การพัฒนาเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจแนวตะวันออก-ตะวันตกกับกระบวนการวางแผนแบบรวมพลัง

ผู้แต่ง

  • ขวัญชนก อำภา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • วันชาติ ชาญวิจิตร คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

เส้นทางระเบียงเศรษฐกิจ แนวตะวันออก-ตะวันตก, การวางแผนแบบรวมพลัง, ความร่วมมืออนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง, ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

บทคัดย่อ

บทความชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอที่มาและความสำคัญของการพัฒนาเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจ แนวตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor: EWEC) แนวทางการดำเนินงานพัฒนาเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจฯ ที่มีอยู่ในปัจจุบัน และเสนอแนะแนวทางการใช้กระบวนการวางแผนแบบรวมพลังเพื่อการพัฒนาด้านเศรษฐกิจในพื้นที่ดังกล่าว เพื่อหาเหตุผลสนับสนุนว่าการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจบริเวณเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจฯ สามารถใช้กระบวนการวางแผนแบบรวมพลังเพื่อช่วยให้การพัฒนาในเส้นทางบริเวณดังกล่าว โดยเฉพาะเส้นทางการพัฒนาในประเทศไทย ให้ประสบผลสำเร็จและลดปัญหาความขัดแย้งระหว่างกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียในพื้นที่โครงการพัฒนาได้อย่างไร จากการทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการวิเคราะห์พบว่า เส้นทางระเบียงเศรษฐกิจแนวตะวันออก-ตะวันตก เป็นเส้นทางที่มีความสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจที่มาจากความร่วมมือของกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Subregion: GMS) เพื่อส่งเสริมให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจ การพัฒนาเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจฯ ในปัจจุบัน โดยเฉพาะในประเทศไทย ได้มีการพัฒนาเส้นทางคมนาคม การพัฒนาการค้าการลงทุน โดยเฉพาะบริเวณเขตชายแดนซึ่งจะทำให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจมากยิ่งขึ้น ในขณะที่ภาครัฐ มีแผนการดำเนินงานต่างๆ แต่ยังพบว่าขาดการวางแผนเพื่อการพัฒนาแบบร่วมมือกันทุกภาคส่วนโดยเฉพาะอย่างยิ่งการวางแผนร่วมกับคนในชุมชนผู้ที่อยู่ในพื้นที่ดังกล่าวที่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนา ซึ่งเรียกว่าการวางแผนแบบรวมพลัง (Collaborative Planning) โดยจะทำให้เกิดผลประโยชน์และสามารถขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ เป็นการส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนเพื่อการพัฒนาเมืองโดยเฉพาะในระดับท้องถิ่นได้

References

กรมโยธาธิการและผังเมือง. (2551). ผังประเทศไทย พ.ศ. 2600. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กาญจนา แก้วเทพและสมสุข หินวิมาน. (2553). สายธารแห่งนักคิดทฤษฎีเศรษฐศาสตร์และการเมือง. กรุงเทพมหานคร :

สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปริณภา จิตราภัณฑ์และ ภาคภูมิ ตีระนันทน์. (2560). ส่องเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจ (แนวตะวันออก – ตะวันตก) ไทย

ได้ประโยชน์จริงหรือ. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ สาขาเศรษฐศาสตร์ “อนาคตประเทศไทย

ด้านเศรษฐกิจ รอดหรือซึมยาว” 13 ธันวาคม 2560 : คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พิทยา สุวคันธ์, กนกวรรณ อู่ทองทรัพย์, ศิวริน เลิศภูษิต และทัชชกร บัวล้อม.(2559). ผลกระทบการเปิดเขตเศรษฐกิจพิเศษ

แม่สอด (ไทย)– เขตเศรษฐกิจพิเศษเมียวดี (เมียนมา) ภายใต้กรอบประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. วารสารรัฐศาสตร์

และรัฐประศาสนศาสตร์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม- ธันวาคม 2559): 30 – 44.

แมน ปุโรทกานนท์,ประเสริฐ แรงกล้าและสิรภพ สุวรรณเกสร (2550). สร้างเสริมกลไกท้องถิ่นเพื่อจัดการผลกระทบที่เกิดขึ้น

จากการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor) จังหวัดมุกดาหาร:

รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์.กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

วณิชชา จิตธรรมมา.(2556). เส้นทางระเบียงเศรษฐกิจแนวตะวันออก-ตะวันตก (EWEC) : การพัฒนาที่ไม่สม่ำเสมอผ่าน

ทัศนะของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย. วารสารวิถีสังคมมนุษย์. ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม – ธันวาคม 2556.

วรวุฒิ จำลองนาค และทวีศักดิ์ ตั้งปฐมวงศ์. (2557). ผลจากการพัฒนาเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก

ต่อการจัดการพื้นที่การค้าชายแดนจังหวัดมุกดาหาร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. การประชุม

วิชาการ มหาสารคามวิจัย ครั้งที่ 10.

สุทธิเกตติ์ ทัดพิทักษ์กุล. (2555). โอกาสพัฒนาโลจิสติกส์ไทยใน AEC. วารสารส่งเสริมการลงทุน. ปีที่ 23 ฉบับที่ 8 สิงหาคม 2555

โสภารัตน์ จารุสมบัติ, กรกช ศิริโชค, พัชราภา ตันตราจิน, ชุลีพร นุชหมอน (2549). การศึกษาเบื้องต้นเพื่อพัฒนาข้อเสนอ

โครงการเรื่อง การพัฒนาระเบียงตะวันออก-ตะวันตก (E-WEC) และการเปิดสะพานข้ามแม่น้ำโขงระหว่าง

สะหวันนะเขต-มุกดาหาร : การศึกษาเพื่อเตรียมวางระบบการบริหารจัดการพื้นที่ชายแดนด้านสภาพแวดล้อม

ทางธรรมชาติตามยุทธศาสตร์การเปิดประตูสู่อินโดจีน-เมืองการค้าและการท่องเที่ยวจังหวัดมุกดาหาร :

รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554) การพัฒนาแนวพื้นที่พัฒนาเศรษฐกิจ (Economic

Corridors Development) http://www.nesdb.go.th/ewt_dl_link.php?nid=5136. (23 ตุลาคม 2560)

สำนักยุทธศาสตร์และการวางแผนพัฒนาพื้นที่ (2559). การสนับสนุนการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย : รายงานการประชุม.

กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

อรทัย ก๊กผล. (2552). คู่คิด คู่มือ การมีส่วนร่วมของประชาชนสำหรับผู้บริหารท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า.

Asian Development Bank (ADB). (2008). “Greater Mekong Subregion Development Matrix.” Available at ADB Website, http://adb.org/GMS/ Projects/devematrix.asp. (25 October 2017).

Fiher, R. & Ury, W. (1991). Getting to yes: Negotiating agreement without giving in.New York, NY: Penguin Books.

Gunton, T. I., Day, J.C. & Williams, P.W. (2003). Evaluating collaborative planning: The British Columbia experience. Environments.

McGee, G. J. A. (2006). Evaluating collaborative planning: A case study of the north coast land and resource management plan. MRM Report 399. Burnaby, BC: Simon Fraser University, School of Resource and Environmental.

Innes, J. E. (2004). Consensus building: Clarifications for the critics. Planning Theory, 3(1), 5-20.

Ishida, M. (2007). Evaluating the Effectiveness of GMS Economic Corridors: Why is There More Focus on the Bangkok-Hanoi Road than the East-West Corridor?. IDE Discussion Papers No.123 (October 2007). Chiba: Institute of developing Economies, Japan.

Ishida, M. (2009). Special Economic Zones and Economic Corridors. ERIA Discussion Paper Series No.016 (June 2009). Chiba: Institute Of developing Economies, Japan.

Neil Harris. (2002). ‘Collaborative planning: from theoretical foundations to practice forms’. Planning Futures: New Directions for Planning Theory. London : Routledge.

Patsy Healey. (2008). Collaborative Planning: Shaping Places in Fragmented Societies. 2nd edn.New York: Palgrave Macmillan. John F.

Forester. (1989). Planning in the Face of Power. The Berkeley Planning,Journal : the University of California. Scott Campbell and Susan S.

Fainstein. (1996). The Structure and Debates of Planning Theory. Readings in Planning Theory. Cambridge, MA: Blackwell.

Wondolleck, J.M., & Yaffee, S. L. (2000). Making collaboration work: Lessons from innovation in natural resource management. Washington, D.C.: Island Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-10

How to Cite

อำภา ข., & ชาญวิจิตร ว. . (2021). การพัฒนาเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจแนวตะวันออก-ตะวันตกกับกระบวนการวางแผนแบบรวมพลัง . วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด: วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2(1), 1–14. สืบค้น จาก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/ScienceRERU/article/view/244329