ผลของสารคลอรีนไดออกไซด์ต่อชิ้นส่วนที่มีการปนเปื้อนในหลอดทดลอง และการอนุบาลกล้าด้วยวัสดุปลูกที่ผสมแหนแดงของต้นว่านชักมดลูก

ผู้แต่ง

  • สุนทรียา กาละวงศ์ สาขาวิชาเกษตรและเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • ปิยวัฒน์ นพศรี สาขาวิชาเกษตรและเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

ว่านชักมดลูก, สารคลอรีนไดออกไซด์, การปนเปื้อน, แหนแดง

บทคัดย่อ

ว่านชักมดลูก (Curcuma comosa) เป็นพืชสมุนไพรที่มีอายุหลายปี ซึ่งจัดอยู่ในวงศ์ Zingiberaceae เหง้าของ        ว่านชักมดลูกถูกนำมาใช้เป็นตำรับยาในการต้านการอักเสบ โดยเหง้าของพืชชนิดนี้ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในการแพทย์แผนไทย สำหรับต้านการอักเสบโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการรักษาอาการมดลูกอักเสบของสตรีหลังคลอด ปัจจุบันการขยายพันธุ์แบบเดิมได้ปริมาณน้อยจึงนำเอาเทคนิคการขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเลี้ยงเนื้อพืชมาใช้ เพราะสามารถผลิตต้นพันธุ์ได้จำนวนมากในระยะเวลาอันสั้นอย่างไรก็ตาม กระบวนการทำให้ปลอดเชื้อในชิ้นส่วนพืชมีความสำคัญมากการทำให้ปลอดเชื้อด้วยสารเคมีเป็นวิธีหนึ่งที่นิยมใช้สารคลอรีนไดออกไซด์เป็นสารฆ่าเชื้อนั้นมีความเหมาะสมกับการลดการปนเปื้อนเชื้อในอาหารเพาะเลี้ยงและชิ้นส่วนพืช ซึ่งวัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้ คือศึกษาผลของการลดการปนเปื้อนในการอาหารเพาะเลี้ยงด้วยสารคลอรีนไดออกไซด์ ร่วมถึงการใช้แหนแดงเป็นวัสดุปลูกในการปรับสภาพปลูกของต้นว่านชักมดลูก โดยอาหารเพาะเลี้ยงที่ทำให้ปลอดเชื้อด้วยการเติมสารคลอรีนไดออกไซด์ สามารถช่วยส่งเสริมการสร้างยอดและการลดการปนเปื้อนเชื้อในการเพาะเลี้ยงต้นว่านชักมดลูกได้  พบว่าสารคลอรีนไดออกไซด์ เข้มข้น 30 มิลลิกรัมต่อลิตร (10 มิลลิกรัมต่อลิตร, 3 ครั้ง) ให้ผลดีที่สุด คือ ไม่มีการปนเปื้อนของเชื้อและให้จำนวนยอดสูงสุด (6.86±0.55 ยอด) โดยการทดลองการรอดชีวิตด้วยการใช้แหนแดงเป็นวัสดุปลูก ทราย : ขุยมะพร้าว : แหนแดง ในสัดส่วน 2.0 : 1.0 : 0.1 ด้วยปริมาตรให้อัตราการรอดชีวิตถึง 100 เปอร์เซ็นต์ หลังจากการเพาะเลี้ยงเป็นเวลา 30 วัน จากผลการวิจัยในครั้งนี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์กับพืชชนิดอื่นในวงศ์ขิงต่อไปในอนาคตได้

References

ชิดชนก โชติกปฏิพัทธ์. (2557). การใช้แหนแดงเป็นวัสดุเพาะเมล็ดและวัสดุปลูกดาวเรือง. ใน รายงานผลการวิจัย (76 หน้า).

นครปฐม: ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน.

เทคโนโลยีชาวบ้านออนไลน์. (2561). แหนแดง พืชน้ำมหัศจรรย์ ใช้ผลิตปุ๋ย ปลูกข้าว เลี้ยงสัตว์ ทำเกษตรอินทรีย์ลดต้นทุน. ค้นจาก https://www.technologychaoban.com

ปฐมพร พูลสวัสดิ์. (2551). การใช้คลอรีนไดออกไซด์และคลอรีนเพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของสาหร่าย ในอ่างเก็บน้ำของ

โรงไฟฟ้าวังน้อย. วารสารวิศวกรรมสาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 21(64), 69-78.

ปริญญา สุคนธรัตน์, ทัศนี ขาวเนียม, และสมปอง เตชะโต. (2558). การทำให้ชิ้นส่วนปลอดเชื้อและการชักแคลลัส

จากชิ้นส่วนกาบใบของขมิ้นชันในหลอดทดลอง. วารสารพืชศาสตร์สงขลานครินทร์, 2(2), 36-40.

พวงเพ็ญ ศิริรักษ์. (2551). การศึกษาพืชวงศ์ขิง (Zingiberaceae) ในประเทศไทย. วารสารวิทยาศาสตร์, 5(2), 119-128.

ระวิวรรณ แก้วอมตวงศ์. (2560). สารทุติยภูมิและฤทธิ์ทางชีวภาพของว่านชักมดลูกที่จำหน่ายในท้องตลาดของไทย. วารสาร

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 19(1), 1-21.

วราภรณ์ หีดฉิม, สุรีรัตน์ เย็นช้อน, และสมปอง เตชะโต. (2561). ผลของคลอรีนไดออกไซด์ต่อการปลอดเชื้อและการเพิ่ม

ปริมาณยอดรวมของกล้วยหอมเขียวในหลอดทดลอง. วารสารพืชศาสตร์สงขลานครินทร์, 5(2), 1-7.

วุฒิชัย ศรีช่วย, และสมปอง เตชะโต. (2557). ผลของคลอรีนไดออกไซด์ต่อการทำให้ปลอดเชื้อในการเพาะเลี้ยงสับปะรดภูแล

ด้วยระบบไบโอรีแอคเตอร์. วารสารแก่นเกษตร, 42(พิเศษ 3), 75-80.

วุฒิชัย ศรีช่วย, และสุพัฒน์ ศรีสวัสดิ์. (2560). การใช้คลอรีนไดออกไซด์ (ClO2) เพื่อทำให้ปลอดเชื้อในอาหารสังเคราะห์

และการขยายพันธุ์ม่วงเทพรัตน์ (Exacum affine Balf.f. ex Regel) ในหลอดทดลอง (หน้า 43). นราธิวาส: มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์.

สมเพียร เกษมทรัพย์. (2525). การปลูกไม้ดอก. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สุภัทราพร มหาแก้ว. (2536). ประสิทธิภาพของคลอรีนไดออกไซด์ในการลดปริมาณเชื้อ Salmonella typhimurium ใน

กระบวนการผลิตไก่แช่เยือกแข็ง. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

อรุณี ม่วงแก้วงาม. (2559). การขยายพันธุ์ดาหลาขาวด้วยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ. วารสารพืชศาสตร์สงขลานครินทร์, 3(2),

-11.

Anchalee, J. 2012. Effects of NAA and sucrose on shoot induction and rapid micropropagation by trimming shoot of Curcuma longa L. Thammasat International Journal of Science and Technology, 4, 54-60.

Cardoso, J. C. and Silva, J. A. T. (2012). Micropropagation of gerbera using chlorine dioxide (ClO2) to sterilize

the culture medium. In Vitro Cellular and Developmental Biology - Plant, 48(3), 362–368.

Forni, C., J. Riov, Grilli Caiola M. and Tel-OR, E. 1992. Indole-3-acetic acid (IAA) production by Arthobacter

species isolated from Azolla. Journal of General Microbiology, 138, 377-381.

Goyal, A. K., Ganguly, K., Mishra, T. and Sen, A. (2010). In vitro multiplication of Curcuma longa Linn. an important medicinal zingiber. NBU Journal of Plant Sciences, 4, 21-24.

Huang, J., Wang, L., Ren, L., Ma, N. Q. and Juli, F. (1997). Disinfection effect of chlorine dioxide on bacteria in water. Water Research, 31, 607-613.

Lenntech. (2018). Disinfectants: Chlorine dioxide. Retrieved from

https://www.lenntech.com/processes/disinfection/chemical/disinfectantschlorinedioxide.htm

Mohamed, S. A., Hussein, S. T., Usama, I. A., Hattem, M. and EI-Sayed, I. G. (2011). In vitro propagation of ginger (Zingiber officinale Rosco). Journal of Genetic Engineering and Biotechnology, 9, 165-172.

Shaqufta, N., Saiga, I., Sumera, J. and Aamir, A. (2009). In vitro clonal multiplication and acclimatization of different varieties of Turmeric (Curcuma longa L.). Pakistan Journal of Botany, 4, 2807-2816.

Shrama, S. K., Shrama, M. and Raina, V. 2013. In vitro protocol standardization for turmeric in Jammu division. Journal of Biotechnology Research Center, 8, 55-57.

Singh, D., Singh, H., Nongalleima, K., Moirangthem, S. and Devi, S. (2013). Analysis of growth, yield potential

and horticultural performance of conventional vs. micropropagated plants of Curcuma longa var. Lakadong. African Journal of Biotechnology, 12, 1604-1608.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-28