การประเมินกิจกรรมการต้านแบคทีเรียต่อเชื้อ Acinetobacter baumannii จากต้นพริกฝรั่งที่สกัดด้วยเอทานอลและเมทานอล
กิจกรรมการต้านแบคทีเรียต่อเชื้อ Acinetobacter baumannii จากสารสกักต้นพริกฝรั่ง
คำสำคัญ:
Acinetobacter baumannii, กิจกรรมการต้านแบคทีเรีย, ต้นพริกฝรั่งบทคัดย่อ
ปัญหาการดื้อต่อยาปฏิชีวนะของแบคทีเรียก่อโรคได้มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นส่งผลให้ต้องใช้ยาหลายชนิดในการรักษา ดังนั้นการศึกษาหาแหล่งของสารปฏิชีวนะแหล่งใหม่จึงมีความสำคัญ การศึกษาครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อประเมินกิจกรรม การต้านเชื้อแบคทีเรียก่อโรคจากต้นพริกฝรั่งที่สกัดด้วยเอทานอลและเมทานอลต่อเชื้อ Acinetobacter baumannii นำส่วนลำต้นของต้นพริกฝรั่งมาอบแห้ง สกัดด้วยเอทานอลและเมทานอล ทำการทดสอบกิจกรรมการต้านเชื้อแบคทีเรียเบื้องต้นด้วยวิธี agar disc diffusion หาค่า MIC และ MBC ด้วยเทคนิค Broth microdilution ผลการศึกษาพบว่าต้นพริกฝรั่งที่สกัดด้วยเอทานอลมีบริเวณของการยับยั้งกว้างที่สุดเท่ากับ 10 มิลลิเมตร ส่วนค่า MIC พบว่าต้นพริกฝรั่งที่สกัดด้วยเมทานอลมีค่า MIC ต่ำสุดเท่ากับ 1.56 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร และค่า MBC จากต้นพริกฝรั่งที่สกัดด้วยเมทานอลและเอทานอลมีค่า MBC ต่ำสุดเท่ากับ 12.5 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร การศึกษาครั้งนี้เป็นรายงานครั้งแรกที่แสดงให้เห็นถึงกิจกรรมการต้านเชื้อ A. baumannii จากสารสกัดจากต้นพริกฝรั่งซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนายาปฏิชีวนะต่อเชื้อ A. baumannii ได้
References
ชาญกิจ พุฒิเลอพงศ์, วรางคณา ชวนะสิทธิ์, วัลภา เลาหะวลีสันติ์, วิกานดา รุ่งแสงและ พวงเพ็ญ ฤทธีวีรกูล. (2554). การใช้ยาต้านจุลชีพรักษาโรคปอดอักเสบในโรงพยาบาลจากการติดเชื้อ Acinetobacter baumannii ดื้อยาหลายขนาน ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์. วารสารไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ, 6(1):32-38.
วิจิตราภรณ์ อ่อนราษฎร์ และกฤษฎา ศิริชัยสิทธิ์. (2565). การระบาดของ Acinetobacter baumannii ที่ดื้อยาหลายกลุ่มใน โรงพยาบาลบึงกาฬในช่วง ปี พ.ศ. 2559-2562. วารสารวิชาการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ, 18(1): 31-38
วันวิสาข์ ขนานแข็ง และ พีรยา ศรีผ่อง. (2561). แบบแผนและผลลัพธ์ทางคลินิกจากการใช้ยาต้านจุลชีพรักษาผู้ป่วยปอดอักเสบในโรงพยาบาลที่ติดเชื้อดื้อยา Acinetobacter baumannii. วารสารเภสัชกรรมไทย, 11(3):470-482.
สำนักงานหอพันธุ์ไม้
Ajaib, M., Zikrea, A., Khan, K. M., Perveen, S., Shah, S., and Karim, A. (2013). Rivina humilis L.: A Potential Antimicrobial and Antioxidant Source. J. Chem. Soc. Pak, 35(5), 1384-1398.
Boongapim, R., Ponyaim, D., Phiwthong, T., & Rattanasuk, S. (2021). In vitro Antibacterial Activity of Capparis sepiaria L. Against Human Pathogenic Bacteria. Asian Journal of Plant Sciences, 20, 102-108.
Intorasoot, A., Chornchoem, P., Sookkhee, S., and Intorasoot, S. (2017). Bactericidal activity of herbal volatile oil extracts against multidrug-resistant Acinetobacter baumannii. Journal of intercultural ethnopharmacology, 6(2), 218.
Kuo, L.-C., Lai, C.-C., Liao, C.-H., Hsu, C.-K., Chang, Y.-L., Chang, C.-Y., and Hsueh, P.-R. (2007). Multidrug-resistant Acinetobacter baumannii bacteraemia: clinical features, antimicrobial therapy and outcome. Clinical microbiology and infection, 13(2), 196-198.
Morombaye, S. M., Kangogo, M., Revathi, G., Nyerere, A., and Ochora, J. (2018). Evaluation of the antimicrobial effect of Nepeta cataria and Basella alba against clinically resistant Acinetobacter baumannii in Nairobi, Kenya. Advances in Microbiology, 8(10), 790-803.
Puttilerpong, C., Chawanasit, W., Laohawaleesan, W., Rungsang, W., and Ritteeveraku, P. (2011). Antimicrobial use in hospital-acquired pneumonia with multidrug-resistant Acinetobacter baumannii at King Chulalongkorn Memorial Hospital. Thai Pharm Health Sci J, 6(6), 32-38.
Saelao S. and Utiswannakul A. (2008). Therapy for patient with multidrug-resistant Acinetobacter baumannii. Journal of Health Research, 22: 131-6.
Rattanasuk, S., Kajangjai, J., Sonsena, N., and Junsongduang, A. (2021). In vitro antipathogenic bacterial and antioxidant activity of Thunbergia laurifolia Lindl. leaves extract. Journal of Roi Et Rajabhat University: Science and Technology, 2(2), 8-12.
Rattanasuk, S., and Phiwthong, T. (2021). A New Potential Source of Anti-pathogenic Bacterial Substances from Zamioculcas zamiifolia (Lodd.) Engl. Extracts. Pakistan Journal of Biological Sciences: PJBS, 24(2), 235-240.
Rattanasuk, S., Boongapim, R., & Phiwthong, T. (2021). Antibacterial activity of Cathormion umbellatum. Bangladesh Journal of Pharmacology, 16(3), 91-95.
Rattanasuk, S., Boongapim, R., Phiwthong, T., Phuangsriken, S. and Putthanachote, N. (2021). Antibacterial Profile of Cissus quadrangularis Extracts Against Antibiotic-Resistant Bacteria Isolated from Roi Et Hospital. International Journal of Pharmacology, 17(2), 97-102.
Wisplinghoff, H., Bischoff, T., Tallent, S. M., Seifert, H., Wenzel, R. P., and Edmond, M. B. (2004). Nosocomial bloodstream infections in US hospitals: analysis of 24,179 cases from a prospective nationwide surveillance study. Journal of Clinical Infectious Diseases, 39(3):309-317.
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว