ผลกระทบของปริมาณทรายและน้ำต่อความเค้น-ความเครียดของคอนกรีตมวลเบาแบบเซลลูล่า

Main Article Content

จารุพันธ์ ไพพูลพิมพ์
เกรียงศักดิ์ แก้วกุลชัย

Abstract

คอนกรีตมวลเบาแบบเซลลูล่าเป็นคอนกรีตที่มีส่วนผสมของฟองอากาศซึ่งเกิดจากการเติมโฟมเหลวคงรูปที่กระจายตัวอย่างสม่ำเสมอในเนื้อคอนกรีตแทนการใช้หินหรือมวลรวมหยาบ ปริมาณฟองอากาศที่เติมเข้าไปมีผลต่อความหนาแน่นและคุณสมบัติพื้นฐานของคอนกรีตมวลเบาแบบเซลลูล่า งานวิจัยนี้ได้นำเสนอการศึกษาผลกระทบของปริมาณทรายและน้ำต่อความเค้น-ความเครียดของคอนกรีตมวลเบาแบบเซลลูล่าที่ความหนาแน่นเปียก 1,800กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร โดยใช้อัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์เท่ากับ 0.40, 0.45, 0.50, 0.55, 0.60 และ 0.65 อัตราส่วนทรายต่อซีเมนต์เท่ากับ 1:1, 2:1 และ 3:1 ทดสอบที่อายุ 28 และ 56 วัน การศึกษาพบว่าความเครียดของคอนกรีตมวลเบาแบบเซลลูล่าที่จุดกำลังรับแรงอัดสูงสุดและจุดวิบัติมีค่าประมาณ 0.0027-0.0035และ 0.0036-0.0044ตามลำดับและพบว่าอัตราส่วนผสมของทรายต่อซีเมนต์และอัตราส่วนผสมของน้ำต่อซีเมนต์มีผลต่อค่าความเค้นและความเครียดของคอนกรีตมวลเบาแบบเซลลูล่าโดยปริมาณน้ำที่มากขึ้นและปริมาณทรายที่มากขึ้นจะส่งผลให้ความเค้นและความเครียดมีค่าลดลง

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)