การวิเคราะห์การระบายอากาศในโรงงานด้วยแบบจำลองคู่ควบ

Main Article Content

ธตรัฐ สุวรรณพุ่ม
ภูริต ธนะกิจเกษม
ณัฎฐ์ กาศยปนันทน์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระบบระบายความร้อนภายในโรงงานที่ไม่มีระบบปรับอากาศ ด้วยแบบจำลองที่รวมวิธีพลศาสตร์ของไหลเชิงคำนวณ (CFD) และการถ่ายโอนความร้อน ซึ่งนำมาออกแบบจำนวนช่องระบายอากาศและหาขนาดที่เหมาะสมของช่องเปิดภายในโรงงาน โดยใช้อุณหภูมิภายในโรงงานที่ได้รับการระบายความร้อนออกเป็นตัวชี้วัด โดยทำการจำลองโรงงานเป็น 2 มิติ ใช้เอลิเมนต์ รูปสามเหลี่ยม ผนังเป็นแบบไม่ไถล จำลองที่สภาวะคงตัว ความหนาแน่นของอากาศแปรผันโดยตรงกับอุณหภูมิทำให้เกิดแรงลอยตัว จำนวนของช่องระบายอากาศที่ใช้ในการศึกษาคือ 4 และ 6 ช่อง ขนาดของช่องระบายอากาศด้านบนคือ 0.25 และ 0.315 เมตร และช่องเปิดด้านข้างมีขนาด 0.25 และ 0.35 เมตร โดยกำหนดให้มีความร้อนที่ได้รับจากหลังคาและความร้อนที่เกิดขึ้นภายในอาคารมีเท่ากัน จากผลการจำลองพบว่าโรงงานที่มีช่องเปิดด้านบนขนาด 0.25 เมตร จำนวน 6 ช่อง ขนาดช่องเปิดด้านข้าง 0.35 เมตร จะสามารถระบายความร้อนออกจากโรงงานได้มากที่สุด อีกทั้งยังส่งผลให้อุณหภูมิเฉลี่ยภายในโรงงานมีค่าต่ำกว่า โรงงานที่มีช่องเปิดด้านบน 4 ช่อง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

E. Olsen, Q. Chen. 2003. “Energy consumption and comfort analysis for different low energy cooling systems in a mild climate.” Energy & Buildings. 35, 561–571

Aung, W., Fletcher, L. S. and Sernas, V., 1972. “Developing laminar free convection between vertical flat plates with Asymmetric Heating.” International Journal Heat Mass Transfer. Vol. 15, pp. 2293-2308

M.P. Straw, C.J. Baker, A.P. Robertson, 2000. “Experimental measurements and computation of the wind induced ventilation of a cubic structure.” Journal of Wind Engineering and Industrial Dynamics. 88, 213–230.

R. Ramponi, 2012. “CFD simulation of cross-ventilation for a generic isolated building: Impact of computational parameters.” Building and Environment 53

R. Ramponi, 2012. “CFD simulation of cross-ventilation flow for different isolated building configurations: Validation with wind tunnel measurements and analysis of physical and numerical diffusion effects” J. Wind Eng. Ind. Aerodyn. 104–106