การศึกษาระบบโลจิสติกส์ยางพาราและการพัฒนาคุณภาพยางแผ่นดิบ กรณีศึกษาอำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

คลอเคลีย วจนะวิชากร

Abstract

งานวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาระบบห่วงโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ยางพารา ในอำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี เริ่มจากขั้นต้นน้ำ ได้แก่ กระบวนการเพาะปลูก กระบวนการกรีดยาง จนถึงการขนส่งน้ำยางดิบเข้าสู่โรงงาน ขั้นกลางน้ำเป็นกระบวนการแปรรูปยางพาราขั้นต้น ผู้วิจัยใช้หลักการของแบบจำลองอ้างอิงการดำเนินงานห่วงโซ่อุปทาน เพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างห่วงโซ่อุปทานของยางพาราร่วมกับหลักการห่วงโซ่คุณค่า แบ่งออกเป็นกิจกรรมหลักและกิจกรรมสนับสนุน และอาศัยเครื่องมือบริหารงานคุณภาพในการค้นหาสาเหตุที่ทำให้คุณภาพยางแผ่นดิบมีข้อบกพร่องความชื้นสูง โดยเครื่องมือวิเคราะห์หาสาเหตุและผลของปัญหา จากนั้นดำเนินการวิเคราะห์ลักษณะข้อบกพร่องและผลกระทบ (Failure Model and Effects Analysis: FMEA) ในการผลิตแผ่นยางดิบเพื่อหาสาเหตุหลักที่มีผลกระทบกับปัญหาคุณภาพด้านข้อบกพร่องความชื้นและวิเคราะห์เพื่อหาแนวทางการปรับปรุง ผลการศึกษางานวิจัยข้างต้นได้นำไปสู่การเสนอแนวทางในการพัฒนาห่วงโซ่อุปทานของยางพารา โดยการพัฒนาคุณภาพยางแผ่นดิบ นั่นคือการควบคุมการผลิตยางแผ่นดิบ โดยการกำหนดมาตรฐานในการทำงาน ผลจากการดำเนินงาน พบว่าปริมาณคุณภาพยางแผ่นดิบที่มีได้มาตรฐาน เพิ่มขึ้น 7% ต่อเดือน คิดเป็นเงินมูลค่า 596,113 บาท จากผลดังกล่าวจะช่วยให้มีการปลูกยางพาราที่เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนในอนาคตได้

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)