การพัฒนาอุปกรณ์วัดคุณภาพอากาศแบบเคลื่อนที่และระบบติดตามบนคลาวด์แบบเวลาจริง (Development of Portable Air Quality Monitor Devices and a Real Time Monitoring Cloud-Based System)
Main Article Content
บทคัดย่อ
ปัจจุบันประเทศไทยประสบปัญหามลพิษทางอากาศและปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะในจังหวัดใหญ่ของประเทศ เนื่องจากเป็นเมืองเศรษฐกิจ มีเขตพื้นที่อุตสาหกรรม มีประชากรอาศัยอยู่มากและมีการจราจรหนาแน่น จากการศึกษาพบว่าในหลายพื้นที่วัดค่าก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) หรือ ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) ได้อยู่ในระดับสูงกว่าค่ามาตรฐาน มากกว่า 30 ppm. /1 ชั่วโมง หรือมากกว่า 0.17 ppm./1 ชั่วโมง ตามลำดับ โดยเฉพาะในเขตพื้นที่อุตสาหกรรมหรือชุมชนที่อยู่อาศัยที่มีการจราจรคับคั่ง ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เหล่านี้กำลังเผชิญกับวิกฤตการณ์มลพิษทางอากาศ โดยที่ไม่ทราบข้อมูล ไม่รู้เท่าทันและไม่ได้ระวังป้องกันตัวเอง ข้อมูลคุณภาพอากาศที่รายงานโดยกรมควบคุมมลพิษ นั้น เป็นการรายงานข้อมูลโดยค่าเฉลี่ยในจุดพื้นที่หลักๆ ที่มีสถานีวัดคุณภาพอากาศเท่านั้น ซึ่งจากการลงพื้นที่สำรวจและจัดเก็บข้อมูลพบว่าข้อมูลคุณภาพอากาศที่วัดได้ในพื้นที่ ณ ขณะนั้น มีความแตกต่างจากข้อมูลที่รายงานโดยหน่วยงานที่รับผิดชอบ ข้อมูลจากการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างในพื้นที่พบว่า คนไม่ได้เข้าเว็บไซต์เป็นประจำเพื่อดูข้อมูลรายงานคุณภาพอากาศ ไม่ทราบว่าในอากาศมีมลภาวะที่เป็นพิษอะไรบ้าง อยากทราบข้อมูลที่เป็นจริง ณ ปัจจุบัน เสนอให้แสดงผลข้อมูลในเชิงรุกเพื่อให้ประชาชนเกิดการตระหนักรับรู้ ผู้วิจัยจึงเสนอวิธีการแก้ปัญหานี้ โดยพัฒนาชุดอุปกรณ์วัดคุณภาพอากาศแบบเคลื่อนที่ที่มีขนาดเล็กที่สามารถวัดข้อมูลคุณภาพอากาศและค่าก๊าซต่าง ๆ ได้อย่างแม่นยำ สามารถพกพาไปกับรถยนต์หรือหน่วยเคลื่อนที่ได้ สามารถวัดข้อมูลคุณภาพอากาศในพื้นที่เฉพาะจุดและรายงานข้อมูลได้แบบเวลาจริง ผ่านเครือข่ายไร้สายไปยังระบบคลาวด์ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำข้อมูลคุณภาพอากาศที่วัดได้จากในพื้นที่ที่เจาะจง พื้นที่ที่มีความเสี่ยงมาวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลจากสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศเดิมได้อย่างมีประสิทธิภาพ งานวิจัยนี้ได้ออกแบบและพัฒนาชุดอุปกรณ์ที่มีมาตรฐาน พัฒนาระบบทั้งส่วน Front-End และ Back-End ที่รองรับการจัดเก็บข้อมูล การเชื่อมต่อข้อมูลและการแสดงผลข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นการพัฒนาทั้งระบบที่เป็นข้อแตกต่างจากงานวิจัยอื่นที่ผ่านมา ระบบที่พัฒนานี้มีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับสถานีวัดคุณภาพอากาศที่มีมาตรฐาน และรองรับการนำใช้ประโยชน์ด้าน (1) การพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านภูมิอากาศ (2) พัฒนาแพลตฟอร์มข้อมูลเปิดสำหรับการพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน และ (3) ส่งเสริมระบบสาธารณสุขของประเทศ
Article Details
References
Aekkanat et al. (2019). Data Predictive Model of Thai Air Quality Using Data Visualization Based on national Ambient Air Quality Standards. Proceedings of the 4th International RMUTR Conference, 26-28 June 2019, 1-10. (in Thai)
Chirdsiri et al. (2017). The Study of Indoor Air Quality Affect on The Sick Building Syndrome of Photocopier Operators. Princess of Naradhiwas University Journal, 9(3), 106-120.
Dayanand S. T. et al. (2020). Arduino Uno Based Air Quality Monitoring and Filtering System. International Journal of Engineering Science and Computing, 10(2), 24556-24560.
JunHo, J. et al. (2020). Development of an IoT-Based Indoor Air Quality Monitoring Platform. Journal of Sensors, 20(1), 1-14.
Maturod et al. (2018). Indoor Air Quality in Hotel Buildings and Sick Building Syndrome of Hotel Staffs, Surat Thani Province. Journal of Science and Technology, Ubon Ratchathani University, 20(3), 64-73.
Mohit et al. (2019). Air Quality Index Prediction of Delhi using LSTM. International Journal of Emerging Trends & Technology in Computer Science, 8(5), 59-68.
Morawska, L. et al. (2018). Applications of low-cost sensing technologies for air quality monitoring and exposure assessment: How far have they gone?. Environ International Journal, 116, 286–299. doi:10.1016/j.envint.2018.04.018.
Nurul, A.Z. et al. (2018). Wireless Internet of Things-Based Air Quality Device for Smart Pollution Monitoring. International Journal of Advanced Computer Science and Applications, 9(11), 65-69.
Orawan et al. (2017). Measuring Dust System in the Air on Smartphone Devices.Journal of Information Science and Technology, 10(1), 1-9. (in Thai)
Patricia, A.V. (2019). Accessibility Evaluation of Mobile Applications for Monitoring Air Quality. Springer Nature Switzerland AG 2019, 918, 638–648, 2019. doi.org/10.1007/978-3-030-11890-7_61.
Ratanachuchock P., (2019). Development of Water Quality Measurement Systems Using IoT to Monitor Water Quality through an Application. Sripatum Review of Science and Technology, 11, 78-92. (in Thai)
Senthil Rajan, M.E. et al. (2020). IoT BASED AIR QUALITY MONITORING SYSTEM. International Research Journal of Engineering and Technology, 7(7), 2812-2819.
Yaeseul, S. et al. (2019). Development of a Smart Air Quality Monitoring System and its Operation. Asian Journal of Atmospheric Environment, 13(1), 30-38.