การวิเคราะห์ปัจจัยสำหรับการสาวไหมจากอุปกรณ์สาวไหมกึ่งอัตโนมัติที่ใช้ระบบส่งกำลังจากมอเตอร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิเคราะห์ปัจจัยสำหรับการสาวไหมจากอุปกรณ์สาวไหมกึ่งอัตโนมัติที่ใช้ระบบส่งกำลังจากมอเตอร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาอุปกรณ์สาวไหม และศึกษาตัวแปรที่เหมาะสมสำหรับการสาวไหม จากการวิเคราะห์ปัญหาพบว่า การสาวไหมด้วยอุปกรณ์สาวไหมแบบมือหมุน ทำให้เกิดความเร็วรอบที่ต่างกัน ส่งผลให้ขนาดเส้นไหมไม่สม่ำเสมอและเกิดข้อบกพร่องของเส้นไหม ทำให้คุณภาพของเส้นไหมต่ำ ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นการปรับปรุงวิธีการทำงาน โดยอาศัยหลักการศึกษางานในการแก้ไขปรับปรุงกระบวนการสาวไหม ซึ่งคณะผู้วิจัยได้พัฒนาอุปกรณ์ สาวไหมให้มีความเร็วรอบในการหมุนอักสาวที่สม่ำเสมอ โดยใช้มอเตอร์ปัดน้ำฝน แรงดันไฟฟ้า 12 โวลต์ ทดสอบประสิทธิภาพของอุปกรณ์สาวไหม ที่ความเร็วรอบ 80 90 และ 100 รอบต่อนาที โดยใช้รังไหมพันธุ์เหลืองไพโรจน์ จำนวน 70 80 และ 90 รัง ให้ได้คะแนนการแบ่งชั้นคุณภาพเส้นไหม ตามเกณฑ์การยอมรับข้อบกพร่องให้มากกว่า 80 คะแนน และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานขนาดเส้นไหมอยู่ในเกรด C ถึง 2A เป็นดัชนีชี้วัดคุณภาพเส้นไหม ผลการทดสอบตัวแปรที่เหมาะสมสำหรับการสาวไหมของอุปกรณ์สาวไหม พบว่า ความเร็วรอบ 100 รอบต่อนาที และจำนวนรังไหม 80 รัง ให้ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของขนาดเส้นไหม เท่ากับ 10.51 ดีเนียร์ และมีคะแนนข้อบกพร่องของเส้นไหม เท่ากับ 98.95 คะแนน ซึ่งผลการทดสอบอยู่ในช่วงของดัชนีชี้วัดคุณภาพเส้นไหม
Article Details
References
[2] สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (2556). AEC ต้องรู้เขา…รู้เรา. เข้าถึงได้จาก: http://www.sme.go.th/Lists/EditorInput/DispF.aspx?List=15dca7fb-bf2e-464e-97e5-44032104057 0&ID=1802 [เข้าถึงเมื่อ 01/04/2557]
[3] จิตติวัฒน์ นิธิกาญจนธาร. การออกแบบและสร้างเครื่องตีเกลียวไหมเส้นด้าย. วารสารวิชาการ วิศวกรรมศาสตร์
ม.อบ. 2558; 8(2): 116–123.
[4] ประไพ ทองเชิญ. นี้คือ..ผ้าทอพื้นบ้าน. เชียงใหม่:วนิดาการพิมพ์; 2548. หน้า 91–114.
[5] Nithikarnjanatharn J, Rithinyo M. Development of the yarn sorting equipment (khonhook) by slide way. In: International Symposium on the Fusion Technologies (ISFT2013). Jeonju; 2014: 142 (MI46).
[6] ชูชาติ พะยอม. การสร้างและหาประสิทธิภาพเครื่องสาวไหมแบบกึ่งอัตโนมัติ. วารสารวิชาการคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. 2555; 5(2); 77–88.
[7] ส่งรักษ์ เต็งรัตนประเสริฐ. เครื่องสาวไหมยูบี3. งานประดิษฐ์สถาบันหม่อนไหมแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ(สมมช.) สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์. กรุงเทพมหานคร; 2550.
[8] ธีระชัย อิฐรัตน์. การออกแบบและสร้างเครื่อง ตีเกลียวไหม. ปริญญานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน. นครราชสีมา; 2548.