การเพิ่มประสิทธิภาพระบบหมุนเวียนอากาศภายในโรงเรือนเลี้ยงไก่เนื้อแบบปิดด้วยชิ่งลม

Main Article Content

รัชพล สันติวรากร

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเพิ่มประสิทธิภาพระบบหมุนเวียนอากาศของโรงเรือนเลี้ยงไก่เนื้อแบบปิดด้วยชิ่งลม (Air deflectors) โดยจะทำการศึกษารูปแบบการไหลของอากาศภายในโรงเรือนที่มีรูปแบบหน้าตัดห้าเหลี่ยม กว้าง 14 เมตร ยาว 120 เมตร สูง 3.8 เมตร และอยู่ในสภาวะการไหลแบบ Maximum ventilation ในการศึกษาจะทำการจำลองการไหลทางคณิตศาสตร์ของอากาศภายในโรงเรือนเปรียบเทียบกับระหว่างโรงเรือนที่ติดตั้งและไม่ได้ติดตั้งชิ่งลมและเปรียบเทียบความเร็วลมกับการทดลอง จากผลการศึกษาพบว่า ที่ระนาบความสูงจากพื้น 0.3 เมตร ซึ่งเป็นระนาบที่มีผลต่อการเลี้ยงไก่เนื้อมากที่สุด การติดตั้งชิ่งลมจะทำให้พื้นที่ที่มีความเร็วในช่วงความเร็วมาตรฐานและสูงกว่ามาตรฐานสำหรับการเลี้ยงไก่เนื้อเพิ่มขึ้น 14.35% และสามารถช่วยเพิ่มอัตราการเปลี่ยนอากาศให้มีค่าเพิ่มขึ้น จากเดิม 0.86 air change/min เป็น 1.37 air change/min คิดเป็น 59.3% ซึ่งจะส่งผลดีต่อการเลี้ยงไก่เนื้อในโรงเรือนปิด แต่อย่างไรก็ตามการติดตั้งชิ่งลมจะทำให้ความดันสถิต (Static pressure) ภายในโรงเรือนเพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพัดลม เนื่องจากเป็นการเพิ่มแรงต้านทานการไหลของอากาศภายในโรงเรือน

Article Details

How to Cite
1.
บท
บทความวิจัย

References

[1] P. V. Nielsen, A. Restivo, and J. H. Whitelaw, Transactions of ASME J. of Fluids Eng. 100, (1978)

[2] S. Murakami, S. Kato, and Y. Suyama, ASHRAE Transactions 93, (1987)

[3] V. Blanes-Vidal, E. Guijarro, A.G. Torres, Application of computation fluid dynamics to the prediction of airflow in a mechanically ventilated commercial poultry building, Biosystems Engineering. 100 (2008) 105-116.

[4] W. Chayanon, S. Ratchaphon, W. Sorayut, Development of a Suitable Air Condition Control System for a Closed-System Henhouse, Journal of Materials Science and Engineering, B 1 (2011) 667-676.

[5] Aviagen Group. (2009) Broiler Management Manual.

[6] Department of Livestock Development. The Standards for Closed-System Henhouse of animal farms in Thailand (1999)