การประเมินความเสี่ยงของรีเลย์ป้องกันในสถานีไฟฟ้าย่อย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การบำรุงรักษารีเลย์ป้องกันในสถานีไฟฟ้าย่อยมักประสบปัญหาในเรื่องของอุปกรณ์ที่มีจำนวนมาก ความแตกต่างของเทคโนโลยี อายุการใช้งาน สภาพแวดล้อม โหลดที่จ่ายไฟ ฯลฯ แม้ความเสี่ยงที่รีเลย์ป้องกันขัดข้องจะมีน้อยกว่าอุปกรณ์อื่นเนื่องจากจะทำงานเฉพาะกรณีที่เกิดฟอลต์ขึ้นในระบบเท่านั้น แต่ผลกระทบหากเกิดการขัดข้องหรือทำงานผิดพลาดอาจทำให้เกิดความเสียหายรุนแรงต่ออุปกรณ์สำคัญอื่นๆ เกิดอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงาน และทำให้เกิดไฟดับเป็นบริเวณกว้างได้ บทความนี้จึงเสนอแนวทางการประเมินความเสี่ยงของรีเลย์ป้องกันในสถานีไฟฟ้าย่อยด้วยการประเมินค่าดัชนีความเสี่ยงของรีเลย์ป้องกันที่ประกอบด้วยคะแนน 2 ส่วนหลัก คือ คะแนนส่วนของการประเมินสภาพของรีเลย์ป้องกันที่สัมพันธ์กับความน่าจะเป็นที่จะเกิดการขัดข้องโดยประเมินจากข้อมูลการตรวจวัดสภาพและประวัติการใช้งาน และคะแนนส่วนของการประเมินความวิกฤตของรีเลย์ป้องกันซึ่งแสดงถึงความสำคัญหรือผลกระทบที่เกิดขึ้นหากรีเลย์ทำงานขัดข้องโดยประเมินจากชนิดสถานี ชนิดวงจรป้องกัน การจัดบัส และความสำคัญของโหลดผู้ใช้ไฟ แนวทางที่เสนอได้มีการทดลองกับกรณีศึกษารีเลย์ป้องกันชนิดไมโครโปรเซสเซอร์ที่ติดตั้งในสถานีไฟฟ้าย่อยปทุมธานี 2 และสถานีไฟฟ้าย่อยปทุมธานี 3 ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค รวมจำนวน 10 ชุด ผลที่ได้พบว่า รีเลย์ป้องกันแต่ละตัวสามารถแทนด้วยดัชนีความเสี่ยงที่แตกต่างกัน โดยผลที่ได้นี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการจัดลำดับความสำคัญในการบำรุงรักษาและเลือกกิจกรรมการบำรุงรักษารีเลย์ป้องกันที่เหมาะสมเพื่อให้เกิดความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์
Article Details
References
[2] Installation and Maintenance for Protective Relay Systems, July 2006.
[3] Rosmaini Ahmad, Shahrul Kamaruddin, An overview of time-based and condition-based maintenance in industrial application, Computers & Industrial Engineering 63 (2012) 135–149
[4] Relay Testing and Maintenance GE Power Management Technical Publication Publication No.: GET-3473B Copyright © 2000 GE Power Management
[5] H. Tavares, H. Leite, A. Pinto, P. Vidal, J. Santos, Applying Reliability Centered Maintenance to a Digital Protective Relay, IEEE PES Innovative Smart Grid Technologies Europe (ISGT Europe), Berlin, 2012
[6] Aaron Feathers, Abesh Mubaraki, Ana Nungo, Nai Paz, Relay Performance Index for a Sustainable Relay Replacement Program, 2014
[7] ประสิทธิ์ พิทยพัฒน์, การป้องกันระบบไฟฟ้ากำลัง, บริษัท จี.บี.พี. เซ็นเตอร์ จำกัด พิมพ์ครั้งที่ 3 ปีที่พิมพ์ 2551.
[8] Ian Bradley, John Ciufo, Aaron Cooperberg and Cole Tavener, Life-Cycle Management for System Protection, Transmission & Distribution World, Hydro One Networks Inc., Fri, 2007-06-01 12:00
[9] I22: End-Of-Useful Life Assessment of P&C Devices Report to Main Committee, Final Report – May 2015, Chair: Bob Beresh, Vice Chair: Bruce Mackie
[10] คู่มือการกำหนดค่าการทำงานของรีเลย์ป้องกัน (Protective Relay Setting Criteria), กองอุปกรณ์ป้องกันและรีเลย์ ฝ่ายบำรุงรักษาสถานีไฟฟ้าและระบบไฟฟ้า สายงานปฏิบัติการและบำรุงรักษา, การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค, ม.ค. 2558
[11] นาตยา คล้ายเรือง และคณะ, รายงานแนวทางการประเมินความเสี่ยงของอุปกรณ์ชุดสวิตซ์เกียร์และรีเลย์ป้องกัน, โครงการวิจัยและพัฒนาความชำนาญด้านไฟฟ้ากำลัง, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2559