ผลกระทบด้านการจราจรบริเวณพื้นที่ก่อสร้าง กรณีศึกษา ทางหลวงหมายเลข 402 ตอน หมากปรก-เมืองภูเก็ต
Main Article Content
บทคัดย่อ
การก่อสร้าง บูรณะ และบำรุงรักษาถนน มีความจำเป็นที่จะต้องปิดพื้นที่การจราจรบางส่วนเพื่อใช้เป็นพื้นที่ในการก่อสร้าง กองเก็บวัสดุ และจัดเตรียมเครื่องจักร ซึ่งการปิดพื้นที่ดังกล่าว มักจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อการจราจรโดยรอบโครงการ ซึ่งทำให้การเคลื่อนตัวของกระแสจราจรช้าลง การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการศึกษาผลกระทบด้านการจราจรบริเวณพื้นที่ก่อสร้าง ที่มีการประยุกต์ใช้มาตรฐานของกรมทางหลวงในการจัดการจราจร และพัฒนาแบบจำลองสภาพการจราจรระดับจุลภาค บนพื้นที่ศึกษาถนนทางหลวงหมายเลข 402 ตอน หมากปรก-เมืองภูเก็ต กิโลเมตรที่ 41+140 ถึง 42+220 โดยพิจารณาจากเวลาในการเดินทางและความล่าช้าในการเดินทางของยานพาหนะที่เคลื่อนที่จากพื้นที่เตือนล่วงหน้า ไปจนถึงพื้นที่สิ้นสุดการก่อสร้าง ผลการศึกษาพบว่า การจัดการจราจรบริเวณพื้นที่ก่อสร้างโดยใช้มาตรฐานของกรมทางหลวง โดยมีระยะสอบเข้า (taper) 20 เมตร ทำให้ยานพาหนะใช้เวลาในการเดินทางเฉลี่ย 302.62 วินาที เกิดความล่าช้าในการเดินทางเฉลี่ย 92.30 วินาทีต่อคัน มีระดับการให้บริการอยู่ในระดับ F และเมื่อมีการปรับระยะสอบเข้าเพิ่มเป็น 30, 40, 50, 60, 70, 80, 90, 100, 110, 120, 130, 140 และ 150 เมตร พบว่า ที่ระยะสอบเข้า 90 เมตร ยานพาหนะใช้เวลาในการเดินทางเฉลี่ย 286.58 วินาที และเกิดความล่าช้าในการเดินทางเฉลี่ย 75.29 วินาทีต่อคัน ซึ่งมีความเหมาะสมที่สุดในการจัดการจราจร โดยสามารถลดเวลาในการเดินทางเฉลี่ยลงได้ร้อยละ 5 และลดความล่าช้าในการเดินทางเฉลี่ยลงได้ร้อยละ 18 เมื่อเทียบกับระยะสอบเข้าเดิมที่ 20 เมตร และมีระดับการให้บริการอยู่ในระดับ E อีกทั้งยังรบกวนพื้นที่การจราจรน้อยกว่าระยะสอบเข้าที่ 100, 110, 120, 130, 140 และ 150 เมตร โดยให้ประสิทธิภาพด้านการเคลื่อนตัวของการจราจรที่ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งผลที่ได้รับจากการศึกษานี้จะสามารถนำไปเป็นแนวทางในการจัดการการจราจรของบริเวณพื้นที่ก่อสร้างที่มีลักษณะใกล้เคียงกันในบริเวณพื้นที่อื่น ๆ ต่อไปได้
Article Details
References
กรมการขนส่งทางบก. แผนยุทธศาสตร์กรมการขนส่งทางบก พ.ศ.๒๕๕๙-๒๕๖๒. กรุงเทพมหานคร: กรมการขนส่งทางบก; 2560.
อภิชัย ศรอินทร์. การประเมินประสิทธิผลอุปกรณ์ ควบคุมการจราจร บริเวณพื้นที่ก่อสร้างบนทางหลวง. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมขนส่ง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, นครราชสีมา, 2550.
กรมทางหลวง. คู่มือเครื่องหมายควบคุมการจราจรใน งานก่อสร้าง งานบูรณะ และงานบำรุงรักษาทางหลวงแผ่นดิน. กรุงเทพมหานคร: กรมทางหลวง; 2561.
Florida Department of Transportation (FDOT). Median Handbook: Interim Version. Tallahassee, FL: Florida Department of Transportation; 2006.
The Federal Highway Adminstration (FHWA). The Manual on Uniform Traffic Control Devices. New Jersey: U.S. Department of Transportation; 2009.
พรรณทิพา พันธ์ยิ้ม, นันทวรรณ พิทักษ์พานิช, เอกรินทร์ เหลืองวิลัย, เทพฤทธิ์ รัตนปัญญากร. การประเมินผลกระทบด้านจราจรของด่านเก็บค่าผ่านทางโดยการจำลองสถานการณ์จราจร: กรณีศึกษาด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษวงแหวนรอบนอก (บางแก้ว) ทางออกทางพิเศษบูรพาวิถี. ใน: การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 23. นครนายก: โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า; 2561. หน้า 20-35.
ชัยวัฒน์ ใหญ่บก. การปรับปรุงการจราจรบริเวณสี่ทางแยกบนถนนกาญจนวณิชย์ในเมืองหาดใหญ่. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมขนส่ง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา, 2558.
PTV AG. PTV VISSIM 10 USER MANUAL. Karlsruhe: PTV GROUP; 2018.
Astarita V, Giofrè VP, Guido G, Festa DC. Traffic delays estimation in two-lane highway reconstruction. Procedia Computer Science. 2014; 32: 331-338.
Bhutani R, Ram S, Ravinder K. Impact of metro rail construction work zone on traffic environment. Transport Research Procedia. 2016; 17: 586-595.
Yao E, Shen H, Huan N. Evaluating the impact of road construction on oversaturated intersections: A simulated-based case study. IOP Conference Series: Materials Science & Engineering. 2019; 688: 44-60.
Idewu W, Chanpiwat P, Naghawi H. Identifying optimum taper lengths for zipper merging applications using real data and microscopic simulation. Procedia Polytechnica Transportation Engineering. 2020; 48(3): 210-220.
Theiss L, Finley MD, Ullman GL. Merging taper lengths for lane closures of short duration. Transportation Research Record Journal of the Transportation Research Board. 2011; 2258: 64-70.
สำนักงานจังหวัดภูเก็ต. บรรยายสรุปข้อมูลจังหวัดภูเก็ต พ.ศ. ๒๕๕๙. ภูเก็ต: สำนักงานจังหวัดภูเก็ต; 2559.
Milwaukee, WI. Paramics Calibration and Validation Guidelines, Technical Report I-33. Wisconsin Department of Transportation (Wisconsin DOT); 2002
Feldman O. The GEH measure and quality of the highway assignment models. In: European Transport Conference 2012. Scotland: Association for European Transport (AET); 2012. p. 1-18.
Barton-Aschman Associates, Inc. and Cambridge
Systematics, Inc. Design Manual for Roads and Bridges.Volume 12 Traffic Appraisal of Roads Schemes, Section 2 Traffic Appraisal Advice. Cambridge: Cambridge Systematics, Inc; 1997.
Oketch T, Carrick M. Calibration and validation of a micro-simulation model in network analysis. In: Proceedings of the 84th TRB Annual Meeting. Washington, DC: Transportation Research Board; 2005.
กัลยา วานิชย์บัญชา. การใช้ SPSS for Window ในการวิเคราะห์ข้อมูล. พิมพ์ครั้งที่ 29. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สามลดา; 2560.
สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร. โครงการจัดทำแผนพัฒนามาตรฐานด้านการจัดระบบการจราจรในเมืองภูมิภาค ร่างรายงานคู่มือมาตรฐานด้านการจัดระบบการจราจร เรื่อง การจัดระบบการจราจร. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร; 2559.