การศึกษาอาการไม่พึงประสงค์และผลการให้ความรู้การป้องกันอันตรายจากสิ่งคุกคามต่อสุขภาพในการทำงานของผู้ประกอบอาชีพโรงหล่อพระ อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด
คำสำคัญ:
อาการไม่พึงประสงค์, สิ่งคุกคามสุขภาพ, โรงหล่อพระบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi–experimental research) เพื่อศึกษาอาการไม่พึงประสงค์และผลการให้ความรู้การป้องกันอันตรายจากภัยคุกคามต่อสุขภาพในการทำงานของผู้ประกอบอาชีพในโรงหล่อพระ จำนวน 40 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม แบบวัดความรู้ในกลุ่มตัวอย่าง โดยนำเสนอข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยความรู้ด้วยสถิติ Paired Sample T–test วิเคราะห์จากโปรแกรม Stata พบว่า อาการไม่พึงประสงค์
จากการสัมผัสภัยคุกคามต่อสุขภาพมากที่สุด คือ อาการปวดศีรษะ วิงเวียนศีรษะ จำนวน 11 คน (ร้อยละ 27.50) ซึ่งเป็นอาการจากการรับสัมผัสสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย (VOCs) และรองลงมาเป็นอาการคัน ผื่นแดงตามร่างกาย แสบหรือคันตา น้ำตาไหลและตาแดง จำนวน 10 คน (ร้อยละ 25.00) จากการสัมผัสฝุ่นแคลเซียมคาร์บอเนต ไม่พบอาการไม่พึงประสงค์หรือโรคความผิดปกติของระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ หลังเข้าร่วมโปรแกรมผู้ประกอบอาชีพในโรงหล่อพระ มีค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้ด้านการป้องกันอันตรายจากการสัมผัสสภาพแวดล้อมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.01) ข้อเสนอแนะจากผลการศึกษา ผู้ประกอบการโรงหล่อพระและหน่วยงานบริการด้านสาธารณสุข ควรมีมาตรการในการป้องกัน เฝ้าระวัง
ด้านสุขภาพ เช่น การตรวจวัดปริมาณความเข้มข้นของสารเคมี อบรมให้ความรู้ บังคับสวมใส่หน้ากากป้องกันฝุ่น PM10 เพื่อป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวของกลุ่มดังกล่าว
References
กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม. (2564). พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม. 109 ตอนที่ 44. หน้า 64-67. สืบค้น 5 สิงหาคม 2564, จาก https://www.diw.go.th/webdiw/law-fac-type/
บริษัท เซนต์โกเบน เวเบอร์ จำกัด. (2562). เอกสารข้อมูลความปลอดภัยของเรซิ่น. สืบค้น 10 สิงหาคม 2564, จาก https://www.th.weber/th/about-weber
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย. (2564). อันตรายจากการสัมผัสไอระเหยของไซลีน, เอ็ม-โทลิไลดีนไดไอโซไซยาเนต, แคลเซียมคาร์บอเนต. สืบค้น 5 สิงหาคม 2564, จาก https://hsm.chula.ac.th/
สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. (2564). ความรู้เรื่องโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. สืบค้น 5 สิงหาคม 2564, จาก http://envocc.ddc.moph.go.th
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด. (2564). สถิติโรคระบบทางเดินหายใจและสถิติโรคระบบผิวหนังในระดับจังหวัด,สถิติปัญหาโรคระบบทางเดินหายใจ และสถิติโรคระบบผิวหนังในระดับอำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด จากข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด.
อุมากร ธงสันเทียะ, ธวัชชัย ดาเชิงเขา, สุนิสา ชายเกลี้ยง. (2564). การประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการสัมผัสสสารบีเทค (BTEX) ของพนักงานบริการน้ำมันเชื้อเพลิง. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา. 2564; 16(1): 134-146
บริษัท เมอร์ค เคจีเอเอา จำกัด (2549). เอกสารข้อมูลความปลอดภัยของแคลเซียมคาร์บอนเนต. สืบค้น 5 สิงหาคม 2564, จาก http://www.merckgroup.com
ศิริอุมา เจาะจิตต์, ปนัดดา พิบูลย์, น้ำเพชร หมื่นราช และอโณทัย เกื้อกูล. (2562). การประเมินความเสี่ยงในการรับสัมผัสฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมโครเมตร ระหว่างชุมชนที่อยู่ใกล้และไกล โรงโม่หิน จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี; 27(2): 336-348
สุภาณี จันทร์ศิริ, สมเจตน์ ทองคำ, วิศวะ มาลากรรณ, และ พรไพลิน บุณณะ. (2560). ปริมาณสารอินทรีย์ระเหยง่าย (VOCs) ในบริเวณทำงานและสภาวะสุขภาพของพนักงานในสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง : กรณีศึกษา เทศบาลนครอุบลราชธานี อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 36(4): 510-516
สุนิสา ชายเกลี้ยง, พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ, & วิภารัตน์ โพธิ์ขี. (2558). รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ปัจจัยเสี่ยง ความเสี่ยงทางการยศาสตร์และความชุกของการปวดหลังของพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์. ขอนแก่น: มหาลัยขอนแก่น.
รัชนี นันทนุช, สุนิสา ชายเกลี้ยง (2556). ความเสี่ยงด้านสุขภาพต่อการได้รับอันตรายจากการสัมผัสน้ำมันเชื้อเพลิงของพนักงานสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงในเขตเทศบาลนครขอนแก่น : การศึกษานำร่อง. ศรีนครินทร์เวชสาร; 28(4): 506-515
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว