การเพิ่มประสิทธิภาพการอบแห้งแผ่นชิ้นไม้อัดจากเปลือกทุเรียน ด้วยเครื่องอบแห้งลมร้อนร่วมกับระบบสมองกลฝังตัว และระบบการประมวลผลภาพ

Main Article Content

สโรชา เจริญวัย

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการนำเสนอกระบวนการในการอบแห้งแผ่นชิ้นไม้อัดจากเปลือกทุเรียน ที่ประยุกต์ใช้ระบบสมองกลฝังตัวและระบบประมวลผลภาพ เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการอบแห้ง เพิ่มคุณภาพของแผ่นชิ้นไม้ และลดการใช้พลังงานระหว่างการอบ โดยโครงสร้างระบบประกอบด้วยเครื่องอบลมร้อน 1 เครื่อง มีขนาดภายในตู้อบ 40 x 60 x 35 ลูกบาศก์เซนติเมตร คอล์ยทำความร้อนพร้อมพัดลม 2 ชุด มีระบบตรวจวัดและควบคุมอุณหภูมิ ระบบตรวจสอบความชื้นขณะอบแห้ง วัสดุที่ใช้ในการศึกษา คือ แผ่นชิ้นไม้อัดจากเปลือกทุเรียนขนาด 20x20x1 ลูกบาศก์เซนติเมตร ด้วยการติดตั้งระบบสมองกลฝังตัวทำให้ระบบควบคุมสามารถปรับอุณหภูมิได้ตามสภาวะการอบจริง รวมทั้งสามารถยุติการอบแห้งเมื่อความชื้นในชิ้นไม้อัดลดลง จนถึงระดับที่กำหนด โดยไม่ต้องใช้การตั้งเวลาแบบคงที่ จากการทดลองพบว่า การให้ความร้อนในช่วงแรกจำเป็นจะต้องใช้อุณหภูมิที่สูง เพื่อทำให้ความชื้นในชั้นนอกหรือบริเวณผิวของแผ่นไม้ระเหยไปให้ได้เร็วที่สุด และเมื่อแผ่นไม้มีความชื้นในระดับที่ต่ำกว่า 25% แล้ว ระบบจะปรับอุณหภูมิลดลงมา เพื่อช่วยในการประหยัดงานในการอบแต่ยังทำให้ความชื้นลดลงได้ต่อเนื่อง จากการคำนวณระดับสีของแผ่นไม้อัดในรูปแบบ HSV (Hue-Saturation-Value) พบว่าแผ่นไม้ที่ได้มีสีที่สม่ำเสมอมากขึ้น โดยสรุปกระบวนการที่กล่าวไปแล้วนั้นถูกพัฒนาขึ้นเพื่อให้การอบแผ่นไม้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นและประหยัดพลังงานในการอบ เมื่อเทียบกับการอบด้วยเครื่องอบแห้งลมร้อนแบบปกติ

Article Details

How to Cite
1.
เจริญวัย ส. การเพิ่มประสิทธิภาพการอบแห้งแผ่นชิ้นไม้อัดจากเปลือกทุเรียน ด้วยเครื่องอบแห้งลมร้อนร่วมกับระบบสมองกลฝังตัว และระบบการประมวลผลภาพ. featkku [อินเทอร์เน็ต]. 1 มกราคม 2015 [อ้างถึง 23 มกราคม 2025];1(1):23-32. available at: https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/featkku/article/view/175995
บท
บทความวิจัย

References

[1] สโรชา เจริญวัย, สรพงษ์ ภวสุปรีย์, อนินท์ มีมนต์, ชนากานต์ อาษาสุจริต และผดุงศักดิ์ รัตนเดโช (2555), รายงานการวิจัยการศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้ตัวเชื่อมประสานที่ย่อยสลายได้จากเปลือกทุเรียนหมอนทองในการผลิตแผ่นชิ้นไม้อัด

[2] ชนากานต์ อาษาสุจริต และคณะ รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการวิจัยของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย โครงการการพัฒนาเครื่องอบแห้งสุญญากาศ 2552

[3] Asasutjarit, C., Charoenvai S., “Development of a vacuum dryer for red chilli”, The 6th Asia-Pacific Drying Conference (ADC 2009), 19th – 21st October 2009, Bangkok, Thailand

[4] ชนากานต์ อาษาสุจริต และสโรชา เจริญวัย, 2552, “การศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการอบแห้งพริกขี้หนูใหญ่สีแดงโดยใช้เครื่องอบแห้งสุญญากาศ”, การประชุมวิชาการเครือข่ายพลังงานแห่งประเทศไทยครั้งที่ 29 เมษายน-1 พฤษภาคม 2552 มหาวิทยาลัยนเรศวร พิษณุโลก

[5] Kaensup,W., Chutima, S. and Wongwises, S. Experimental study on drying of chilli in a combined microwave-vacuum-rotary. Drying Technology. 20: 2067-2079 (2002)

[6] Gupta, P., Ahmed, J., Shivhare, U. S. and Raghavan, G. S. V. Drying characteristics on red chilli. Drying Technol. 20: 1975-1987 (2002)

[7] Tasirin, S.M. ,Kamarudin S.K. and Jaafar, K. The drying kinetics of bird’s chillies in a fluidized bed dryer. Journal of Food Engineering. 79: 695–705 (2007)

[8] Lee, J. H. and Kim, H. J. Vacuum drying kinetics of Asian white radish (Raphanussativus L.) slices. LWT - Food Science and Technol. 42: 180–186 (2009)

[9] รังสิมา เพ็ชรเม็ดใหญ่. ระบบสมองกลฝังตัว. ศูนย์บริการความรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี STKS สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ4/2552 - 31 มกราคม 2552

[10] จันทร์จิรา สินทนะโยธิน, วิศรุต พลสิทธิ์. Image processing เทคโนโลยีการประมวลผลภาพ

[11] คลังความรู้ช่างเทคนิค. เทอร์โมคัปเปิล (THERMOCOUPLE). 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

[12] หจก.แอ็ดวานซ์ บิสสิเนส อินเตอร์เทรด. Moisture Meter/ เครื่องวัดความชื้นไม้.

[13] Strain Measurement Devices. S215 Ultra-Low Profile Miniature Single Point Load Cell, http://www.smdsensors.com/Products/S215-Ultra-Low-Profile-Miniature-Single-Point-Load-Cell/ (วันที่ค้นหาข้อมูล: 27 สิงหาคม2556).

[14] หจก.บางกอกคริปโตกราฟฟี่. โหลดเซลล์ (Load cell / Loadcell)

[15] Modbus Application Protocol V1.1b3, Modbus. Modbus Organization, Inc. Retrieved 2 August 2013.