อิทธิพลของดัชนีความพร้อมด้านเทคโนโลยีต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์สำหรับธุรกิจ SMEs
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพร้อมด้านเทคโนโลยีของลูกค้าธุรกิจ SMEs ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ผ่านช่องทางออนไลน์ โดยประยุกต์ใช้ดัชนีความพร้อมด้านเทคโนโลยี (Technology Readiness Index: TRI) ข้อมูลเชิงประจักษ์ที่ได้จากการเก็บแบบสอบถามด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย จำนวน 410 คน จากลูกค้าที่เคยซื้อผลิตภัณฑ์ในเขตพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม และในพื้นที่ใกล้เคียง จะนำมาวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory factor analysis) เพื่อจัดกลุ่มและหาความสอดคล้องของข้อมูล โดยพิจารณานัยสำคัญทางสถิติระดับ 0.1 ผลการศึกษาพบว่า โมเดลองค์ประกอบเชิงยืนยันมีความเหมาะสม ที่ค่าพารามิเตอร์ CMIN-ρ=0.471, CMIN/df=1.004, GFI=0.961, และ RMSEA=0.003 ส่วนผลของการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) พบว่า ตัวแปรการมองโลกในแง่ดีที่เกี่ยวกับเทคโนโลยี (Optimism) และ ความมีนวัตกรรม (Innovativeness) ส่งผลเชิงบวก ส่วนตัวแปรความรู้สึกไม่ปลอดภัยในการใช้เทคโนโลยี (Insecurity) ส่งผลเชิงลบต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ผ่านช่องทางออนไลน์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีค่า r2 เท่ากับ 0.314 ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงสรุปได้ว่า ลูกค้าในธุรกิจ SMEs นี้มีความพร้อมในการสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ผ่านช่องทางออนไลน์ เนื่องจากมีมุมมองที่เป็นบวกเกี่ยวกับด้านเทคโนโลยี แต่อย่างไรก็ตามถ้าลูกค้ามีความกังวลใจเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำธุรกรรมการเงินก็จะทำให้การปรับเปลี่ยนวิธีการสั่งซื้อมาเป็นผ่านช่องทางออนไลน์ได้ยากขึ้น
Article Details
References
ชลธิศ ดาราวงษ์. การเพิ่มสมรรถนะการดูดซึมความรู้ให้กับทีมพัฒนาผลิตภัณฑ์สำหรับ SMEs ไทย. วารสารบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร. 2558; 10(1): 4-14.
เศรษฐภูมิ เถาชารี, ณัฏภัทรศญา เศรษฐโชติสมบัติ. การทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับการวิเคราะห์และลดต้นทุนโลจิสติกส์ของอุตสาหกรรม SMEs ในประเทศไทย. วารสารวิชาการ วิศวกรรมศาสตร์ ม.อบ. 2558; 8(2): 124-135.
จันทวรรณ สุจริตกุล. แหล่งทุน SMEs เพื่อยกระดับการแข่งขันไทย. The National Defence College of Thailand Journal. 2558; 57(1): 35-52.
ชนมภัทร โตระสะ, วิทยา เมฆขำ, ณิชานันทน์ เสริมศรี, ตรีวศิน แฝงเมือง, สุรพงศ์ อินทรภักดิ์ และชนัญชิดา ยุกติรัตน์ (2560). การสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP ยกระดับสู่ SMEs เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันโดยพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) ก้าวสู่ประชาคมอาเซียน. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. 2560. หน้า 25-32.
Sutanonpaiboon J, Ann MP. E-Commerce Adoption: Perceptions of Managers/Owners of Small- and Medium-Sized Enterprises (SMEs) in Thailand. Journal of Internet Commerce. 2006; 5(3): 53-82.
อารีย์ มยังพงษ์. รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะไอซีทีสำหรับบุคลากรในธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาศราชนครินทร์. 2558; 7(3): 97-106.
ธัญมาศ ทองมูลเล็ก, ปรีชา วิจิตรธรรมรส. การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับและการใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ในสังคมไทย. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม. 2560; 5(2): 114-124.
สมใจ สืบเสาะ, ปรัชญนันท์ นิลสุข. E-Commerce : การประยุกต์ใช้เพื่อการศึกษา. วารสารวิทยบริการ. 2553; 21(3): 38-45.
Parasuraman A. Technology Readiness Index (TRI) A Multiple-Item Scale to Measure Readiness to Embrace New Technologies. Journal of Service Research. 2000;2(4): 307-320.
Napitupulu D, Syafrullah M, Rahim R, Abdullah D, Setiawan MI. Analysis of user readiness toward ICT usage at small medium enterprise in south tangerang. Journal of Physics. 2018; 1007(12042): 1-6. Available from: doi: 10.1088/1742-6596/1007/1/012042 [Accessed 25th August 2020].
Liljander V, Gillberg F, Johanna G, Riel AV. Technology readiness and the evaluation and adoption of self-service technologies. Journal of Retailing and Consumer Services. 2006; 13(3): 177-191.
นูรียา เหล็มปาน. ความตั้งใจในการใช้งานแอพวางแผนการเงินส่วนบุคคล ผลกระทบของความพร้อม ด้านเทคโนโลยี ปัจจัยด้านการยอมรับเทคโนโลยี และอิทธิพลทางสังคม. วารสารสารสนเทศด้านธุรกิจ (JISB). 2559; 2(3): 25-39.
Chen SC, Jong D, Lai MT. Assessing the relationship between technology readiness and continuance intention in an E-appointment system: relationship quality as a mediator. J Med Syst. 2014; 38(76): 1-12. Available from: doi: 10.1007/s10916-014-0076-3 [Accessed 8th November 2020].
Hair JF, Black WC, Babin BJ, Anderson RE. Multivariate Data Analysis. 7th Edition. New Jersey; 2010.
Teo T, Schaik VP. Understanding Technology Acceptance in Pre-Service Teachers: A Structural-Equation Modeling Approach. The Asia-Pacific Education Researcher. 2009; 18(1): 47-66.
Essmui H. the Impact of Business Environment on Firm's Growth. International Journal of Economic and Finance. 2014; 14(8): 10-22.
Arbuckle JL. IBM SPSS Amos 22 User's Guide. 2013: 137-144. Available from: https://pdf4pro.com/view/ibm-spss-amos-22-user-s-guide-university-of-sussex-198d8e.html [Accessed 30th September 2020]
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. นนทบุรี: บริษัท เอสอาร์พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์ จำกัด; 2560.
พอเจตน์ สันทราย, พนิตาสุรชัยกุลวัฒนา. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับการใช้งานเทคโนโลยีในการนำระบบ Intelligent Audit System มาประยุกต์ใช้เพื่อช่วยลดกระบวนการในการทำงานของธนาคาร. การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษาระดับชาติ. 2562; 14(1): 1825-1835.
วรินทร์ทิพย์ กำลังแพทย์. การตลาดออนไลน์กับผู้บริโภคยุค XYZ. วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร. 2559; 1(2): 1-17.
Persulessy G, Silaya MA. The readiness to adopt information technology on small and medium enterprises of shell and pearl handicraft in maluku province. Journal of critical reviews. 2020; 7(8): 2388-2394.