การจัดการด้านความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการตามมาตรฐาน ESPReL: กรณีศึกษา ห้องปฏิบัติการเคมีขั้นสูง 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • มนชวัน วังกุลางกูร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • อรุณรัตน์ อุทัยคู คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • สมสุข ไตรศุภกิตติ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

คำสำคัญ:

การจัดการความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ, ห้องปฏิบัติการเคมีชั้นสูง 2, มาตรฐาน ESPReL

บทคัดย่อ

ความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการเป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินงานของผู้ปฏิบัติการ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้กำหนดแนวทางการจัดการความปลอดภัยตามมาตรฐาน ESPReL (Enhancement of Safety Practice of Research Laboratory) ซึ่งประกอบไปด้วย 7 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) การบริหารระบบการจัดการความปลอดภัย 2) ระบบการจัดการสารเคมี 3) ระบบการจัดการของเสีย 4) ลักษณะทางกายภาพของห้องปฏิบัติการ อุปกรณ์ และเครื่องมือ 5) ระบบป้องกันและแก้ไขภัยอันตราย 6) การให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ และ 7) การจัดการข้อมูลและเอกสาร งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับห้องปฏิบัติการเคมีขั้นสูง 2 ศูนย์วิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ให้เป็นห้องปฏิบัติการที่มีความปลอดภัยตามมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการวิจัยในประเทศไทย โดยผ่านกระบวนการตรวจประเมินจากคณะกรรมการ ผลการประเมินพบว่า ห้องปฏิบัติการมีการพัฒนาในบางองค์ประกอบ โดยในปี พ.ศ. 2564 และ พ.ศ. 2566 ผลการประเมินรวมทั้ง 7 องค์ประกอบมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 62.15 และ 60.41 ตามลำดับ โดยทั้งสองปีมีคะแนนสูงสุดร้อยละ 81.73 ในองค์ประกอบที่ 2 คือ ระบบการจัดการสารเคมี และคะแนนต่ำสุดร้อยละ 22.22 ในองค์ประกอบที่ 6 เกี่ยวกับการให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการเช่นกัน

References

American Chemical Society. (2019). The American Chemical Society’s Committee on Chemical Safety: Identifying and evaluating hazards in research laboratories. https://www.acs.org/content/dam/acsorg/about/governance/committees/chemicalsafety/publications/identifying-and-evaluating-hazards-in-research-laboratories.pdf

Chulalongkorn University Center of Excellence in Environmental and Hazardous Waste Management. (2012). Laboratory Safety Guidelines.

Petsungnern, J., Liphun, S., Anothaiaungrat, S., & Piyamongkala, K. (2016). Hazard Identification in Laboratory Chemistry: Case Study of Laboratory Industrial Chemistry. Suan Dusit University Research Journal, 9(1), 21-33. https://www.thaiscience.info/Journals/Article/SDUJ/10984833.pdf

Recycle Engineering Co., Ltd. (2016). Laboratory Waste Management Manual. https://www.recycleengineering.com/wp-content/uploads/2020/02/lab-waste-management-guidelines.pdf

Sattayadit, S., & Saenpho, N. (2013). Biohazardous and Chemical Waste Management in Veterinary Science Research Laboratory, the Faculty of Veterinary Science, Mahidol University. Journal of Safety and Health, 6(23), 15-23. https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JSH/article/view/163790

Shrivastava, S.K. (2017). Safety procedures in science laboratory. International Journal of Engineering & Scientific Research, 5, 53-64. https://www.researchgate.net/publication/318054299_SAFETY_PROCEDURES_IN_SCIENCE_LABORATORY

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-01-31 — Updated on 2025-02-25

Versions

How to Cite

วังกุลางกูร ม. ., อุทัยคู อ. ., & ไตรศุภกิตติ ส. . (2025). การจัดการด้านความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการตามมาตรฐาน ESPReL: กรณีศึกษา ห้องปฏิบัติการเคมีขั้นสูง 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด: วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 6(1), 10–23. สืบค้น จาก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/ScienceRERU/article/view/256970 (Original work published 31 มกราคม 2025)