การออกแบบและสร้างเครื่องตีเกลียวเส้นด้าย

Main Article Content

จิตติวัฒน์ นิธิกาญจนธาร
มาโนช ริทินโย

Abstract

การศึกษาตัวแปรที่เหมาะสมสำหรับการตีเกลียวเส้นด้ายของกลุ่มผ้าไหมทอมือจังหวัดนครราชสีมา ได้มีการดำเนินการเนื่องจากมีปัญหาเกี่ยวกับจำนวนเกลียวของเส้นด้ายไม่สม่ำเสมอ ดังนั้นงานวิจัยนี้มุ่งเน้นศึกษาวิเคราะห์และหาทางแก้ปัญหาด้วยจำนวนเกลียวตัวแปรในการตีเกลียวที่เหมาะสมคือ 230–250 เกลียวต่อเมตร ส่งผลให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพโดยรวมของกระบวนการทอผ้าสูงขึ้นโดยการหาค่าความแตกต่างของความเร็วรอบชุดเก็บเส้นด้าย 164 และ 384 รอบต่อนาที และระยะการดึงเส้นด้ายสำหรับการใช้ทดสอบมีดังนี้ 0.8 1.0 และ 1.2 เมตร ทำการสร้างเครื่องตีเกลียวเส้นด้ายทำให้สามารถพัฒนาเครื่องตีเกลียวเส้นด้ายให้มีความแข็งแรงลักษณะการทำงานสามารถลดความเมื่อยล้าของผู้ปฏิบัติงานและเพิ่มผลผลิต  เนื่องจากในการตีเกลียวหนึ่งครั้งจะได้เส้นด้ายที่ตีเกลียวครั้งละ 2 หลอด ทำการทดสอบและเก็บข้อมูล เพื่อทดสอบทางสถิติวิเคราะห์หาความเร็วรอบชุดเก็บเส้นด้ายและระยะการดึงเส้นด้ายที่เหมาะสมสำหรับการตีเกลียวเส้นด้าย ผลการดำเนินงานพบว่าความเร็วรอบชุดเก็บเส้นด้ายที่ 384 รอบต่อนาทีและระยะการดึงเส้นด้ายที่ 1 เมตร ซึ่งมีจำนวนเกลียวเฉลี่ยอยู่ที่ 239.86 เกลียวต่อเมตรและมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 6.72 เป็นตัวแปรที่เหมาะสมสำหรับการตีเกลียวเส้นด้าย

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)