แอปพลิเคชันบนมือถือสำหรับดูแลผู้ป่วยเบาหวานการศึกษาพฤติกรรมในประเทศไทย (Smartphone Application for Diabetes Behavior Study in Thailand)
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สถานการณ์ของผู้ป่วยเบาหวานเพื่อการออกแบบแอปพลิเคชัน 2) ความพึงพอใจการใช้แอปพลิเคชันของผู้ป่วยและผู้ดูแลผู้ป่วยเบาหวาน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้คือผู้ป่วยเบาหวาน จำนวนทั้งสิ้น 60 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง จำนวนกลุ่มละ 30 คน กลุ่มทดลองคือกลุ่มที่มีการใช้แอปพลิเคชันการดูแลผู้ป่วยเบาหวานผ่านสมาร์ตโฟน ส่วนกลุ่มควบคุมจะได้รับการดูแลจากหน่วยบริการสุขภาพในพื้นที่ตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ สำหรับข้อมูลเชิงปริมาณ และ ข้อมูลเชิงคุณภาพ คือ แบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) การสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกต การสนทนากลุ่ม และการศึกษาจากเอกสาร มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.72 มีค่าความเที่ยงตรงของแบบสอบถาม เท่ากับ 0.55 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1)จากศึกษาสถานการณ์ของผู้ป่วยเบาหวานเพื่อการออกแบบแอปพลิเคชัน ได้ผลดังนี้คือ มีหน้าจอประกอบไปด้วย 11 หน้าจอหลักคือ หน้าหลัก ข้อมูลส่วนตัว คำนวณน้ำหนักดัชนีมวลกาย คำถามที่พบบ่อย โภชนาการ การทานยา การออกกำลังกาย การควบคุมอารมณ์ ปัญหาสุขภาพ กราฟ และออกจากระบบ 2) การศึกษาความพึงพอใจการใช้แอปพลิเคชันของผู้ป่วยและผู้ดูแลผู้ป่วยเบาหวานจากนั้นนำแอปพลิเคชันใช้งานกับกลุ่มทดลองพบว่า ความพึงพอใจในการใช้งานแอปพลิเคชันแยกความพึงพอใจเป็น 5 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านการออกแบบและการจัดรูปแบบแอปพลิเคชัน ด้านที่ 2 ด้านกระบวนการติดตั้งและความเข้าใจในการใช้งานแอปพลิเคชัน ด้านที่ 3 ด้านภาพรวมของแอปพลิเคชัน ด้านที่ 4 ด้านรูปแบบและภาพลักษณ์ของแอปพลิเคชัน ด้านที่ 5 ด้านการใช้งานแอปพลิเคชัน พบว่าด้านที่ 3 ด้านภาพรวมของแอปพลิเคชัน ผู้ป่วยเบาหวานส่วนใหญ่มีความพึงพอใจด้านภาพรวมของแอปพลิเคชันฯ คะแนนเฉลี่ยมากที่สุดใน 5 ด้าน (X= 3.53, SD = 0.64) ในระดับมาก
Article Details
References
Jirawatanakul, S., (2012). Qualitative research in nursing: Research Methodology and case study. Bankrapi, Bangkok: Wityapat. (in Thai)
Plachaipiromsil, S. (2012). Usages Trend of Mobile Application. Administrative Journal. 30(3), 110-115. (in Thai)
Polit, D.F. and Beck, C.T. (2004). Nursing Research: Principles and methods. 7th ed. Philadelphia: Lippincott & Wilkins.
Sangdung, S. (2017). Self-Care Behaviors of Diabetes Patients who cannot control themselves. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health. 4(1) January- April 2560, 191-204. (in Thai)
Sinloyma, P., (2018). Research Framework. Retrieved on October 2018 from http://ajarnpat. com/data/document_study02 (in Thai)
Siripanuvong, S. (2017). App Launches Welding Doctor with Patient Real-time kidney disease treatment reduces costs. Retrieved on December 2017 from https://www.kku.ac.th/news/v.php?q= 0013780&l=th (in Thai)
Vaidya et al. (2013). A smart phone/tablet based mobile health care system for developing countries. IEEE Engineering in Medicine and Biology Society. Annual Conference 2013; 4642-5.
World Health Organization [WHO]. (2018). Ottawa charter for health promotion, health promotion action means: Build healthy public policy. Retrieved on October, 2018, from http://www.who.int/ healthpromotion/conferences/previous/ottawa/en/index1.html