แบบจำลองการเพิ่มประสิทธิภาพระบบการผลิตไฟฟ้าในโรงงานน้ำตาล

Main Article Content

ชนกนันท์ สุขกำเนิด

บทคัดย่อ

การศึกษานี้ เป็นการพัฒนาแบบจำลองสมดุลมวลและพลังงานของระบบผลิตไอน้ำและไฟฟ้าแบบความร้อนร่วมในอุตสาหกรรมน้ำตาล แบบจำลองนี้ใช้โปรแกรม Microsoft Excel เพื่อใช้ในการศึกษาสภาวะการเดินเครื่องที่แตกต่าง ซึ่งมีผลต่อประสิทธิภาพการผลิตและการลงทุน เพิ่มขีดความสามารถในการวิเคราะห์พลังงานที่เกิดขึ้นโดย
รวมของกระบวนการผลิตไอน้ำและไฟฟ้า ให้ผลลัพธ์ที่มีความถูกต้อง รวดเร็ว ลดขั้นตอนการคำนวณที่สลับซับซ้อน โดยใช้แบบจำลองที่ทำขึ้นมา จากการศึกษาพบว่า แบบจำลองสามารถแสดงผลที่ใกล้เคียงกับข้อมูลจริงจากโรงงานและจากข้อมูลของโรงไฟฟ้าที่กำลังผลิตของหม้อไอน้ำ 170 ตันต่อชั่วโมง สภาวะความดัน 105 บาร์ อุณหภูมิ 520 องศาเซลเซียส สามารถผลิตไฟฟ้าได้ 431.3 kW/ตันชานอ้อย โดยที่กำลังไฟฟ้าที่ได้จากแบบจำลองคือ 441.4 kW/ตันชานอ้อย เมื่อนำแบบจำลองมาวิเคราะห์ด้านการลงทุนพบว่า ที่อุณหภูมิ 540 องศาเซลเซียส ระดับความดันที่ 90 บาร์และ 105 บาร์ ให้ผลตอบแทนทางด้านการลงทุนคุ้มค่าที่สุดโดยที่ระยะเวลาคืนทุน 5.32 และ 5.34 ปี อัตราผลตอบแทนภายใน (%IRR) เท่ากับ 24.25 % และ 24.20% ตามลำดับ

Article Details

How to Cite
1.
บท
บทความวิจัย

References

[1] อัจฉริยา บัวทอง. (2557). การพัฒนาแบบจำลองสมดุลมวลและพลังงานสำหรับโรงน้ำตาล. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

[2] วลีรัตน์ ทศไนยธาดา. (2551). การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าและความร้อนร่วมในโรงงานน้ำตาล. วิทยานิพนธ์หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการพลังงาน, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

[3] Joan M.Ogden, Simone Hochgreb, Mechael Hylton.(1990). Steam Economy and Cogeneration in Cane Sugar Factories, International Sugar Journal, Vol.92 No.1099

[4] E.Hugot. (1986). Handbook of Sugar Engineering. 3rd ed. Elsevier, Amsterdam: Elsevier Science.

[5] ธนาคารแห่งประเทศไทย. ดอกเบี้ยธนาคาร. สืบค้นเมื่อเมษายน 2558เข้าถึงได้ที่ https://www.bot.or.th