การศึกษาความเข้มของภาพถ่ายเอกซเรย์ที่ทะลุผ่านวัสดุตามอัตราส่วนของแบเรียมซัลเฟตด้วยแผ่นรับภาพทางรังสี
คำสำคัญ:
ภาพถ่ายทางรังสี, แบเรียมซัลเฟต, ค่าสัมประสิทธิ์การลดทอนพลังงานบทคัดย่อ
ในยุคปัจจุบันได้มีการนำเอกซเรย์มาใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์มากมาย ในการทำงานที่เกี่ยวข้องจึงต้องมีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากรังสีอย่างเหมาะสม โดยปกตินิยมใช้อุปกรณ์ที่มีตะกั่วมากำบังเนื่องจากมีคุณสมบัติในการลดทอนรังสี แต่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมได้ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาความเข้มของภาพถ่ายเอกซเรย์ที่ทะลุผ่านวัสดุตามอัตราส่วนของแบเรียมซัลเฟตด้วยแผ่นรับภาพทางรังสี วัสดุอุปกรณ์ประกอบด้วยเครื่องกำเนิดเอกซเรย์, แผ่นรับภาพทางรังสี, เครื่องอ่านภาพทางรังสี และโปรแกรม ImageJ ซึ่งเป็นโปรแกรมที่วิเคราะห์ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ผลการวิจัยพบว่า แรงดันไฟฟ้าที่ใช้คือ 60-80 kVp เมื่อแรงดันไฟฟ้ามากขึ้นทำให้ค่าสัมประสิทธิ์การลดทอนพลังงานของเอกซเรย์มีค่าลดลง และอัตราส่วนของแบเรียมซัลเฟต 0, 5, 10, 15 phr เมื่ออัตราส่วนของแบเรียมซัลเฟตมากขึ้น จะทำให้การดูดกลืนพลังงานของเอกซเรย์มากขึ้น เป็นผลทำให้ค่าสัมประสิทธิ์การลดทอนพลังงานของเอกซเรย์มีค่ามากขึ้นตามไปด้วย สรุปผลการวิจัยแผ่นยางพาราคอมพอสิตสามารถเป็นอุปกรณ์การป้องกันอันตรายจากรังสี และสามารถเป็นแนวทางการสร้างอุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากรังสีที่มีเทคนิคแตกต่างกันได้
References
เสาวภาคย์ ภูศิริ และคณะ. (2562). การประดิษฐ์อุปกรณ์ป้องกันรังสีจากยางธรรมชาติผสมบิสมัทปริมาณสูงสำหรับงานรังสีวินิจฉัย: วารสารรังสีเทคนิค, 44(1), 8-14.
ภาคภูมิ อรชร, นเรศร์ จันทน์ขาว, สมยศ ศรีสถิตย์. (2560). การพัฒนาเทคนิคสาหรับการตรวจวัดของเหลวในขวดแก้วโดยใช้การทะลุ ผ่านของรังสีเอกซ์พลังงานต่ำ: วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 16, 20-16.
นพรัตน์ แก้วใหม่. (2560). การพัฒนาเทคนิคการถ่ายภาพด้วยรังสีเอกซ์ที่บันทึกภาพโดยใช้กล้องดิจิทัลสำหรับการคัดกรองของเหลว. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิริลักษณ์ อินต่อม. (2562). การเตรียมอิลาสโตเมอร์กำบังรังสีปลอดตะกั่วจากคอมโพสิตยางธรรมชาติผสมกับสารประกอบของออกไซด์ (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ทิวาวัลย์ อธิชาติกุล และคณะ. (2560). สัมประสิทธิ์การลดทอนรังสีเอกซ์ของแผ่นคอมพอสิต PU/BaSO4: วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 27, 159-168.
ธัญรัตน์ ชูศิลป์ และคณะ. (2561). ตัวบ่งชี้ปริมาณรังสีในระบบการถ่ายภาพรังสีแบบดิจิทัล: วารสารรังสีเทคนิค, 43(1),
-28.
ศุภวิภู สุขเพ็ง. (2559). การวัดปริมาณรังสีเอกซ์จากการตรวจวินิจฉัย และแนวทางการใช้รังสีอย่างเหมาะสม (พิมพ์ครั้งที่ 1). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
V.P.Singh et al. (2015). Determination of mass attenuation coefficient for some polymers using Monte Carlo simulation: Vacuum journal, 119, 284-288.