การศึกษาการใช้เปลือกร่อนน้ำที่เหลือจากกระบวนการผลิตแป้งมันสำปะหลัง มาใช้เป็นตัวประสานถ่านอัดแท่ง
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้เปลือกร่อนน้ำที่เหลือจากกระบวนการผลิตแป้งมันสำปะหลังมาใช้เป็นตัวประสานในกระบวนการผลิตถ่านอัดแท่ง ผลการศึกษา พบว่า เมื่อนำส่วนของ เนื้อติดเปลือก มาทำการบดละเอียด สามารถแยกได้ออกเป็นขนาดความละเอียดผ่านรูตะแกรงในช่วงขนาด 0.2-0.1 0.1-0.05 และ ละเอียดกว่า 0.05 มิลลิเมตร ตามลำดับ เมื่อนำมาทดสอบเป็นตัวประสานถ่านอัดแท่งในอัตราส่วนร้อยละ 20 ของน้ำหนักผงถ่านชนิดไม้รวม พบว่า ที่ความชื้นเริ่มต้นของถ่านอัดแท่งที่ 28.4 %wb.ค่าความร้อนที่ได้อยู่ที่ 3,129 3,155 และ 3,147 แคลอรี่ต่อกรัม ตามลำดับ นำมาเปรียบเทียบกับการใช้แป้งมันสำปะหลังพบว่าค่าความร้อนอยู่ที่ 3,033 แคลอรี่ต่อกรัม และเมื่อนำมาทดสอบหาค่าความแข็งพบว่าค่าความแข็งที่ได้อยู่ที่ 66.59 70.81 และ 62.25 กิโลปาสคาล ตามลำดับ นำมาเปรียบเทียบกับการใช้แป้งมันสำปะหลังพบว่าค่าความแข็งที่ได้อยู่ที่ 58.96 กิโลปาสคาล ดังนั้นมีความเป็นไปได้ที่จะนำเปลือกร่อนน้ำไปใช้เป็นตัวประสานในการผลิตถ่านอัดแท่ง
Article Details
วารสารวิศวกรรมฟาร์มและเทคโนโลยีควบคุมอัตโนมัติ (FEAT Journal) มีกําหนดออกเป็นราย 6 เดือน คือ มกราคม - มิถุนายน และกรกฎาคม - ธันวาคม ของทุกปี จัดพิมพ์โดยกลุ่มวิจัยวิศวกรรมฟาร์มและเทคโนโลยีควบคุมอัตโนมัติ คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อเป็นการส่งเสริมและเผยแพร่ความรู้ ผลงานทางวิชาการ งานวิจัยทางด้านวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีพร้อมทั้งยังจัดส่ง เผยแพร่ตามสถาบันการศึกษาต่างๆ ในประเทศด้วย บทความที่ตีพิมพ์ลงในวารสาร FEAT ทุกบทความนั้นจะต้องผ่านความเห็นชอบจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้องและสงวนสิทธิ์ ตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2535
References
book.php?task=22
[2] Pralong Damrongthai (1998 ). Green fuel briquette, Thaisumi.co.ltd, Available
From :http://www.carcoal.snmcenter.com/charcoalthai/Green20Fuel%20Briquette.php.(accessed on October 17, 2007)
[3] สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญ และแนวโน้มปี 2556: มันสำปะหลัง [ออนไลน์] 2556 [อ้างเมื่อ 24 ธันวาคม2556].แหล่งที่มา: http://www.oae.go.th./ ewt_news.php?nid=13477
[4] วีรชัย อาจหาญ, วีระศักดิ์ เลิศสิริโยธิน, พยุงศักดิ์ จุลยุเสน, เทวรัตน์ ทิพยวิมล, คธา วาทกิจ, พรรษา ลิบลับ, ชาญชัย โรจนสโรช, สามารถ บุญอาจ และวิเชียร ดวงสีเสน. 2552.การพัฒนากระบวนการผลิตวัตถุดิบจากมันสำปะหลังสำหรับอุตสาหกรรมเอทานอล. รายงานโครงการวิจัยงานวิจัยเพื่อนวัตกรรมประจำปีงบประมาณ 2551, ภาคีศูนย์นวัตกรรมหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, นครราชสีมา.
[5] พิรุณ ชมศรี, ชัยยันต์ จันทร์ศิริ..2557.การศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพเบื้องต้นของเปลือกร่อนน้ำจากกระบวนการผลิตแป้งมันสำปะหลังเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงชีวมวล. การประชุมวิชาการสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทยระดับชาติครั้งที่ 15 และระดับนานาชาติครั้งที่ 7, โรงแรมกรุงศรีริเวอร์ จังหวัดอยุธยา