กำลังสถานะวิกฤตของทรายปนดินเหนียวปรับปรุงด้วยวัสดุรีไซเคิลและซีเมนต์ภายใต้การทดสอบแรงอัดสามแกน

Main Article Content

จิระยุทธ สืบสุข
อนิรุทธิ์ สุขแสน
คมกร ไชยเดชาธร
เชิดศักดิ์ สุขศิริพัฒนพงษ์

Abstract

บทความนี้เสนออิทธิพลของผิวทางแอสฟัลต์รีไซเคิล (Recycled Asphalt Pavement, RAP) และปริมาณซีเมนต์ต่อกำลังสถานะวิกฤตภายใต้แรงอัดสามแกนของทรายปนดินเหนียวปรับปรุงด้วย RAP และซีเมนต์ การศึกษาในห้องปฏิบัติการทำโดยทดสอบการเฉือนภายใต้แรงอัดสามแกนกับตัวอย่างดินผสม RAP และซีเมนต์ที่อัตราส่วนต่างๆ เมื่อปริมาณ RAP และซีเมนต์เพิ่มขึ้นกำลังและความแกร่งของวัสดุผสมมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เส้นทางความเค้นประสิทธิผลของวัสดุไม่ผสมซีเมนต์เพิ่มสูงขึ้นและเข้าสู่สถานะวิกฤติโดยไม่แสดงพฤติกรรมการอ่อนลงด้วยความเครียด ในขณะที่วัสดุผสมซีเมนต์ร้อยละ 3 แสดงพฤติกรรมการอ่อนลงหลังจากจุดที่กำลังสูงสุด ปริมาณ RAP และซีเมนต์ในวัสดุผสมมีบทบาทสำคัญต่อเส้นทางความเค้นและกำลังสูงสุดภายใต้ความเค้นโอบรัดต่างๆ สำหรับความสัมพันธ์ระหว่างแรงยึดเหนี่ยว (cohesion intercept, ) กับปริมาณซีเมนต์ เมื่อปริมาณซีเมนต์เพิ่มค่า  เพิ่มขึ้นเนื่องจากกำลังเชื่อมประสานระหว่างอนุภาคดิน RAP และวัสดุประสานซีเมนต์จากผลของปฏิกิริยาไฮเดรชัน ความชันของเส้นสถานะวิกฤต (M) ขึ้นกับมุมเสียดทานภายในของวัสดุผสม การเพิ่มขึ้นของปริมาณ RAP และปริมาณซีเมนต์ส่งผลต่อการเพิ่มความชันของเส้นสถานะวิกฤตอย่างมีนัยสำคัญ

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)