การสร้างเสริมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงบ้านโคกศิริ ตำบลชุมพร อำเภอเมยวดี จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • ฉัตรลดา ดีพร้อม คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์

คำสำคัญ:

คำสำคัญ: การสร้างเสริมสุขภาพ / กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง Quasi – Experimental Research วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงบ้านโคกศิริ ตำบลชุมพร อำเภอเมยวดี จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 26 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและแบบติดตามพฤติกรรม แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงมีค่า KR20 เท่ากับ 0.70 การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคความดันโลหิตสูง พฤติกรรมการป้องกันตนเองตามหลัก 4อ. 3ส. มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.70, 0.75 , 0.71 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา และทดสอบทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยความรู้ ทัศนคติ การรับรู้โอกาสเสี่ยง และพฤติกรรมการป้องกันตนเองตามหลัก 4อ. 3ส. ก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรมโดยใช้สถิติ Pair Sample T-Test ผลการศึกษาพบว่าหลังเข้าร่วมโปรแกรมการส่ง เสริมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง มีคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ 0.01 มีคะแนนเฉลี่ยทัศนคติเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ 0.01 มีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ 0.01 คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันโรคตามหลัก 4อ. 3ส. เพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ 0.01  และค่าความดันโลหิตตัวบน (SBP) ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ 0.01 และมีค่าความดันโลหิตตัวล่าง (DBP) เพิ่มขึ้น อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ 0.01  ข้อเสนอแนะ การเข้าร่วมโปรแกรมทำให้กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงสามารถลดค่าระดับความดันโลหิตลงได้ แต่ต้องปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง จึงควรจัดโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพอย่างต่อเนื่องให้ผู้ที่ประสบความสำเร็จในรุ่นที่ 1 เป็นผู้ริเริ่มในการขยายผลต่อไปยังกลุ่มเสี่ยงรุ่นต่อไป เพื่อทำให้เกิดความตระหนักถึงผลกระทบหากต้องป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง

References

เอกสารอ้างอิง
กระทรวงสาธารณสุข. (2561). แนวทางการดำเนินงานเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานและความดัน
โลหิตสูงในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. กรุงเทพฯ
นงนุช จันทร์ศรี. (2556).ผลของการใช้โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง
ของบุคลากรโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์. วารสารสาธารณสุขสัมมนา
ประเจษฎ์ เรืองกาญจนเศรษฐ์. (2555).Hypertension. ในบัญชาสถิระพจน์และคนอื่นๆ.Essential
Nephrology
ประหยัด ช่อไม้ และอารยา ปรานประวิตร. (2558).ผลของโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพในการปรับเปลี่ยน
พฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขาดิน
อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่
ภัทรภรณ์ เมฆศรี.(2555).ผลของโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการออกกำลังกาย เพื่อลดค่าความดันโลหิต
ของบุคลากรกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลบ้านบึง จังหวัดชลบุรี
รำไพ นอกตาจั่น.(2559). ผลของโปรแกรมการประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคต่อพฤติกรรมการ
ป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของประชาชนกลุ่มเสี่ยง. วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรี
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกสี. (2562).การตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
ประจำปี พ.ศ.2560. ร้อยเอ็ด
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด. (2562). สสจ.ร้อยเอ็ด เน้นการวิจัยด้านพฤติกรรมสุขภาพหวังแก้ปัญหา
สาธารณสุข
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด.(2562). อสม.ร้อยเอ็ด ต้นแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดเสี่ยงลดโรค
ด้วย 4อ. 3ส
สำนักโรคไม่ติดต่อ. (2557). ประเด็นสารรณรงค์วัดความดันโลหิตสูงโลก
สำนักโรคไม่ติดต่อ. (2558)คู่มือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในคลินิก NCD คุณภาพ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุม
สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด
Best John W. (1977). Research in Education. 3rd ed. Englewood Cliffs. New Jerswy : Prentice
Hall, Inc.

เผยแพร่แล้ว

2023-03-13