน คิดเป็นร้อยละ 66.67 ทั้งนี้ ปริมาณการจราจรทางอากาศสามารถเพิ่มขึ้นได้ ขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญ ได้แก่ สภาพการจราจรทางอากาศ ในขณะนั้น การติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ควบคุมจราจรทางอากาศและนักบิน การโต้ตอบของนักบิน สมรรถนะของอากาศยาน ทิศทางการบินของอากาศยาน การกำหนดระยะห่างระหว่างอากาศยาน และความสามารถของผู้ควบคุมการจราจรทางอากาศ ในการบริหารจัดการปริมาณการจราจรทางอากาศ ณ ขณะนั้น รวมถึงการประสานงานกันระหว่างหน่วยงานควบคุมจราจรทางอากาศ เป็นต้น
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์เป็นของวารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
References
Air Transport Statistics. (2018, January). Airport of Thailand PLC. Annual Report [Online]. Available: https:// www.airportthai.co.th/th/
Airport Development Project. (2018,January). Airport of Thailand PLC. Annual Report [Online]. Available: https:// www.airportthai.co.th/th/
Mission. (2022, DEC 5). Air Traffic Management. [Online]. Available: https:// www.aerothai. co.th/th/services/
Recommendations on airspace usage and the impact of airspace usage around similar airports., “Preparation of the master plan for the establishment of the country's commercial airports,” Air Transport Research and Academic Services Center Kasetsart University, June 2017.
Aeronautical Charts, Annex 4 International Civil Aviation Organization, 2016.
Units of Measurement to be Used in Air and Ground Operations, Annex 5, International Civil Aviation Organization, 2010.
Air Traffic Management, Doc 4444, Procedures for Air Navigation Services — Air Traffic Management, International Civil Aviation Organization, 2016.
Flight Procedures, Doc.8168/OPS/611 Aircraft Operations Vol.I, International Civil Aviation Organization, 2014.
Construction of Visual and Instrument Flight Procedures, Doc.8168/OPS/611 Aircraft Operations Vol.II, International Civil Aviation Organization, 2014.
Aeronautical Chart, Doc8697 Aeronautical Chart Manual, International Civil Aviation Organization, 2016.
En-route, Aeronautical Information Publication Thailand, The Civil Aviation Authority of Thailand, 2019.