ลักษณะทางกายภาพของเมล็ดพืชบางชนิดในป่าบุ่งป่าทาม และการทดสอบการงอกเบื้องต้น
คำสำคัญ:
เมล็ดประเภทออร์โธดอกซ์, เมล็ดประเภทรีแคลซิแทรนท์, ลักษณะทางกายภาพ, ป่าบุ่งป่าทาม, การทดสอบการงอกบทคัดย่อ
การศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาของเมล็ดพืชบางชนิดในป่าบุ่งป่าทาม จังหวัดนครราชสีมา ด้วยการสำรวจและเก็บตัวอย่างเมล็ด จำนวน 41 ชนิด บันทึกลักษณะทางกายภาพ น้ำหนักแห้ง และตัดทดสอบ จากนั้นทดสอบการงอกเบื้องต้น พบว่า พืชที่มีน้ำหนักแห้งเมล็ดมากที่สุด คือ ถั่วพร้า (Canavalia gladiata (Jacq.) DC.) มีค่าเท่ากับ 1.0163 กรัม รองลงมาคือ ทองกวาว (Butea monosperma (Lam.) Kuntze) มีค่าเท่ากับ 0.7651 กรัม และมะขามแขก (Cathormion umbellatum (Vahl) Kosterm.) มีค่าเท่ากับ 0.3086 กรัม ตามลำดับ เมล็ดที่มีความกว้างและความยาวเฉลี่ย (W:L) มากที่สุด คือ ทองกวาว มีค่าเท่ากับ 2.11:3.04 เซนติเมตร รองลงมาคือ ถั่วพร้า มีค่าเท่ากับ 1.04:1.86 เซนติเมตร และมะขามแขก มีค่าเท่ากับ 0.86:1.04 เซนติเมตร ตามลำดับ จำแนกเมล็ดออกเป็น 2 ประเภท คือ เมล็ดประเภทออร์โธดอกซ์ จำนวน 39 ชนิด และเมล็ดประเภทรีแคลซิแทรนท์ จำนวน 2 ชนิด โดยพืชที่มีเปอร์เซ็นต์การงอกเฉลี่ยมากที่สุดคือ ทองกวาว มีค่าเท่ากับ 89.33% รองลงมาคือ ถ่อน (Albizia procera (Roxb.) Benth.) มีค่าเท่ากับ 46.67% และสะแกนา (Combretum quadrangulare Kurz) มีค่าเท่ากับ 42.00% ตามลำดับ ส่วนพืชมีเปอร์เซ็นต์การงอกเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ หว้านา (Syzygium borneense (Miq.) Miq.) เทียนนา (Ludwigia hyssopifolia (G. Don) Exell) ผักไผ่น้ำ (Persicaria pulchra Soják) และหมาว้อ (Lepisanthes senegalensis (Poir.) Leenh.) มีค่าเท่ากับ 0.00%
References
ก่องกานดา ชยามฤต. (2550). ลักษณะประจำวงศ์พรรณไม้. กรุงเทพฯ: สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้พันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.
ก่องกานดา ชยามฤต. (2550). ลักษณะประจำวงศ์พรรณไม้ 2. กรุงเทพฯ: สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้พันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.
ณัฐกมล นาเจริญ, สุกัลยา หวังรวมกลาง และเทียมหทัย ชูพันธ์. (2563). กายวิภาคศาสตร์เปรียบเทียบของพืช 15 ชนิดในพื้นที่ดินเค็ม ตำบลบัลลังก์ อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา ใน รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการระดับชาติด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ครั้งที่ 2 (หน้า 87-93). เลย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
เทียมหทัย ชูพันธ์. (2564). พรรณไม้ในพื้นที่ดินเค็มบริเวณอ่างเก็บน้ำลำเชียงไกร จังหวัดนครราชสีมา ใน รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการระดับชาติด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ครั้งที่ 3 (หน้า 212-220). เลย:
มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
เทียมหทัย ชูพันธ์. (2564). พรรณไม้ในป่าบุ่งป่าทามโคราช. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
เทียมหทัย ชูพันธ์. (2566). ความหลากชนิดของพรรณพืชในป่าชุมชนบ้านโนนเจดีย์-ดอนตะหนินน้อย อำเภอโนนไทย-ด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา ใน การประชุมวิชาการเครือข่ายวิจัยนิเวศวิทยาป่าไม้ประเทศไทย ครั้งที่ 12 (หน้า 371-380). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ปัญญา ไวยบุญญา, บุญธิดา ม่วงศรีเมืองดี, ประภัสสร ยอดสง่า และปนัดดา ลาภเกิน. (2561). ลักษณะทางกายภาพของเมล็ด ประเภทการเก็บรักษาเมล็ด และการเพาะขยายพันธุ์ไม้พื้นเมืองบริเวณป่าริมคลองพระปรง อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว. วารสารวนศาสตร์, 37(1), 31-45.
มานพ ผู้พัฒน์, ปรีชา การะเกตุ, ขวัญใจ คำมงคล และศรันย์ จิระกร. (2561). ป่าบุ่งป่าทาม ภาคอีสาน. กรุงเทพฯ:
สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.
สำนักงานหอพรรณไม้. (2557). ข้อมูลชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันทน์ พ.ศ. 2557 แก้ไขเพิ่มเติมและภาพประกอบ. ค้นจาก https://www.dnp.go.th/botany/mplant/index.html
Baskin, C. C. and Baskin, J. M. (2014). Seeds: Ecology, Biogeography, and Evolution of Dormancy and Germination. San Diego: Academic/Elsevier.
Daws, M. I., Garwood, N. C. and Pritchard, H. W. (2006). Prediction of desiccation sensitivity in seeds of woody species: a probabilistic model based on two seed traits and 104 species. Annals of Botany, 97(4), 667-674.
Forest Herbarium. (2021). e-Flora of Thailand. Retrieved from https://www.dnp.go.th/botany/eflora/index.html
Gunes, F. (2012). Seed morphology and their systematic importance of Lathyrus taxa belonging to Platystylis (=Lathyrostylis) section (Fabaceae) from Turkey. African Journal of Agricultural Research, 7(2), 265-277.
Hong, T. D. and Ellis, R. H. (1996). A protocol to determine seed storage behaviour: IPGRI Technical Bulletin No.1. Rome: International Plant Genetic Resources Institute.
International Union for Conservation of Nature and Natural Resources (IUCN). (2023). The IUCN Red List of Threatened Species. Version 2022-2. Retrieved from https://www.iucnredlist.org/
Silvertown, J. (1999). Seed ecology, dormancy, and germination: A modern synthesis from Baskin and Baskin. American Journal of Botany, 86(6), 903-905.
Schmidt, L. (2007). Tropical Forest Seed. Berlin Heidelberg: Springer-Verlag.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 Loei Rajabhat University
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์