ระบบสนับสนุนการบริหารสินค้าคงคลังสำหรับธุรกิจขายสินค้าตกแต่งบ้าน
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้นำเสนอนโยบายการบริหารสินค้าคงคลังสำหรับธุรกิจขายสินค้าตกแต่งบ้านของบริษัทกรณีศึกษา ซึ่งมีการขายผ่านทางหน้าร้านสาขาต่างๆที่มีรูปแบบการขายที่แตกต่างกัน และสินค้าตกแต่งบ้านมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวเนื่องจากผลิตมาจากหินอ่อนธรรมชาติทั้งหมดและมีความต้องการที่ไม่แน่นอน จึงทำให้มีการนำไปวางจำหน่ายที่หน้าร้านสาขาจำนวนมากเพื่อไม่ให้เกิดการสูญเสียโอกาสในการขาย ซึ่งส่งผลให้มีปริมาณการจัดเก็บเป็นจำนวนมากเกินไป ดังนั้น งานวิจัยนี้จึงได้นำเสนอวิธีการเพื่อกำหนดนโยบายคงคลังสำหรับบริหารสินค้าคงคลังของบริษัทกรณีศึกษาอย่างเป็นระบบ ผลลัพธ์จากการกำหนดนโยบายคงคลังในงานวิจัยนี้ได้นำเสนอนโยบายคงคลังแบบจำลองระดับคงคลังเป้าหมาย (Order-up-to Level Model: OUL) ที่มีการกำหนดรอบคาบ(T) หรือระยะเวลาการสั่งเติมสินค้าที่แน่นอน คือ 2 และ 4 สัปดาห์ โดยสั่งเติมปริมาณสินค้าเท่ากับ Q* ด้วยระดับการให้บริการ 99.90% และมีเวลานำที่คงที่ คือ 1 สัปดาห์ โดยคำนึงถึงข้อจำกัดและรูปแบบการขายที่แตกต่างกันของแต่ละสาขารวมไปถึงความไม่แน่นอนของปริมาณความต้องการสินค้า การทดสอบนโยบายคงคลังได้ใช้วิธีการจำลองสถานการณ์โดยเปรียบเทียบกับปริมาณความต้องการของสินค้าที่เกิดขึ้นจริงในปัจจุบันช่วงเดือนมกราคมจนถึงเดือนเมษายน ปี พ.ศ.2564 ซึ่งผลลัพธ์แสดงให้เห็นว่าสามารถลดระดับสินค้าคงคลังเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 50% และระดับการให้บริการของสินค้าคงคลังเป็นไปตามเป้าหมายที่ 99.90%
Article Details
References
วิทยา มานชู. การศึกษาการประยุกต์ใช้เทคนิคการจำลอง สถานการณ์แบบมอนติคาร์โลเพื่อหาปริมาณการสั่งซื้อที่เหมาะสม กรณีศึกษาการจัดซื้อไม้ยางพาราในอุตสาหกรรมผลิตพาเลท. วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, กรุงเทพฯ. 2554.
จตุพล เหมือนศรีชัย. การศึกษาการจัดการวัตถุดิบคงคลังประเภทเหล็กขึ้นรูปชิ้นส่วนรถยนต์ของโรงงานตัวอย่างในอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ ที่ความต้องการของลูกค้าและช่วงเวลานำมีความไม่แน่นอนด้วยวิธีแบบจำลองมอนติคาร์โล, สารนิพนธ์ มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, กรุงเทพฯ. 2551.
วัลลภ ภูผา. การประยุกต์ใช้เทคนิคการจำลองสถานการณ์แบบมอนติคาร์โล เพื่อหาปริมาณการสั่งซื้อที่เหมาะสม, วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, กรุงเทพฯ. 2557.
อารยะ ปัญญาเสิรฐ. การกำหนดนโยบายคงคลังของสินค้ากึ่งสำเร็จรูปในกระบวนการผลิตสีน้ำมัน. วิศวกรรมสารฉบับวิจัยและพัฒนา. 2560; 30(4): 159-174
กสิณ รังสิกรรพุม. การวิเคราะห์รูปแบบการวางแผนผังตลาดสดด้วยเทคนิคมอนติคาร์โล. วารสารวิศวกรรมสาร มก. 2562; 32(108): 71-82
วลัยลักษณ์ อัตธีรวงศ์ , ธิดาพร พลนน , ภัทริยา เศียรอุ่น และ อักษราภัค ละม้ายพันธ์. การบริหารจัดการสินค้าคงคลังของวัสดุสิ้นเปลืองกรณีศึกษาโรงงานผลิตอาหารแปรรูป. วารสารสถิติประบุกต์และเทคโนโลยีสารสนเทศ. 2562 ปีที่4 ฉบับที่2
Chiang C. Order splitting under periodic review inventory systems. International Journal of Production Economics. 2001;(70): 67-76.
Garcia-Herreros P, et al. Optimizing inventory policies in process networks under uncertainty. Computers & Chemical Engineering. 2016; (92): 256-272.
Kiesmuller GP. et al. Single item inventory control under periodic review and a minimum order quantity. International Journal of Production Economics. 2011;(133): 280-285
Krever M. et al. Inventory control based on advanced probability theory. European Journal of Operational Research. 2005; 162 (2):342- 358.
Lee YH. et al. Supply chain simulation with discrete–continuous combined modeling. Computers & Industrial Engineering. 2002; 43 (1): 375-392.
Maddah B, and Noueihed N. EOQ holds under stochastic demand, a technical note. Applied Mathematical Modelling. 2017; 4(5): 205-208.