การออกแบบและพัฒนายานยนต์ไฟฟ้าต้นแบบ
คำสำคัญ:
ยานยนต์ไฟฟ้า, บัสเลสดีซีมอเตอร์, ลิเทียมไอออนฟอสเฟตบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและพัฒนายานยนต์ไฟฟ้าต้นแบบและประเมินสมรรถนะยานยนต์ไฟฟ้าที่ได้พัฒนาขึ้น ยานยนต์ไฟฟ้าต้นแบบที่ได้ออกแบบและพัฒนาขึ้นได้ออกแบบด้วยโปรแกรม SolidWorks โดยออกแบบยานยนต์เป็นลักษณะ 4 ล้อ ขับเคลื่อน 2 ล้อหลัง ใช้มอเตอร์กระแสตรงชนิดบัสเลสดีซีมอเตอร์ (Brushless DC Motor: BLDC) เป็นต้นกำลัง โดยใช้แบตเตอรี่ชนิดลิเทียมไอออนฟอสเฟตเป็นพลังงานหลัก และออกแบบระบบส่งถ่ายกำลังด้วยโซ่และชุดเกียร์ทดรอบเพื่อสามารถปรับแต่งความเร็วได้ตามต้องการ ผลการประเมินสมรรถนะยานยนต์พบว่า ความเร็วสูงสุดกรณีบรรทุกผู้โดยสาร 1 คน เท่ากับ 29.4 กิโลเมตรต่อชั่วโมง กรณีบรรทุกผู้โดยสาร 2 คน เท่ากับ 28.4 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ระยะทางสูงสุดที่ขับเคลื่อนต่อการชาร์จ 1 ครั้ง เท่ากับ 21.398 กิโลเมตร ระยะเวลาสูงสุดที่ขับเคลื่อนต่อการชาร์จ 1 ครั้ง เท่ากับ 46.48 นาที และมีอัตราการสิ้นเปลืองพลังงานต่อการชาร์จ 1 ครั้ง โดยใช้พลังงานไฟฟ้า 8 กิโลวัตต์ชั่วโมง คิดเป็น 35 บาท
References
[2] กลุ่มวิจัยเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. แบตเตอรี่ยานยนต์ไฟฟ้า.
https://www.enconlab.com/etuktuk/index.php/menu-news-etuktuk, ค้นคว้าวันที่ 19 มกราคม2563, กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. 2560.
[3] กฤตพล วิภาวีกุล. (2561). การปรับตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ญี่ปุ่นเนื่องจากการเปลี่ยนผ่านสู่ยานยนต์ไฟฟ้า : กรณีศึกษาบริษัทเครือโตโยต้าในญี่ปุ่น. วารสารเครือข่าวญี่ปุ่นศึกษา ฉบับพิเศษ, 8 (3), 235-239.
[4] กองพล อารีรักษ์ การควบคุมความเร็วรอบของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงชนิดแยกกระตุ้นสำหรับรถไฟฟ้า. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, 2556, 132-133.
[5] ธิฐิ ยัมสังฆ์. เรื่องการออกแบบแพ็คแบตเตอรี่ โดยควบคุมด้วยวงจร BMS. กรุงเทพฯ, 2562.
[6] นภัทร วัจนเทพินทร์ และคณะ. (2559). การพัฒนารถไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ต้นแบบสำหรับการแข่งขัน. วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร, 10 (2), 54-56.
[7] บัญชา ศรีวิโรจน์. การควบคุมมอเตอร์กระแสตรงแบบกระตุ้นแยก ด้วย ไมโครคอนโทรลเลอร์
[8] พูลพร แสงบางปลา. มาตรฐานและคุณภาพ รถยนต์ไฟฟ้าในปัจจุบัน. กรุงเทพฯ : สถาบัน เทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น, 2556.
[9] ชูศักดิ์ ขจรเดช. การทดสอบแรงเฉื่อยจากการหยุดเคลื่อนที่กะทันหันของรถยนต์, นครราชสีมา, 2560.
[10] สำเริง เต็มราม การควบคุมมอเตอร์กระแสตรงไร้แปรงถ่านในยานยนต์ไฟฟ้า. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 2556, 15-16.
[11] สมเดช แสงสุรศักดิ์. (ผู้เชี่ยวชาญวิจัย ห้องปฏิบัติการพัฒนามาตรฐานและทดสอบศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และ
คอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค-สวทช.), มาตรฐานระบบประจุยานยนต์ไฟฟ้าhttps://www.nectec.or.th/news/news-pr-news/evstandard-nectec.html, บทสัมภาษณ์, 2561.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์