การเลี้ยงสาหร่ายน้ำมันด้วยก๊าซชีวภาพและธาตุอาหารจากระบบถังหมักก๊าซชีวภาพ แบบไร้อากาศ

Main Article Content

ธัญลักษณ์ ราษฏร์ภักดี

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของสัดส่วนน้ำทิ้งจากถังหมักชีวภาพแบบไร้อากาศที่หมักด้วยมูลไก่สำหรับการเพาะเลี้ยงสาหร่ายเพื่อการผลิตน้ำมัน และเปรียบเทียบอัตราการเจริญเติบโตต่อปริมาณน้ำมันของสาหร่ายที่เพาะเลี้ยงด้วยน้ำทิ้งจากถังหมักชีวภาพแบบไร้อากาศกับชุดทดลองที่เพาะเลี้ยงด้วยน้ำเสียสังเคราะห์  โดยใช้ก๊าซชีวภาพและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ร้อยละ 98 เป็นแหล่งคาร์บอน  จากการศึกษาพบว่าสาหร่ายที่ทำการเพาะเลี้ยงด้วยน้ำเสียสังเคราะห์และเติมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ร้อยละ 98 มีอัตราการเจริญเติบโตสูงที่สุดคือ 40 mg/L-day และมีปริมาณน้ำมันร้อยละ 11.84 ของน้ำหนักแห้ง  ส่วนสาหร่ายที่เลี้ยงด้วยน้ำผสมน้ำทิ้งจากถังหมักชีวภาพแบบไร้อากาศที่ความเข้มข้นร้อยละ 0.5 (v/v) มีอัตราการเจริญเติบโตที่ 20 mg/L-day และมีปริมาณน้ำมันร้อยละ 2.5 ของน้ำหนักแห้ง  จากการศึกษาดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าการเพาะเลี้ยงสาหร่ายสายพันธุ์ Chlorella Vulgaris TISTR 8580 ด้วยน้ำผสมน้ำทิ้งจากถังหมักชีวภาพแบบไร้อากาศและก๊าซชีวภาพมีศักยภาพที่จะใช้เป็นพลังงานทางเลือก โดยจะต้องมีการศึกษาปรับปรุงในด้านปริมาณสารอาหารที่เหมาะสมสำหรับการเพาะเลี้ยงเชิงพาณิชย์ในอนาคต

Article Details

How to Cite
1.
บท
บทความวิจัย

References

[1] Promma K, Thong-in W. Algae Cultivation for Biofuel using Effluent Wastewater [MEn Thesis]. Khon Kaen: Khon Kaen University; 2013.

[2] Kaewkannetra P, Chulalaksananukul W, Alec EJ. Potential of Biodiesel Production from Microalgal Oil. Bangkok :The Thailand Research Fund; 2009.

[3] Lam M, Lee K. Immobilization as a Feasible Method to Simplify The Separation of Microalgae From Water for Biodiesel Production. Chemical Engineering J 2012;191: 263-268.

[4] Scragg AH, Illman AM, Carden A, Shales SW. Growth of Microalgae with Increased Calorific Values in a Tubular Bioreactor. Biomass and Bioenergy J 2002; 23:67–73.