การทดสอบประสิทธิภาพเครื่องกะเทาะเปลือกถั่วลิสง
คำสำคัญ:
ถั่วลิสง, การกะเทาะเปลือก, เครื่องกะเทาะเปลือกถั่วลิสงบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและพัฒนาเครื่องกะเทาะเปลือกถั่วลิสง เพื่อช่วยลดระยะเวลาในการกะเทาะเปลือกถั่วลิสง เพิ่มกำลังผลิตในกระบวนการแปรรูปถั่วลิสงระดับอุตสาหกรรมในครัวเรือน และเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานในภาคเกษตรกรรม เครื่องกะเทาะเปลือกถั่วลิสงขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า 1 เฟส 220 โวลต์ ขนาด 3 แรงม้า ประกอบด้วย ชุดแกนวงล้อไม้กะเทาะเปลือก, ชุดฮอปเปอร์ใส่ถั่วลิสง, ชุดตะแกรงกะเทาะ มี 3 ขนาด คือ 2x10, 1.5x10 และ 1x10 เซนติเมตร, ชุดพัดลมทำความสะอาด และชุดตะแกรงคัดแยกสามารถคัดแยกได้ 3 ระดับ คือ เมล็ดเต็ม, เมล็ดลีบ และเมล็ดที่ไม่กะเทาะ ระบบส่งกำลังด้วยสายพานไปยังเพลาชุดกะเทาะเปลือก ชุดพัดลมทำความสะอาดและชุดตะแกรงคัดแยกได้ การทดสอบหาสมรรถนะการทำงานของเครื่องต้นแบบโดยใช้ตัวอย่างถั่วลิสงพันธุ์ไทนาน 9 เป็นตัวอย่างในการทดสอบ ทำการทดสอบเปรียบเทียบระหว่างการกะเทาะด้วยเครื่องกะเทาะเปลือกและใช้แรงงานคน โดยทำการทดสอบซ้ำ 3 ครั้งๆละ 5 กิโลกรัม ผลการทดสอบพบว่า การกะเทาะได้ถั่วลิสงเมล็ดเต็มคิดเป็น ร้อยละ 70.26 เมล็ดลีบคิดเป็นร้อยละ 12.06 และเปลือกร้อยละ 17.68 และร้อยละเมล็ดสมบูรณ์ 95.25% ใช้เวลาในการกะเทาะเฉลี่ยที่ 2 นาที 17 วินาที เครื่องต้นแบบมีความสามารถในการกะเทาะเปลือกฝักถั่วลิสง 131.40 กิโลกรัม/ชั่วโมง ส่วนการกะเทาะด้วยแรงงานคน ผลการกะเทาะได้ถั่วลิสงเมล็ดเต็ม คิดเป็นร้อยละ 71.54 เมล็ดลีบคิดเป็นร้อยละ 10.95 และเปลือกร้อยละ 17.51 และร้อยละเมล็ดสมบูรณ์ 98.50% ใช้เวลาในการกะเทาะเฉลี่ยที่ 91 นาที แรงงานคนมีความสามารถในการกะเทาะเปลือกฝักถั่วลิสง 3.33 กิโลกรัม/ชั่วโมง อย่างไรก็ตามความเร็วในการกะเทาะด้วยแรงงานคนนั้นขึ้นอยู่กับความชำนาญของแรงงานแต่ละคน ดังนั้นการใช้เครื่องกะเทาะเปลือกถั่วลิสงช่วยลดระยะเวลาในการกะเทาะเปลือกถั่วลิสงได้ ช่วยเพิ่มกำลังผลิตในกระบวนการแปรรูปถั่วลิสง
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว