พืชกาฝากและพืชอิงอาศัยในอุทยานแห่งชาติภูแลนคา จังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • เทียมหทัย ชูพันธ์ -

คำสำคัญ:

พืชกาฝาก, พืชอิงอาศัย, อุทยานแห่งชาติภูแลนคา, ชัยภูมิ

บทคัดย่อ

การสำรวจพืชกาฝากและพืชอิงอาศัยในอุทยานแห่งชาติภูแลนคา จังหวัดชัยภูมิ ตามเส้นทางศึกษาธรรมชาติระหว่างเดือนมกราคม – เดือนธันวาคม พ.ศ. 2561 เพื่อให้ทราบชนิดและแหล่งอาศัย พบพืชจำนวน 11 วงศ์ 19 สกุล 29 ชนิด จำแนกเป็นพืชกลุ่มเฟิร์น 11 ชนิด พืชดอกกลุ่ม Magnoliid 1 ชนิด พืชดอกกลุ่ม Monocots 1 ชนิด และพืชดอกกลุ่ม Eudicots 16 ชนิด จำแนกตามการดำรงชีวิตออกเป็น 3 กลุ่ม คือ พืชที่ดำรงชีวิตแบบกาฝาก 13 ชนิด พืชที่ดำรงชีวิตแบบอิงอาศัย 15 ชนิด และพืชที่ดำรงชีวิตแบบอาศัยซาก 1 ชนิด เป็นพืชหายากของโลก (Rare species) และพืชเฉพาะถิ่นของไทย (Endemic species) 1 ชนิด ได้แก่ ว่านดอกสามสี (Christisonia siamensis Craib)

References

ก่องกานดา ชยามฤต. (2550). ลักษณะประจำวงศ์พรรณไม้. กรุงเทพฯ: สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.

ก่องกานดา ชยามฤต. (2550). ลักษณะประจำวงศ์พรรณไม้ 2. กรุงเทพฯ: สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.

เทียมหทัย ชูพันธ์, เสาวลักษณ์ จำเริญธรรม, และอัญชลี ลำพึง. (2560). ความหลากหลายและนิเวศวิทยาของไม้พื้นล่างในอุทยานแห่งชาติภูแลนคา จังหวัดชัยภูมิ. ใน รวมบทความวิจัยการประชุมวิชาการพฤกษศาสตร์แห่งประเทศไทย (ครั้งที่ 11, หน้า 30-36). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.

เทียมหทัย ชูพันธ์, จิรประภา ทองสุขแก้ง, และธนา ดานะ. (2561). ความหลากหลายของชนิดและนิเวศวิทยาของกล้วยไม้ในอุทยานแห่งชาติภูแลนคา จังหวัดชัยภูมิ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 37(5), 612-618.

เทียมหทัย ชูพันธ์, สุภาวดี ศรฐิติการ, และอภิญญา ระเบียบ. (2562). ความหลากหลายของพรรณไม้ใหญ่ในอุทยานแห่งชาติ ภูแลนคา จังหวัดชัยภูมิ. ใน รายงานการประชุมวิชาการพฤกษศาสตร์แห่งประเทศไทย (ครั้งที่ 13, หน้า 35-51). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พรสุดา เรืองเสวียด, ฉันทพิชญา อ้ายชุม, สุชาดา กาทอง, ฟาซีมะ เจ๊ะแม, วาสิตา แสนบุญยัง, อนงคณ์ หัมพานนท,

รัฐพล ศรประเสริฐ, สยาม อรุณศรีมรกต, ทนงศักด์ จงอนุรักษ์, และพระอธิการสำรวม สิริภทฺโท. (2558). ความหลากหลายของพืชกาฝากมะม่วง (Dendrophthoe pentandra (L.) Miq.) และพรรณไม้อาศัยในพื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่า วัดไกลกังวล (เขาสารพัดดีศรีเจริญธรรม) อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท. วารสารวนศาสตร์, 34(2), 73-83.

ลลิตา คำแท่ง, สุรพล แสนสุข, ปิยะพร แสนสุข, และสุดารัตน์ ถนนแก้ว. (2557). ความหลากชนิดและการใช้ประโยชน์ของพืชวงศ์ขิงในอุทยานแห่งชาติภูแลนคา จังหวัดชัยภูมิ. KKU Research Journal, 19(6), 794-803.

สุมาลี เหลืองสกุล, วสินี ไขว้พันธุ์, นเรศ ชมบุญ, ประยูร ชุ่มมาก, กฤติญา แสงภักดี, ศิรินภา ศิริยันต์, กัญจน์ ศิลป์ประสิทธิ์, และดวงรัตน์ แพงไทย. (2554). ความหลากหลายของเฟิร์นและพืชใกล้เคียงเฟิร์นในอุทยานแห่งชาติภูผาม่าน จังหวัดขอนแก่นและจังหวัดเลย. ใน รายงานการวิจัย, (หน้า 83). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สำนักงานหอพรรณไม้. (2557). ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันทน์ (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2557). กรุงเทพฯ: สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.

สำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. (2564). อุทยานแห่งชาติภูแลนคา. ค้นจาก http://park.dnp.go.th/visitor/nationparkshow.php?PTA_CODE=9135.

Angiosperm Phylogenetic Group. (2016). An update of the Angiosperm Phylogeny Group classification for the orders and families of flowering plants: APG IV. Botanical Journal of the Linnean Society, 181(1), 1–20.

Forest Herbarium. (2021). e-Flora of Thailand. Retrieved from https://www.dnp.go.th/botany/eflora/index.html

Forest Herbarium. (2017). Threatened plants in Thailand. Bangkok: Department of National Parks, Wildlife and Plant Conservation.

Kwanda, N., Noikotr, K., Sudmoon, R., Tanee, T., and Chaveerach, A. (2013). Medicinal paracitic plants on diverse hosts with their usages and barcodes. Journal of Natural Medicine, 67(3), 438-445.

Prasitpuriprecha, C., Sripanidkulchai, B., Lulitanond, V., and Saguansermsri, J. (2006). Evaluation of Immunomodulating activity of selected Thai medicinal plants by lymphocytes proliferation assay. Indian Journal Pharmaceutical Science, 2, 53-62.

Prider, J., Watling, J., and Facelli, J.M. (2009). Impacts of a native parasitic plant on an introduced and a native host species: implications for the control of an invasive weed. Annals of Botany, 103: 107-115.

Těšitel, J., Li, A-R, Knotkováa, K., McLellan, R., Bandaranayake, P.C.G., and Watson, D.M. (2021). The bright side of parasitic plants: what are they good for? Plant Physiology, 185: 1309–1324.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-07