การวางแผนเส้นทางการเคลื่อนที่ของเครื่องมือในเทคโนโลยีการสร้างต้นแบบรวดเร็วจากความสัมพันธ์ของเส้นโครงร่าง

Main Article Content

ปภากร พิทยชวาล
ธนาคาร เบ้าทอง

Abstract

บทความนี้นำเสนอการวางแผนเส้นทางการเคลื่อนที่ของเครื่องมือในการสร้างต้นแบบรวดเร็ว โดยวิธีการระบุความสัมพันธ์ระหว่างเส้นโครงร่าง (contour identification)ในแต่ละชั้น และประยุกต์ใช้แนวคิดความสัมพันธ์แบบพ่อลูก (parent and child)เพื่อระบุความสัมพันธ์ระหว่างเส้นโครงร่าง ซึ่งข้อมูลความสัมพันธ์ระหว่างเส้นโครงร่างจะถูกนำมาใช้เพื่อวางแผนการเคลื่อนที่ของเครื่องมือรวมถึงการประยุกต์ใช้แนวคิดของปัญหาการเดินทางของพนักงานขาย (Travelling Salesman Problem, TSP) เพื่อกำหนดเส้นทางเดินของเครื่องมือซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 2 ส่วนคือ 1) เส้นทางการเคลื่อนที่ตามแนวเส้นโครงร่างซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เครื่องมือสร้างต้นแบบทำงาน (operating time) และ 2) เส้นทางการเคลื่อนที่ระหว่างเส้นโครงร่างซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เครื่องมือไม่ได้ทำงาน (non-operating time)โดยผลที่คาดว่าจะได้รับคือลดระยะเส้นทางการเคลื่อนที่ระหว่างเส้นโครงร่างซึ่งจะส่งผลต่อการลดระยะเวลาการสร้างต้นแบบ(fabrication time) โดยแสดงผลการดำเนินงานงานวิจัยด้วยกรณีศึกษา

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)