การพัฒนาเครื่องคั่วเมล็ดทานตะวันกึ่งอัตโนมัติ
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการนำเสนอการพัฒนาเครื่องคั่วเมล็ดทานตะวันแบบกึ่งอัตโนมัติ มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบสร้างเครื่องโดยใช้ความร้อนจากแก็สหุงต้ม ตัวเครื่องที่ออกแบบมีขนาดอยู่ที่ 50×120×80 เซนติเมตร อาศัยกำลังขับจากมอเตอร์ 1/4 แรงม้า ส่งกำลังด้วยโซ่ ขับตัวถังคั่วให้หมุนด้วยความเร็วคงที่ และใช้ความร้อนจากแก็ส LPG โครงสร้างประกอบด้วยถัง 2 ใบ คือ ตัวถังนอกและถังใน โดยถังในมีใบกวนข้างในสำหรับกวนเมล็ด ผลการทดสอบการคั่วที่ปริมาณน้ำหนัก 0.5 1 และ 2 กิโลกรัม ที่ความเร็วรอบ 15 รอบต่อนาที นั้นใช้เวลาในการคั่ว 30 45 และ 50 นาที ความชื้นโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 33.33 25.33 และ 12.78 เปอร์เซ็นต์ (มาตรฐานเปียก) อุณหภูมิโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 102.33 85 และ 104.33 องศาเซลเซียส สิ้นเปลืองแก๊สหุงต้มเฉลี่ยอยู่ที่ 0.38 0.78 และ 0.6 กิโลกรัม ส่วนค่าไฟฟ้าที่สูญเสียไปคือ 0.093 0.14 และ 0.154 หน่วยต่อครั้ง ตามลำดับ
Article Details
วารสารวิศวกรรมฟาร์มและเทคโนโลยีควบคุมอัตโนมัติ (FEAT Journal) มีกําหนดออกเป็นราย 6 เดือน คือ มกราคม - มิถุนายน และกรกฎาคม - ธันวาคม ของทุกปี จัดพิมพ์โดยกลุ่มวิจัยวิศวกรรมฟาร์มและเทคโนโลยีควบคุมอัตโนมัติ คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อเป็นการส่งเสริมและเผยแพร่ความรู้ ผลงานทางวิชาการ งานวิจัยทางด้านวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีพร้อมทั้งยังจัดส่ง เผยแพร่ตามสถาบันการศึกษาต่างๆ ในประเทศด้วย บทความที่ตีพิมพ์ลงในวารสาร FEAT ทุกบทความนั้นจะต้องผ่านความเห็นชอบจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้องและสงวนสิทธิ์ ตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2535
References
[2] เสาวนีย์ จิตรพิทักษ์. หลักโภชนาการปัจจุบัน. ไทยวัฒนาพาณิช: กรุงเทพฯ; 2526.
[3] การแปรรูปเมล็ดทานตะวัน. (สื่อออนไลน์) [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 16 กรกฎาคม 2550] เข้าถึงได้จาก : http://www.thaitom bon.com.
[4] ชัยพร แอคะรัจน์. พันธ์ของทานตะวัน. [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 16 กรกฎาคม 2550] เข้าถึงได้จาก : http://www.geoci ties.com.dr.chayaporn.
[5] ทานตะวัน. (สื่อออนไลน์) [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 16 กรกฎาคม 2550] เข้าถึงได้จาก : http://.www.doae.go.th.html.detail.sunflo wer.t2.gif
[6] กัญจนา บุณยเกียรติ. เชื้อเพลิงและการเผาไหม้. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ฯ: กรุงเทพฯ; 2544.
[7] จำรูญ ตันติพิศาลกุล. การออกแบบชิ้นส่วนเครื่องจักรกล 1. เม็ดทรายพริ้นติ้ง: กรุงเทพฯ; 2540.
[8] เดร์ลิง ไฮนริช. แปลและเรียบเรียง โดย บุญศักดิ์ ใจจงกิจ. ทฤษฎีเครื่องมือกล. คุรุสภา ฯ : พระนครศรีอยุธยา; 2519.
[9] มนตรี พิรุณเกษตร. การถ่ายเทความร้อน. บริษัทวิทยาพัฒน์ จำกัด: กรุงเทพฯ; 2542.
[10] เกียรติศักดิ์ งามวิริยะประเสริฐ ณฐกฤช จารุวัฒนาสกุล ณัฐกิตติ์ กิติวงค์ และ วสันต์ อินทร์ตา. ผลของความชื้นต่อคุณสมบัติทางกายภาพของเมล็ดทานตะวันแบบกะเทาะเปลือกและแบบไม่กะเทาะเปลือก. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง :กรุงเทพฯ; 2555.