การศึกษาเส้นทางที่เหมาะสมในการจัดเก็บขยะโดยใช้วิธีเชิงพันธุกรรม กรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบลท่าศาลา อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

เชิดศักดิ์ สุขศิริพัฒนพงศ์
ไพจิตร อุปถัมภ์
สุขสันติ์ หอพิบูลสุข
จิระยุทธ สืบสุข

Abstract

ปัจจุบันองค์การบริหารส่วนตำบลท่าศาลาได้จัดสรรงบประมาณซึ่งประกอบด้วยค่าจ้างพนักงานเก็บขยะและค่าน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อ ใช้จัดเก็บขยะทั้ง 11 หมู่บ้านในความรับผิดชอบเส้นทางเดินรถจัดเก็บขยะไม่มีรูปแบบให้แก่พนักงานขับรถซึ่ง ทำให้ใช้ระยะเวลาหลายชั่วโมงต่อวันและสูญเสียเชื้อเพลิง งานวิจัยนี้ศึกษาเส้นทางที่เหมาะสมในการจัดเก็บขยะในแต่ละหมู่บ้าน โดยใช้วิธีเชิงพันธุกรรม (Genetic Algorithm: GA) และเปรียบเทียบ
ผลทดสอบกับการเดินรถเก็บขยะแบบดั้งเดิม ผลทดสอบแสดงให้เห็นว่าผลรวมระยะทาง 4 สัปดาห์โดยวิธี GA สั้นกว่าแบบดั้งเดิม 9.4 กิโลเมตร (ร้อยละ 2.67) ผลรวมเวลา
ปฏิบัติงานโดยวิธี GA น้อยกว่าแบบดั้งเดิม 4 ชั่ว่โมง 2 นาที(ร้อยละ 4.36) แบบจำลองเส้น ทางเดินรถเก็บขยะโดยวิธี GA ช่วยให้ค่าดำเนินการ (ค่าพนักงาน, เชื้อเพลิงและซ่อมบำรุง) ลดลง และสามารถประมาณค่าใช้จ่ายการน้ำมันเชื้อเพลิงได้

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)