การหาจุดสนใจของภาพที่เหมาะสมของขั้นตอนวิธีเอสไอเอฟทีสำหรับการระบุลายเซ็น
Main Article Content
บทคัดย่อ
ขั้นตอนวิธีเอสไอเอฟที เป็นขั้นตอนวิธีสำหรับการหาจุดสนใจของวัตถุที่ได้รับความนิยม โดยใช้หลักการทำซ้ำเพื่อหาจุดสนใจของวัตถุ (Key points) การหาจุดสนใจของวัตถุแต่ละอัน จะใช้จำนวนรอบในการวิเคราะห์ไม่เท่ากัน ซึ่งทำให้จุดสนใจของวัตถุที่ได้ ไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นจุดสนใจของวัตถุที่เหมาะสมหรือไม่ งานวิจัยนี้ได้เสนอวิธีการกำหนดจำนวนรอบในการหาจุดสนใจของวัตถุที่เหมาะสมซึ่งใช้ลายเซ็นเป็นข้อมูลตัวอย่าง โดยการเปรียบเทียบระยะห่างของลายเซ็น (ใช้การคำนวณหาระยะห่างของภาพ) ซึ่งคำนวณจากระยะทางยุคลิดระหว่างจุดสนใจของลายเซ็นในแต่ละรอบ โดยกำหนดเกณฑ์พิจารณา = 0.2 และนำจำนวนรอบที่ได้กำหนดจุดสนใจของลายเซ็นต้นแบบเพื่อเปรียบเทียบระหว่างลายเซ็นจริงและลายเซ็นคู่ทดสอบด้วยขั้นตอนวิธีเอสไอเอฟที การเปรียบเทียบระยะห่างระหว่างลายเซ็น ใช้เกณฑ์พิจารณา = 0.25 นอกจากนี้ยังทำการเปรียบเทียบลายเซ็นต้นแบบกับลายเซ็นจริงและลายเซ็นคู่ทดสอบโดยบุคคล ผลการวิจัยใช้ตัวอย่างลายเซ็นจากบุคคลทั่วไปจำนวน 20 คนๆ ละ 10 ลายเซ็นรวม 200 ลายเซ็นเป็นลายเซ็นต้นแบบ ผลการวิเคราะห์ลายเซ็นต้นแบบ พบว่าจุดสนใจของลายเซ็นที่เหมาะสมเกิดขึ้นในรอบที่ 6 ด้วยค่าระยะห่างของลายเซ็น ≤ และผลการเปรียบเทียบลายเซ็นต้นแบบกับลายเซ็นจริงจำนวน 20 ลายเซ็น และลายเซ็นคู่ทดสอบจำนวน 20 ลายเซ็น รวม 40 ลายเซ็น ด้วยขั้นตอนวิธีเอสไอเอฟที ที่ค่าระยะห่างของลายเซ็น ≤ พบว่ามีค่าร้อยละความสำเร็จเท่ากับ 82.50 และเปรียบเทียบโดยบุคคลจำนวน 10 คน พบว่ามีค่าร้อยละความสำเร็จเท่ากับ 77.25
Article Details
References
David G. Lowe. 1999. “Object recognition from local Scale-Invariant Features.” In: International Conference on Computer Vision, p.1150–1157.
David G. Lowe. 2004. “Distinctive Image Features from Scale-Invariant Keypoints.” International Journal of Computer Vision, 60(2): 91–110.
Emre Özgündüz, Tülin Şentürk and M. Elif Karslıgil. 2005. “Off-line Signature Verification and Recognition by Support Vector Machine.” Signal Processing Conference, 13th European, pp. 1-4.
Vincent Lepetit, Pascal Lagger and Pascal Fua. 2005. “Randomized Trees for Real-Time Keypoint Precognition.” IEEE Computer Society Conference on Computer Vision and Pattern Recognition, vol. 2, pp. 775-781.
ชัชวาลย์ วรวิทย์รัตนกุล และ สุรศักดิ์ มังสิงห์. 2557. “การยืนยันลายเซ็นด้วยวิธีซัพพอร์ตเวคเตอร์แมชชีน.” การประชุมวิชาการระดับประเทศด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ครั้งที่ 6, 143-147.
ชัชวาลย์ วรวิทย์รัตนกุล และ สุรศักดิ์ มังสิงห์, 2557. “การหาลักษณะเด่นที่เหมาะสมของอัลกอริทึม SIFT สำหรับการวิเคราะห์ภาพลายเซ็น.” การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ครั้งที่ 9, 721-728.