การศึกษาความเป็นไปได้สำหรับกระบวนการเชื่อมแบบไฮบริดสำหรับ HDPE

Main Article Content

สมทบ ป้อมถาวร
อิศรทัต พึ่งอ้น
มงคล สีนะวัฒน์

บทคัดย่อ

การเชื่อมโพลีเมอร์ต้องการทั้งความร้อนสำหรับการหลอมเหลวและแรงกดในขณะเชื่อม อย่างไรก็ตามแรงกดที่ให้นั้นจะส่งผลต่อเสียต่อความแข็งแรงของชิ้นงานเชื่อมอีกด้วย โดยการสร้างเส้นแนวการไหลที่ขนานไปกับขอบแนวเชื่อม ในการศึกษานี้ การใช้แหล่งความร้อนคู่และแรงกดถูกนำมารวมกันและเสนอเป็นระบบการเชื่อมแบบไฮบริด หลอดอินฟาเรตร่วมกับการเสียดทานแบบกวน ถูกนำมาใช้เป็นแหล่งความร้อนสำหรับการเชื่อม และอุปกรณ์การเสียดทานแบบกวนยังสามารถทำหน้าที่เป็นตัวกวนโพลีเมอร์ที่หลอมเหลวให้ผสมเข้าด้วยกัน เพื่อป้องกันการเกิดเส้นแนวการไหลที่บริเวณรอยต่อชนของชิ้นงาน ระบบนี้ถูกออกแบบให้สามารถควบคุมความเร็วของการเชื่อมและพลังงานความร้อนของหลอดอินฟาเรต ผ่านการควบคุมแบบย้อนกลับในการควบคุมอุณหภูมิของชิ้นงานผ่านไพโรมิเตอร์ โดยทำการการวัดอุณหภูมิของชิ้นงานในบริเวณใกล้เคียงที่จะได้รับการเชื่อม อุปกรณ์การเสียดทานแบบกวนเป็นแบบทรงกระบอก โดยกำหนดให้มีความเร็วรอบในการหมุนคงที่สำหรับการทดลองนี้ ชิ้นงานทดลองที่ใช้เป็น HDPE ที่มีความหนา 5 มม. ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า ระบบการเชื่อมแบบไฮบริดสามารถใช้ในการสร้างความร้อนที่เพียงพอต่อการหลอมละลายชิ้นงานทดลอง HDPE และผสมเข้าด้วยกันเกิดเป็นแนวเชื่อมได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จินตนา ลีกิจวัฒนะ. 2554. การนำเส้นใยจากพืชจำพวกปอมาใช้เสริมแรงพลาสติก.

วิชัย พุ่มจันทร์. 2553. การเชื่อมอลูมิเนียม 6063 และอลูมิเนียม 7075 โดยการเชื่อมด้วยการเสียดทานแบบกวน. วิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

Hirano, S. Friction-stir Welding.

Thomas, W.M., Norris, I.M., and Staines, D.G. Friction Stir Welding Technology: Part One.