การเพาะเลี้ยงสาหร่ายน้ำมันด้วยน้ำเสียชุมชนที่ผ่านการบำบัด

Main Article Content

ธัญลักษณ์ ราษฎร์ภักดี

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ได้ศึกษาการเจริญเติบโตและการผลิตไขมันของสาหร่ายสีเขียวขนาดเล็ก (microalgae) ด้วยน้ำเสียชุมชนที่ผ่านการบำบัดแล้วจากมหาวิทยาลัยขอนแก่นเนื่องจากในน้ำเสียที่มีธาตุอาหารที่สาหร่ายต้องการเพื่อใช้ในการเจริญเติบโตและเปรียบเทียบอัตราการเจริญเติบโตจำเพาะจากการให้แหล่งคาร์บอนจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์บริสุทธิ์และคาร์บอนไดออกไซด์จากก๊าซชีวภาพที่ทำการหมักจากมูลไก่แห้งและมีชุดควบคุม   ที่ไม่มีการเติมก๊าซใดๆ โดยสาหร่ายที่นำมาเพาะเลี้ยงคือสายพันธุ์ Scenedesmus Sp. ทำการเลี้ยงในระบบปิดที่สภาวะแวดล้อมและแสงแดดตามธรรมชาติผลการศึกษาพบว่าสาหร่ายที่ทำการเพาะเลี้ยงด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์บริสุทธิ์มีมวลและอัตราการเจริญเติบโตที่ดีที่สุดคือ 34 mg/L-day รองลงมาคือสาหร่ายที่เพาะเลี้ยงด้วยชุดควบคุม 1 คือ 32 mg/L-day สาหร่ายที่ทำการเพาะเลี้ยงด้วยชุดไบโอแก๊สคือ 26 mg/L-day และสาหร่ายที่เพาะเลี้ยงด้วยชุดควบคุม 2 มีมวลและอัตราการเจริญเติบโตต่ำที่สุดคือ 12 mg/L-day และการเพาะเลี้ยงด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์บริสุทธิ์สามารถนำมาสกัดน้ำมันได้ในปริมาณ 10.4% w/w และการเพาะเลี้ยงด้วยไบโอแก๊สสามารถสกัดน้ำมันได้ในปริมาณ 8.6% w/w ซึ่งไม่ต่างจากการเลี้ยงด้วย ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์บริสุทธิ์มากนักจากผลการศึกษาดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าการเพาะเลี้ยงสาหร่ายสายพันธุ์ Scenedesmus Sp. ด้วยน้ำเสียชุมชนมีศักยภาพที่จะนำไปสกัดน้ำมัน โดยต้องพิจารณาในเชิงเศรษฐศาสตร์สำหรับการใช้เป็นพลังงานทางเลือกต่อไปในอนาคต

Article Details

How to Cite
1.
บท
บทความวิจัย

References

[1] Tsukahara, K., Sawayama, S. (2005) Liquid fuel production using microalgae. J Jpn Petrol Inst, 48, pp. 251–259.

[2] Chisti Y. (2007). Biodiesel from microalgae. Biotechnol Adv., 25, pp. 294–306.

[3] Lam MK, Lee KT. (2011). Renewable and sustainable bioenergies production from palm oil mill effluent (POME): win–win strategies toward better environmental protection.BiotechnolAdv, 29, pp. 124–141.

[4]Khan SA, Rashmi, Hussain MZ, Prasad S, Banerjee UC.(2009). Prospects of biodiesel production from microalgae in India.Renewable Sustainable Energy Rev, 13, pp. 2361–2372.

[5] Li Y, Horsman M, Wu N, Lan CQ, Dubois-Calero, N. (2008). Biofuels from microalgae. Biotech
nolProgr, 24, pp. 815–820.

[6] APHA; AWWA; WEF (1998). Standard Methods for the Examination of Water and Wastewater, 20th Ed.; American Public Health Association, Washington, DC

[7] บัญชา ขำศิริ และ ชยากรภูมาศ (2556).การ เพาะเลี้ยงสาหร่ายขนาดเล็กด้วยน้ำทิ้งจากบ่อหมักก๊าซชีวภาพจากมูลไก่เพื่อการผลิตไขมัน, วารสารวิจัยเทคโนโลยีการประมง, 7, S1, ตุลาคม 2556, หน้า 25-34.