ปัจจัยที่มีผลต่อการสกัดไอออนสังกะสีด้วยเยื่อแผ่นเหลวที่พยุงด้วยเส้นใยกลวง

Main Article Content

กฤติยา วิสุทธิเสน

Abstract

การแยกไอออนโลหะด้วยเยื่อแผ่นเหลวที่พยุงด้วยเส้นใยกลวง เป็นวิธีการที่ได้รับการยอมรับว่ามีประสิทธิภาพสูงต่อการแยกไอออนโลหะแต่ข้อจำกัดของวิธีการนี้คือ ระยะเวลาการดำเนินงานค่อนข้างต่ำ งานวิจัยนี้จึงเลือกศึกษาชนิดของตัวทำละลายซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อระยะเวลาการดำเนินงาน ทำการศึกษาเปรียบเทียบตัวทำละลาย 4 ชนิด คือ ไดคลอโรมีเทน โทลูอีน ไซโคลเฮกเซน และเฮปเทน สารสกัดที่ใช้คือ D2EHPA ซึ่งเป็นสารสกัดที่มีศักยภาพสูงต่อการสกัดไอออนสังกะสี พบว่าค่าความมีขั้วของตัวทำละลายนั้นมีผลต่อประสิทธิภาพการสกัด การนำกลับ และระยะเวลาการดำเนินงานอย่างมีนัยสำคัญ ประสิทธิภาพการสกัดถูกประเมินด้วยค่าสัมประสิทธิ์การกระจายและค่าสัมประสิทธิ์การซึมผ่าน สภาวะที่ดีที่สุดคือค่าความเป็นกรด-เบสของสารละลายป้อนเท่ากับ 2.5 ที่ความเข้มข้นของ D2EHPA เท่ากับ 8.3% โดยปริมาตรและสารละลายนำกลับกรดซัลฟิวริกเข้มข้น 0.125 โมลต่อลิตร โดยพบว่าตัวทำละลายที่มีความมีขั้วต่ำจะให้ค่าประสิทธิภาพการสกัดที่น้อย แต่ระยะเวลาการดำเนินงานค่อนข้างสูง เมื่อประเมินคุณค่าเชิงเศรษฐศาสตร์พบว่า โทลูอีนคือตัวทำละลายที่ดีที่สุดต่อการขยายผลต่อสู่ภาคอุตสาหกกรรม ซึ่งให้ค่าสัมประสิทธิ์การกระจาย และค่าสัมประสิทธิ์การซึมผ่านเท่ากับ 11.21 และ 3.37 เซนติเมตรต่อวินาที ตามลำดับ

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)