การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนสำหรับระบบไมโครครีเดนเชียลส์
คำสำคัญ:
เทคโนโลยีบล็อกเชน, อีเธอเรียม, ระบบไมโครครเดนเทียลส์บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการประยุกต์เทคโนโลยีบล็อกเชนสำหรับระบบไมโครครีเดนเชียลส์โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวทางการประยุกต์เทคโนโลยีบล็อกเชนมาใช้ในการพัฒนาระบบไมโครครเดนเทียลส์ของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 2) เพื่อพัฒนาต้นแบบแอปพลิเคชันบล็อกเชนในการรับรองผลการเรียนแบบไมโครของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชและประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ กลุ่มตัวอย่างในการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ ได้แก่ 1) คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบจัดการเรียนการสอนแบบโมดูล และ 2) ผู้อำนวยการและเจ้าหน้าที่จากสำนักการศึกษาต่อเนื่อง ตัวอย่างข้อมูลผู้สำเร็จการศึกษาจำนวน 2,000 รายการ ในปี พ.ศ. 2563 ได้มาจากโครงการ STOU MODULAR และโครงการ MOOCs เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลและประเมินความพึงพอใจ คือ แบบสอบถาม เครื่องมือในการสร้างเครือข่ายบล็อกเชน ได้แก่ อีเธอเรียมแพลตฟอร์ม เฟรมเวิร์กทรัฟเฟิล กานาช และเมทามาร์ก ชุดโปรแกรม XAMPP ใช้สำหรับการให้บริการเว็บผ่านอินเทอร์เน็ต สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) เทคโนโลยีบล็อกเชนสามารถประยุกต์ใช้ในการพัฒนาระบบไมโครครเดนเทียลส์ได้อย่างมั่นคงปลอดภัย 2) ต้นแบบแอปพลิเคชันประกอบด้วย 6 โมดูล ได้แก่ การจัดการผู้ใช้ การจัดการหลักสูตร การเตรียมข้อมูลผู้เรียน การแปลงข้อมูลผู้เรียนเข้าสู่เครือข่ายบล็อกเชน การค้นหา และรายงาน และผลประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ ในภาพรวมโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด
References
กองบริการการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา. (2563). การพัฒนาหลักสูตร Non-Degree แบบ Micro-Credentials.
เข้าถึงได้จาก http://service.buu.ac.th/index.php/news10sep2020/.
ทศพล เชี่ยวชาญประพันธ์. (2561). การเข้าถึงเอกสารสำคัญทางการศึกษาผ่านช่องทาง
ดิจิทัล:กรณีศึกษาจากออสเตรเลีย. เข้าถึงได้จาก https://bit.ly/3LcvQnH.
พุทธิพร หงษ์สุรกุล. (2016). Ethereum คืออะไร และ World Computer คืออะไร. เข้าถึงได้จากhttp://www.blockchain.fish/ethereum-คืออะไร.
พุทธิพร หงษ์สุรกุล. (2016) Blockchain. ประเภทไหนเหมาะกับองค์กรของคุณ.เข้าถึงได้จาก http://www.blockchain.fish/องค์กรไหนควรใช้-blockchain-ประเภท/.
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. (2562). มจพ. สร้างบัณฑิตพันธุ์ใหม่
เน้นสมรรถนะขั้นสูง ตอบโจทย์นโยบายการปฏิรูปอุดมศึกษาไทย. เข้าถึงได้จาก https://bit.ly/3syNJqo.
สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์. (2564). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ยกระดับ Transcript
สู่ Digital เป็นแห่งแรกของประเทศไทย. เข้าถึงได้จาก https://bit.ly/3wv6Brx.
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2563). เปิดมิติใหม่การศึกษาไทย นำร่องใช้
Digital Transcript ปี ’63 พร้อมดันสู่ Digital Transformation เต็มรูปแบบ.
เข้าถึงได้จาก https://www.etda.or.th/th/newsevents/pr/Launching-Digital-Transcript.aspx
Blockchain.Fish Team. (2016). Ethereum คืออะไร และ World Computer คือ
อะไร. เข้าถึงได้จาก http://www.blockchain.fish/ethereum-คืออะไร/.
Blockchain.Fish Team. (2016). Blockchain ประเภทไหนเหมาะกับองค์กรของ
คุณ .เข้าถึงได้จาก http://www.blockchain.fish/องค์กรไหนควรใช้-blockchain-ประเภ/.
Engineering Today. (2563). มจธ. จับมือ Digital Promise ครั้งแรกในไทย เร่งแก้วิกฤต
การศึกษาไทย – คนวัยทำงาน. เข้าถึงได้จาก https://bit.ly/3sCJdY9.
Yokekung. (2563). อว. เปิดตัวแพลตฟอร์มออนไลน์ “Future Skill x New Career Thailand” รับมือโลกในศตวรรษ
ที่ 21. เข้าถึงได้จาก https://www.adslthailand.com/post/7001.
Condos, J., Sorrell, W. H., & Donegan, S. L. (2016). Blockchain Technology:
Opportunities and Risks. Vermont. Retrieved from https://bit.ly/38toqiJ.
Grech, A, & Camilleri, A. F. (2017). Blockchain in Education. European Commission: JRC
Science for Policy Report. Retrieved from https://bit.ly/3FM6kEZ.
Jirgensons, M., & Kapenieks, J. (2018). Blockchain and the Future of Digital Learning
Credential Assessment and Management. Journal of Teacher Education for
Sustainability, 20(1), 145-156. Retrieved from https://sciendo.com/article/10.2478/jtes-2018-0009.
Lim, C. L., Nair, P. K., Keppell, M. J., Hassan, N., & Ayub, E. (2018). Developing a
Framework for the University-Wide Implementation of Micro-Credentials and Digital Badges: A Case Study From a Malaysian Private University. 2018 IEEE 4th.
International Conference on Computer and Communications (ICCC), 2018, pp.
-1719, doi: 10.1109/CompComm.2018.8780706.
Schmidt, J. P. (2017, April 24). Credentials, Reputation, and the Blockchain.
Retrieved from https://er.educause.edu/articles/2017/4/credentials-reputation-and-the-blockchain.
Sharples, M., & Domingue, J. (2016). The Blockchain and Kudos: A Distributed System
for Educational Record, Reputation and Reward. In: Verbert, K, Sharples,
M. Klobucar, T. (Eds.) Adaptive and Adaptable Learning (pp. 490–496). Springer.
Retrieved from https://bit.ly/3PosLnP.
STOU MODULAR. (2563). เรียน MODULAR ที่มสธ. “เพิ่มขีดความสามารถ...สร้างโอกาสที่ดีกว่า”.
Retrieved from http://modular.stou.ac.th/.