การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคลังสินค้าแบบลีน กรณีศึกษาโรงงานผลิตเม็ดพลาสติก
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการเบิก-จ่ายสินค้าคงคลังฝั่งโลจิสติกส์ขาออก ในส่วนคลังสินค้าของโรงงานผลิตเม็ดพลาสติกที่เป็นกรณีศึกษา โดยเริ่มทำการศึกษาและวิเคราะห์กระบวนการเบิก-จ่ายใบเบิก A มีการประยุกต์ใช้การศึกษาเวลา แผนภูมิกระบวนการไหล และแผนภาพการไหล รวมถึงการวิเคราะห์ปัญหาจากการระดมสมอง ได้สรุปประเด็นปัญหาออกเป็น 2 ประเด็นคือ 1) ไม่มีตำแหน่งการจัดเก็บสินค้าคงคลังที่ชัดเจนทำให้เกิดความสูญเปล่าในการเบิก-จ่ายสินค้าคงคลัง แนวทางในการแก้ไขคือ จัดลำดับความสำคัญของสินค้าคงคลังด้วยการวิเคราะห์แบบเอบีซี เพื่อลดเวลาในการเบิก-จ่าย โดยการจัดพื้นที่จัดเก็บสินค้าคงคลังในคลังสินค้าใหม่ 2) ไม่มีป้ายระบุรายชื่อสินค้า ทำให้เกิดความสูญเปล่าในการค้นหาสินค้าคงคลังในคลังสินค้า แนวทางในการแก้ไขคือใช้เครื่องมือควบคุมด้วยสายตา โดยทำป้ายระบุรายชื่อสินค้าคงคลัง ผลการวิจัยการลดความสูญเปล่าของกระบวนการเบิก-จ่ายใบเบิก A ก่อนและหลังการปรับปรุง พบว่า
ก่อนการปรับปรุงใช้เวลาในการเบิก-จ่ายใบเบิก A เท่ากับ 2,085.21 วินาที ใช้ระยะทาง 425 เมตร หลังการปรับปรุงใช้เวลาในการเบิก-จ่ายเท่ากับ 1,484.77 วินาที ใช้ระยะทาง 165 เมตร จึงสรุปได้ว่า เวลาที่ใช้ในการเบิก-จ่ายใบเบิก A ใช้เวลาลดลง 600.44 วินาที ซึ่งคิดเป็น 28.80% ในส่วนของระยะเวลาลดลง 260 เมตร คิดเป็น 61.18%
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความภายในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารทั้งหมด รวมถึงรูปภาพประกอบ ตาราง เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ การนำเนื้อหา ข้อความหรือข้อคิดเห็น รูปภาพ ตาราง ของบทความไปจัดพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสารอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
มหาวิทยาลัยฯ อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยต้องแสดงที่มาจากวารสารและไม่ใช้เพื่อการค้า
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และบุคลากร คณาจารย์ท่านอื่น ๆ ในมหาวิทยาลัยฯแต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการ
References
สุรธันย์ ปาละพรพิสุทธิ์. (2560). Lean Manufacturing 4.0. กรุงเทพฯ: ไอ พี อาร์ ไอ.
เกียรติขจร โฆมานะสิน. (2550). LEAN: วิถีแห่งการสร้างคุณค่าสู่องค์กรที่เป็นเลิศ. กรุงเทพฯ: สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ.
Lonnie Wilson. (2015). How To Implement Lean Manufacturing. McGraw-Hill Professional
Paul A. Myerson. (2015). Supply Chain and Logistics Management Made Easy: Methods and Applications for Planning, Operations, Integration, Control and Improvement, and Network Design. Pearson FT Press.
กิตติวัฒน์ สิริเกษมสุข. (2565). การศึกษาการทำงานอุตสาหกรรมเพื่อการผลิตแบบลีน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รัชต์วรรณ กาญจนปัญญาคม. (2562). การศึกษางานอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ท้อป.
วันชัย ริจิรวนิช (2555). การศึกษาการทำงาน: หลักการและกรณีศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมศักดิ์ ตรีสัตย์. (2562). การออกแบบและวางผังโรงงาน. กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).
Michael L. George, John Maxey, John Maxey and John Maxey. (2004). The Lean Six Sigma Pocket Toolbook: A Quick Reference Guide to 100 Tools for Improving Quality and Speed. McGraw-Hill Professional