การพัฒนาโปรแกรมบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ เพื่อใช้ในการแลกเปลี่ยนซื้อขายพันธุ์ปลา
คำสำคัญ:
อุปกรณ์เคลื่อนที่, การแลกเปลี่ยนซื้อขาย, พันธุ์ปลาบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้นำเสนอการพัฒนาโปรแกรมบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ เพื่อใช้ในการแลกเปลี่ยนซื้อขายพันธุ์ปลา โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์และออกแบบพัฒนาโปรแกรมบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ 2) เพื่อนำเทคโนโลยีที่ผ่านการพัฒนาโปรแกรมอุปกรณ์เคลื่อนที่ไปใช้ประโยชน์ในการเลือกดูพันธุ์ปลา การดูข้อมูล และรายละเอียดของพันธุ์ปลาได้ เนื่องจากในปัจจุบันเทคโนโลยีที่ใช้ผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ได้เข้ามามีบทบาทในหลากหลายแง่มุม เช่น การซื้อขาย การติดต่อสื่อสาร การนำเสนอข้อมูล ผู้วิจัยจึงได้ทำการพัฒนาโปรแกรมบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ เพื่อใช้ในการแลกเปลี่ยนซื้อขายพันธุ์ปลา เพื่อเป็นการขยายโอกาสในการเข้าถึงตลาด เพิ่มช่องทางการจัดจำหน่าย สร้างการรับรู้ข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว และลดระยะเวลาการนำสินค้าเข้าสู่ตลาด ในการบริหารจัดการข้อมูลการแลกเปลี่ยนซื้อขายพันธุ์ปลาได้ออกแบบและพัฒนาโปรแกรมโดยใช้ Firebase ในด้านการจัดการข้อมูลแบบเรียลไทม์ และใช้ Ionic Framework สำหรับการออกแบบส่วนติดต่อประสานกับผู้ใช้ เพื่อนำเสนอข้อมูลปลา ข้อมูลฟาร์ม สถานที่เพาะเลี้ยง และข้อมูลที่จำเป็นในการติดต่อซื้อขาย ส่วนของการประเมินความสามารถของโปรแกรมที่ออกแบบและพัฒนาได้ทำการทดสอบโปรแกรมบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ด้วยวิธีการทดสอบแบบกล่องดำ Black Box Testing โดยให้ผู้ใช้งานได้ทำการทดสอบใช้โปรแกรมพร้อมทั้งตอบแบบสอบถามเพื่อนำมาประเมินหาความพึงพอใจของโปรแกรมที่ได้พัฒนาขึ้น จากผลการประเมินความพึงพอใจในด้านต่าง ๆ ของโปรแกรมโดยรวม สรุปได้ว่าการพัฒนาโปรแกรมบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ตอบสนองต่อผู้ใช้งานอยู่ในเกณฑ์ระดับดี การประเมินโปรแกรมพบว่าผลการทดสอบในภาพรวมของการใช้งานโปรแกรมมีความถูกต้องและสมบูรณ์ครบถ้วน
References
เกวลิน หนูฤทธิ์. (2563). สถานการณ์การผลิตและการค้าปลานิลและผลิตภัณฑ์ในช่วง 3 เดือนแรก ปี 2563 กลุ่มเศรษฐกิจ
การประมงกองนโยบายและยุทธศาสตร์พัฒนาการประมง. สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2564, จาก
https://www4.fisheries.go.th/local/pic_activities/202005190832332_pic.pd
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2560). สถิติสำหรับงานวิจัย. กรุงเทพฯ:ธรรมสาร.
ชุมศักดิ์ สีบุญเรือง. (2560). การพัฒนาแอปพลิเคชันต้นแบบเพื่อขายสินค้าบนสมาร์ททีวีระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์.
J Sci Technol MSU, 2560, 61-66.
ณรงค์ โพธิ์พฤษานันท์. (2557). ระเบียบวิธีการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: วิธีวิจัย สำนักพิมพ์ : EXPERNET.
ดารชาต์ เทียมเมือง. (2558). การศึกษาระบบตลาดการค้าสัตว์น้ำในตลาดท้องถิ่น พื้นที่จังหวัดเชียงใหม่. คณะเทคโนโลยี
การประมงและทรัพยากรทางน้ำ เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
นิลวัฒน์ นิลสุวรรณ. (2560). การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนโทรศัพท์เคลื่อนที่ในการคํานวณสูตรปุ๋ยที่เหมาะสม
สำหรับสวนยางพารา. วารสารยางพารา ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ , 33-37.
บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2555). ระเบียบวิธีการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: ยูแอนด์ไอ อินเตอร์ มีเดีย จำกัด.
บัณฑิตพงษ์ ศรีอำนวย และคณะ. (2562). การออกแบบระบบสมาร์ทฟาร์มโดยใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง
สำหรับมะนาว จังหวัดเพชรบุรี. การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาลัยนครราชสีมา ครั้งที่ 6, 2562, 808-816.
ประภาวดี รัฐเมือง และ ทิพวิมล ชมภูคำ. (2560). การพัฒนาระบบซื้อ-ขายสินค้ามือสองออนไลน์. การประชุมวิชาการ
ระดับชาติการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 3, 1-6.
ฝ่ายตำราวิชาการคอมพิวเตอร์. (2558). โปรแกรมสารสนเทศเพื่อการจัดการ. ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ยิริน จาง และ วสันต์ กันอ่ำ. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกซื้อสินค้าออนไลน์ของลูกค้าชาวไทย. Humanities and Social Science Research Promotion Network Journal, 2563(3), 16-28.
อติกานต์ วิชิต. (2559). การพัฒนาศักยภาพของชาวประมงพื้นบ้าน ในเขตเทศบาลตำบลพุมเรียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี.
Veridian E-Journal Silpakorn University, 2559 (2), 2452-2467.
เอกนรินทร์ คำคูณ. (2562). สร้าง Mobile App ด้วย Ionic framework. สืบค้นเมื่อ 19 กรกฎาคม 2563,
จาก https://drive.google.com/drive/folders/0B9Tt-ZheNgKaT3Y1eUpGZXFKVTA
โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. (2560). โปรแกรมสารสนเทศเพื่อการจัดการ (ฉบับปรับปรุงเพิ่มเติม). ซีเอ็ดยูเคชั่น.
อัคคพล วิศิษฎ์ชัยนนท์. (2558). โครงการพัฒนาระบบซื้อขายสินค้าการเกษตรออนไลน์ โดยใช้เทคโนโลยีระบุตำแหน่ง
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
AndroidDev. (2563). Android Studio. สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2563, จาก https://developer.android.com/studio
Android Studio Code. (2563). Android Studio Code. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2563, จาก https://code.visualstudio.com/
Angular. (2563). Angular. สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2563, จาก https://angular.io/
Ionic Framework. (2563). ความรู้เกี่ยวกับไอโอนิคเฟรมเวิร์ค. สืบค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2563, จาก https://ionicframework.com/
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว