Analysis and design of activities, infrastructures and facilities for developing fishery product distribution center in Northern Thailand
Main Article Content
Abstract
ศูนย์กระจายสินค้าประมงถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญต่อระบบโลจิสติกส์สำหรับสินค้าประมง แต่อย่างไรก็ตามระบบโลจิสติกส์ในปัจจุบันของสินค้าประมงสำหรับการเชื่อมโยงระหว่างภาคเหนือของประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านยังคงไม่มีประสิทธิภาพที่เพียงพอมากนักอันส่งผลต่อต้นทุนและความซับซ้อนของการขนส่ง ดังนั้นงานวิจัยชิ้นนี้จึงมีเป้าหมายที่จะนำเสนอแนวคิดที่จะทำการพัฒนาศูนย์กระจายสินค้าเพิ่มเติมในภาคเหนือของประเทศไทยเพื่อทำการแก้ไขปัญหาดังกล่าวที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะการวิเคราะห์และการออกแบบ กิจกรรม โครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการพัฒนาศูนย์กระจายสินค้าประมงในภาคเหนือประเทศไทย โดยลำดับแรกข้อมูลเชิงปฐมภูมิและทุติยภูมิจะถูกทำการศึกษาสำหรับกิจกรรม โครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกที่มีความจำเป็นต่อการสร้างศูนย์กระจายสินค้าประมง จากนั้นเทคนิคแผนผังความสัมพันธ์ของกิจกรรม แผนผังการแบ่งเขตพื้นที่ใช้สอยและแผนภูมิฟองสบู่จะถูกใช้ในการออกแบบศูนย์กระจายสินค้าประมงเบื้องต้น จากการออกแบบที่นำเสนอของศูนย์กระจายสินค้าประมง พบว่าศูนย์กระจายสินค้าประมงนี้สามารถที่จะรองรับปริมาณของสินค้าประมงได้ถึง 640 ตันต่อวันในพื้นที่การดำเนินงานและ 320 ตันต่อวันในพื้นที่จุดแลกเปลี่ยนสินค้า ในขณะที่ต้นทุนประมาณการลงทุนของศูนย์กระจายสินค้าแห่งนี้อยู่ที่ 146,660,000 บาท งานวิจัยชิ้นนี้จะมีประโยชน์อย่างสูงที่จะพิจารณาการวางผังและออกแบบเบื้องต้นสำหรับศูนย์กระจายสินค้าประมงในอนาคต
Article Details
References
[2] สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ. ข้อมูลการบริโภคอาหารของประเทศไทย. เข้าถึงได้จาก: https://www.fisheries.go.th [เข้าถึงเมื่อ 1 ม.ค. 2563].
[3] Janekitkosol W, Somchanakij H, Eiamsa-ard M, Supongpan M. Strategic review of the fishery situation in Thailand. World Fish: 2003. 9. 915–956.
[4] สุจินดา เจียมศรีพงษ์, Determinant of Capability Competition on Border Trade between Thai-Burma in Measot Thailand. วารสารบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร, 2553; 5(1): 1-22.
[5] Demirtaş N, Tuzkaya UR. Strategic Planning of Layout of the Distribution Center: an Approach for Fruits and Vegetables Hall. Procedia - Social and Behavioral Sciences. 2012; 58: 159-68.
[6] ชวิศ บุญมี, ชมพูนุท เกษมเศรษฐ์. การประยุกต์ใช้เทคนิคการหาค่าดีที่สุดสำหรับการกระจายสินค้า กรณีศึกษาโรงงานผลิตผลไม้กระป๋อง. วรสารไทยการวิจัยดำเนินงาน. 2557; 2(2): p. 1-10.
[7] คมกฤต เล็กสกุล. การออกแบบและวางผังโรงงานเชิงวิเคราะห์. ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2563.
[8] United Nation. Logistics Sector Developments; Planning Models for Enterprises and Logistics Clusters, available from: http://www.nmit.edu.my [Accessed 31th Jan 2020].
[9] Hossain MR, Rasel MK, Talapatra S. Increasing productivity through facility layout improvement using systematic layout planning pattern theory. Global Journal of Research In Engineering. 2015.
[10] Ravi V, Shankar R. Reverse logistics operations in paper industry: a case study. Journal of Advances in Management Research. 2006; 3(11): p. 88-94.
[11] Boonmee C, Kasemset C, Pichayapan P, Thovichit P, Panichakarn B. A Conceptual Design of Infrastructures and Facilities in Distribution Center for Frozen and Chilled Fishery Products, paper presented in 2019 IEEE International Conference on Industrial Engineering and Engineering Management (IEEM), Macau.
[12] ศรีสัจจา วิทยศักดิ์, การศึกษาศักยภาพเชิงพื้นที่และการเลือกตำแหน่งที่ตั้งศูนย์ กระจายสินค้าประมงเชื่อมโยงภาคเหนือตอนล่างกับประเทศเพื่อนบ้าน: โครงการการศึกษาระบบโลจิสติกส์และศูนย์กระจายสินค้าประมงเชื่อมโยง ภาคเหนือตอนล่างกับประเทศเพื่อนบ้าน, สนับสนุนทุนวิจัยโดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.), 2563.
[13] SEAFDEC. เข้าถึงได้จาก: https://1th.me/32Bm [เข้าถึงเมื่อ 3 ก.พ. 2563].