ปัจจัยที่มีผลต่อความล่าช้าในโครงการก่อสร้างถนนขององค์กรปกครองท้องถิ่นในจังหวัดนครพนม

Main Article Content

ลิขิต พันธุเทพ
วชิรกรณ์ เสนาวัง
แสงสุรีย์ พังแดง

บทคัดย่อ

โครงการก่อสร้างถนนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตเทศบาลเมืองนครพนมมักจะมีการล่าช้าในการก่อสร้างเกิดขึ้นเสมอ ความล่าช้าที่เกิดขึ้นนั้นมาจากหลายปัจจัยและส่งผลส่งผลให้งานก่อสร้างไม่แล้วเสร็จตามเป้าหมาย ทำให้เกิดความเสียหาย การเบิกค่าใช้จ่ายงบประมาณในแต่ละปีไม่ตรงตามกำหนด และไม่สามารถเปิดใช้งานถนนเพื่อใช้ประโยชน์ในการสัญจรได้ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อหาสาเหตุความล่าช้าและแนวทางการแก้ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น ทำการเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์กับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 2 กลุ่ม ได้แก่กลุ่มผู้ว่าจ้างและกลุ่มผู้รับจ้าง ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อความล่าช้าที่มีดัชนีความสำคัญของปัจจัยสูงสุด 5 อันดับแรก มีดังนี้ การขาดแคลนบุคคลากรในการก่อสร้าง การใช้เทคโนโลยีไม่เหมาะสมกับประเภทงาน การรอผลการทดสอบ เครื่องจักรเสียบ่อยครั้ง และขาดการประสานงานระหว่างผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้าง โดยได้มีการเสนอแนวทางแก้ไขและป้องกันความล่าช้าให้สอดคล้องกับปัจจัยที่มีผลต่อความล่าช้าเรียงลำดับตามค่าดัชนีความสำคัญ


 

Article Details

How to Cite
พันธุเทพ ล., เสนาวัง ว., & พังแดง แ. (2021). ปัจจัยที่มีผลต่อความล่าช้าในโครงการก่อสร้างถนนขององค์กรปกครองท้องถิ่นในจังหวัดนครพนม . Journal of Engineering Technology Access (JETA) (Online), 1(1), 1–11. สืบค้น จาก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/JETA/article/view/243555
บท
บทความวิจัย

References

เจริญทรัพย์ งอยจันทร์ศรี และพิชญ์ สุธีรวรรธนา. (กรกฎาคม, 2563). สาเหตุของงานบกพร่องในงานก่อสร้าง ต้นทุนในการแก้ไข และแนวทางป้องกันการเกิดซ้ำ: กรณีศึกษางานก่อสร้างโรงแรม 1 แห่ง [Paper presentation], การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติครั้งที่ 25, ชลบุรี, ประเทศไทย. (In Thai)

Bramble, B. & Callahan, M. (2010). Construction Delay Claims, (4th ed). United States, Aspen Publishers.

Robert, R., Viginia, F., Sammie, G. and Alfred, M. (1992). Construction Claims Prevention and Resolution, (2nd ed). Van Nostrand, New York.

Diekmann, James E., and Nelson, Mark C. (1985). Construction Claims: Frequency and Severity. Journal of Management in Engineering, 111(1), 74-81.

สุธนัย วงศ์สารภี. (พฤษภาคม, 2554). การศึกษาปัจจัยที่เป็นสาเหตุก่อให้เกิดความล่าช้ากับงานก่อสร้างถนนของกรมทางหลวง [Paper presentation], การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 16, มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพฯ, ประเทศไทย. (In Thai)

พีรสิชฌ์ อัฑฒ์สุวีร์ และวรรณวิทย์ แต้มทอง. (กรกฎาคม, 2563). สาเหตุความล่าช้าของงานราชการและแนวทางการแก้ปัญหา [Paper presentation], การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25, ชลบุรี, ประเทศไทย. (In Thai)

ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 8). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ, ประเทศไทย. (In Thai)

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2551) การวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. (พิมพ์ครั้งที่ 9). บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี, กรุงเทพฯ, ประเทศไทย. (In Thai)

บุญเชิด ภิญโญอนันตพงษ์. (2545). ประมวลสาระวิชาการพัฒนาเครื่องมือสำหรับการประเมินผลการศึกษา. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี, ประเทศไทย. (In Thai)

ทัต นาควิเชียร และ จตุพล ตั้งปกาศิต. (พฤษภาคม, 2554). ปัจจัยที่มีผลต่อความล่าช้าในโครงการก่อสร้างถนนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตปริมณฑล [Paper presentation], ประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธา แห่งชาติ ครั้งที่ 16, มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพฯ, ประเทศไทย. (In Thai)

กฤษณพงค ฟองสินธุ์. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารงานก่อสร้างถนนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์. รายงานวิจัย, มหาวิทยาลัย ราชภัฎอุตรดิตถ์. (In Thai)