แนวทางการบริหารจัดการและปรับปรุงพื้นที่เพื่อตอบสนองการใช้งานของนักศึกษา กรณีศึกษา: พื้นที่ชั้น 2 คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยนครพนม

Main Article Content

Nathayu Chawapattanayotha
ศิวัช มังคละคีรี
พัฒณิฌาย์ พูนทองอินทร์

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารจัดการพื้นที่ เพื่อให้เกิดการตอบสนองการใช้งานของนักศึกษา โดยกรณีศึกษาของงานวิจัยนี้คือพื้นที่ชั้นสองอาคารสารสนเทศ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยนครพนม ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ส่วนกลางขนาดใหญ่ แต่มีผู้เข้ามาใช้งานน้อยมาก ผู้วิจัยได้ตั้งสมมติฐานว่าพื้นที่ส่วนนี้สามารถถูกแก้ปัญหาด้วยการสร้างแนวทางในการบริหารจัดการพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในด้านการเรียนรู้  โดยผู้วิจัยทำการสำรวจและเก็บข้อมูลลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ และวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้งานของผู้ใช้อาคาร 2 กลุ่ม ได้แก่ นักศึกษาระดับอาชีวศึกษา และนักศึกษาระดับอุดมศึกษา ซึ่งจากการสำรวจพื้นที่กรณีศึกษาพบว่าพื้นที่ทั้งหมดรวมกันมีขนาด 820 ตารางเมตร ประกอบไปด้วยห้องสมุด ห้องประชุมสำหรับ 20 ที่นั่ง ห้องเก็บเอกสาร ห้องน้ำ และพื้นที่สัญจรภายในอาคาร และจากการวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้งานของผู้ใช้อาคารพบว่านักศึกษาระดับอาชีวศึกษา ใช้พื้นที่เพื่อทำงานกลุ่มและพักผ่อน โดยมีจำนวนกลุ่มละ 4 – 6 คน คิดเป็นร้อยละ 48.50 ของทั้งหมด โดยใช้เวลา 1 – 2 ชั่วโมงต่อครั้ง ส่วนนักศึกษาระดับอุดมศึกษา ใช้พื้นที่เพื่อทำงานกลุ่มและพักผ่อน โดยมีจำนวนกลุ่มละ 1 – 3  คิดเป็นร้อยละ 52.63  โดยใช้เวลา 1 – 2 ชั่วโมงต่อครั้ง โดยสิ่งอำนวยความสะดวกที่นักศึกษาทั้ง 2 กลุ่มต้องการ ได้แก่ ระบบอินเทอร์เนต ปลั๊กไฟ เครื่องปรับอากาศ ตู้กดเครื่องดื่ม และร้านถ่ายเอกสาร เมื่อได้ผลการวิเคราะห์แล้วก็สามารถนำไปใช้เพื่อสร้างแนวทางการจัดวางผังพื้น  เฟอร์นิเจอร์  และการใช้สอยของพื้นที่ในรูปแบบต่าง ๆ กำหนดสิ่งอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้อาคาร ในการบริหารจัดการพื้นที่กรณีศึกษานี้  ผู้วิจัยได้ทำการประมาณราคารวมทั้งสิ้น 2,579,313 บาท  แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนปรับปรุงพื้นที่ของอาคาร ใช้งบประมาณ 1,854,388 บาท  และส่วนของงานครุภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์ต่างๆ ที่ใช้ประกอบในอาคาร ใช้งบประมาณ 724,925 บาท

Article Details

How to Cite
Chawapattanayotha, N., มังคละคีรี ศ., & พูนทองอินทร์ พ. (2021). แนวทางการบริหารจัดการและปรับปรุงพื้นที่เพื่อตอบสนองการใช้งานของนักศึกษา กรณีศึกษา: พื้นที่ชั้น 2 คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยนครพนม. Journal of Engineering Technology Access (JETA) (Online), 1(2), 35–47. https://doi.org/10.14456/jeta.2021.6
บท
บทความวิจัย

References

Apipa Prachyapruit. (2017). Learning Space Design for Higher Education Institutions in the 21st Century. Dusit Thani College Journal, Vol.11 (2), p.379-392.

Kanjana Wuttipongpreecha. (2011). The physical environmental guideline of third place for business meeting. Master’s thesis. Bangkok. King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang.

Faculty of Industrial Technology Nakhonphanom University. (2021). Vision and Mission. 1 October 2021, Retrieved from http://itech.npu.ac.th/home/?page_id=343.

The Office of Academic Affairs and Registration. (2021). Nakhonphanom University Educational Manual. p.5.

Sangchai Apichartthanapat. (2016). Good Governance for Organization Management (Individual Study). Bangkok. Constitution College.

Pattranit Mohtong, Wanida Tongkhote, Supannee Uengpansattawong. (2017). Determining the sample size by the Yamane’s formula. Retrieved from 1 October 2021, http://sc2.kku.ac.th/stat/statweb/images/Eventpic/60/Seminar/01_9_Yamane.pdf.

Karunaporn Rattanaphupha. (2019). Construction Cost Estimation. Bangkok. Se-education.

The Controller General’s Department. (2020). Factor F for Building Construction. 3 October 2021. Retrieved from https://drive.google.com/file/d/1_1IH1VQ9qsprDlqCD9qOZE1MXm96vVZB/view.

Department of Design and Construction in Ministry of Education. (2021) Cost of Construction Materials and labor. Bangkok. Construction Ministry of Education.