ผลกระทบจากเขื่อนลำโดมใหญ่ต่อการเกิดน้ำท่วมในพื้นที่โดยรอบ

Main Article Content

องอาจ แสนอุบล
ทวีศักดิ์ วังไพศาล

บทคัดย่อ

ลุ่มน้ำลำโดมใหญ่เป็นลุ่มน้ำสาขาของลุ่มน้ำมูล ด้วยสภาพภูมิประเทศของลุ่มน้ำที่เป็นแอ่งบริเวณท้ายน้ำติดกับแม่น้ำมูล จึงเป็นพื้นที่ที่ถูกน้ำท่วมทุกปี งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาและวิเคราะห์อุทกภัยที่เกิดขึ้นในแม่น้ำลำโดมใหญ่บริเวณเหนือและท้ายเขื่อนลำโดมใหญ่ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณตอนท้ายของลุ่มน้ำ วัตถุประสงค์การศึกษาครั้งนี้คือศึกษาพฤติกรรมการเคลื่อนตัวของน้ำหลากจากน้ำท่วม กรณีศึกษามีเขื่อนและไม่มีเขื่อนลำโดมใหญ่ ในปีที่เกิดน้ำท่วมประวัติการณ์ พ.ศ. 2556 โดยใช้แบบจำลองคณิตศาสตร์ MIKE11 มาประยุกต์ใช้ ผลการศึกษาพบว่า กรณีที่ไม่มีเขื่อนลำโดมใหญ่จะมีระดับน้ำสูงสุดอยู่ที่ 115.20 ม.รทก. เท่ากันกับในกรณีที่มีเขื่อนลำโดมใหญ่ โดยระดับน้ำจะสูงกว่าตลิ่ง (+112.00 ม.รทก.) ประมาณ 3.20 เมตร โดยปริมาณน้ำที่ล้นตลิ่งจะท่วมแผ่พื้นที่ จนถึงระดับ +115.20 ม.รทก. แสดงให้เห็นว่ากรณีมีเขื่อนและไม่มีเขื่อนลำโดมใหญ่ ไม่มีผลกระทบต่อระดับน้ำท่วมและพื้นที่น้ำท่วมโดยรอบ

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

[1] บทเรียนไร่ใต้ อุบลฯ ท่วมในรอบร้อยปี เหตุน้ำมากเต็ม พื้นที่ คนถมทางน้ำ ตัดไม้ทำลายป่า. [ออนไลน์]. ได้จาก
https://guideubon.com/news/view.php?t=149&s_id=169&d_id=169 [สืบค้นเมื่อ วันที่ 27 กันยายน 2560].
[2] กฤษณ์ ศรีวรมาศ และฤกษ์ชัย ศรีวรมาศ. (2548). การทดสอบความน่าเชื่อถือของแบบจำลองทาง ชลศาสตร์สำหรับการทำนายระดับน้ำและอัตราการไหล กรณีศึกษาลำน้ำมูลบริเวณอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี, ใน การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 10 พัทยา.
[3] เชวงศักดิ์ ฤทธิรอด. (2547). การศึกษาสภาพน้ำท่วมและมาตรการบรรเทาอุทกภัยในลุ่มน้ำลำตะโขงโดยการประยุกต์ใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ MIKE 11. วิทยานิพนธ์ วิศวกรรมทรัพยากรน้ำมหาบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
[4] ศุภกรณ์ สังข์สกุล. (2550). แนวทางลดระดับน้ำหลากในลำน้ำบริเวณเหนือฝายลำเซบาย. วิทยานิพนธ์ วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต. อุบลราชธานี : มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
[5] เมธัส ใจปินตา. (2556). การศึกษาแนวทางการป้องกันน้ำท่วมของจังหวัดอุบลราชธานีในพื้นที่ลุ่มน้ำมูลตอนล่าง. วิทยานิพนธ์ วิศวกรรมทรัพยากรน้ำมหาบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
[6] วีระชัย ชูพิศาลยโรจน์. (2530). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างน้ำฝน-น้ำท่า ในลุ่มน้ำป่าสักโดยวิธีแบบ
ลำลองถัง .วิทยานิพนธ์ วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[7] Danish Hydraulic Institute. (1992). MIKE11 Reference Manual. Horsholm. p. 469.
[8] Chang Chun Kiat. (2004). Effect of 100-year Flood on River Stability in Kunlim River. Research of River Engineering and Urban Drainage Research Centure (REDAC). Malaysia.
[9] Chow Ven Te. (1998). Applied Hydrology. New York : MeGraw-Hill Book.
[10] ภานุพงศ์ เทพสมบัติ และปรัชญาพล ไท้ทอง. (2550). การเปลี่ยนแปลงค่าสัมประสิทธิ์ความขรุขระต่อระดับน้ำ โดยการจำลองสภาพทางชลศาสตร์ด้วยแบบจำลอง Info Works RS. โครงงานวิศวกรรมโยธา วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต. อุบลราชธานี : มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
[11] Aronica G. (2002). A Regional Methodology for Deriving Flood Frequency Curve (FFC) in Partially Gauged Catchments with Uncertain Knowledge of Soil Moisture Conditions. Dipartimento di Costruzionie Tecnologie Avanzate. Universita di Messina : Italy.