วิธีเรียนรู้แบบเพิ่มพูนโดยอาศัยกลุ่มประชากรแบบหลายเป้าหมายร่วมกับแบบจำลองเซอร์โลเกทสำหรับออกแบบหาขนาดและรูปร่างเหมาะที่สุดของระบบแขนยึดจับหัวอ่าน/เขียนฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ
Main Article Content
Abstract
งานวิจัยนี้นำเสนอกระบวนการหาขนาดและรูปร่างเหมาะที่สุดเพื่อเพิ่มสมรรถนะระบบแขนยึดจับหัวอ่าน/เขียนฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟที่ได้จากกระบวนการหาทอพอโลยีเหมาะที่สุด ร่วมกับการกำหนดปัญหาออกแบบที่มีฟังก์ชันหลายเป้าหมาย สำหรับเพิ่มความถี่ธรรมชาติให้มากสุดในโหมดแรกของการส่ายด้านข้าง ขณะเดียวกันค่าความแข็งตึงของการดัดต้องต่ำสุดแต่ก็ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขในการออกแบบ ซึ่งประกอบด้วย ความถี่ธรรมชาติในโหมดแรกของการดัดและการบิดตัว ส่วนการวิเคราะห์หาค่าคุณลักษณะทางกายภาพของโครงสร้างได้จากการวิเคราะห์ด้วยระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ สำหรับขั้นตอนวิธีเหมาะที่สุดที่ใช้คือ วิธีเรียนรู้แบบเพิ่มพูนโดยอาศัยกลุ่มประชากรแบบหลายเป้าหมาย (MOPBIL) ถูกใช้เป็นเครื่องมือสำหรับค้นหาขอบหน้าพาเรโตของปัญหาออกแบบพร้อมด้วยขนาดและรูปร่างเหมาะที่สุดของระบบแขนยึดจับหัวอ่าน/เขียนที่ได้จะถูกนำมาเปรียบเทียบเพื่อประเมินสมรรถนะ จากผลการทดสอบแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการออกแบบจริงของวิธีเรียนรู้แบบเพิ่มพูนโดยอาศัยกลุ่มประชากรสำหรับออกแบบหาขนาดและรูปร่างเหมาะที่สุดของระบบแขนยึดจับหัวอ่าน/เขียนฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ