การผลิตผงเลือดจระเข้น้ำจืดโดยวิธีการอบแห้งแบบแช่แข็งสุญญากาศ

Main Article Content

วิรุณ โมนะตระกูล

บทคัดย่อ

การศึกษากระบวนการผลิตผงเลือดจระเข้น้ำจืดด้วยวิธีการอบแห้งแบบแช่แข็งสุญญากาศ (Vacuum Freeze Dryer Method) โดยใช้เครื่องอบแห้งแบบแช่แข็งสุญญากาศผลิตแบบต่อเนื่อง ที่ผลิตขึ้นซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ประกอบด้วย ห้องอบแห้ง ชุดสร้างสภาวะแช่แข็ง ชุดสร้างสภาวะสุญญากาศ และชุดสร้างความร้อน ในส่วนของห้องอบแห้งจะมีถาดสแตนเลสใช้สำหรับบรรจุผลิตภัณฑ์ ขนาด 250x400x20 มม.จำนวน 6 ถาด ชุดสร้างสภาวะแช่แข็ง ประกอบด้วยคอมเพรสเซอร์ขนาด 1 ตัน คอยล์เครื่องระเหย เครื่องควบแน่น และวาล์วระเหยสารทำความเย็นชุดสร้างสภาวะสุญญากาศจะประกอบด้วยปั๊มสุญญากาศ ที่สามารถสร้างสุญญากาศได้ถึง 5x10-4 torr และชุดสร้างสภาวะความร้อนประกอบด้วยแผ่นความร้อนขนาด 2.5 kW จำนวน 4 แผ่น เงื่อนไขการทดสอบประกอบด้วย อุณหภูมิเริ่มต้นในการแช่แข็งเลือดจระเข้น้ำจืด โดยแยกการแช่แข็งระหว่างฮีโมโกลบินและพลาสมาออกจากกันที่อุณหภูมิเริ่มต้น 25ºC และเริ่มต้นการอบแห้งโดยแยกผลิตภัณฑ์ตามระดับอุณหภูมิที่ต้องการศึกษาที่ -20, -25 และ -30ºC ตามลำดับ และเพิ่มอุณหภูมิแก่ผลิตภัณฑ์อย่างช้าๆ จนกระทั่งอุณหภูมิผลิตภัณฑ์อยู่ที่ 30ºC ในทุกกรณีศึกษา


จากการศึกษา พบว่า สภาวะที่เหมาะสมของการอบแห้งแบบแช่แข็งสุญญากาศที่มีผลในการผลิตผงเลือดจระเข้น้ำจืด อยู่ที่สภาวะอุณหภูมิที่ -20ºC โดยใช้เวลา 1,080 นาที สำหรับฮีโมโกลบิน และ 810 นาทีสำหรับพลาสมาโดยคุณสมบัติของเลือดจระเข้น้ำจืดที่ผ่านการอบแห้งทั้งฮีโมโกลบินและพลาสมามีคุณสมบัติคล้ายคลึงกันในด้านเคมีกับกระบวนการอบแห้งโดยทั่วไปคือ ความ-บริสุทธิ์ น้ำหนักโมเลกุล ความสามารถในการต้านเชื้อแบคทีเรีย ความเป็นพิษต่อเซลล์สิ่งมีชีวิต ความสามารถในการต้านอนุมูล-อิสระ และความไม่มีฤทธิ์เป็นพิษทางชีวภาพ แต่ในคุณลักษณะทางกายภาพมีความแตกต่างกันในด้านสี และรูปร่างขนาดของผลึก ดังนั้นกระบวนการผลิตผงเลือดจระเข้น้ำจืดด้วยวิธีการแบบแช่แข็งสุญญากาศ สามารถรักษาคุณภาพของผงเลือดจระเข้น้ำจืดเป็นไปตามมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ อย่างไรก็ตาม ควรมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมถึงผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตและคุณภาพในระยะยาวเพื่อให้เกิดความมั่นใจมากยิ่งขึ้นสำหรับการลงทุนและบทบาทการเป็นทางเลือกอาหารเสริมชนิดใหม่ในโอกาสต่อไป

Article Details

How to Cite
1.
บท
บทความวิจัย

References

[1] ปัณณธร ภัทรสถาพรกุล. เทคโนโลยีการทำแห้งแบบแช่เยือกแข็ง (ตอนที่ 1). วารสารสมาคมเครื่องทำความเย็นไทย Keep Kool 2547; 11: 20 – 22.

[2] มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. แคปซูนเลือดจระเข้. [เข้าถึงเมื่อ 31 ตุลาคม 2554] เข้าถึงได้จาก : http:// www.เลือดจระเข้.com

[3] วสันต์ เธียรสุวรรณ. การศึกษากรรมวิธีการผลิตมะนาวผงโดยการอบแห้งแบบแช่แข็งสภาวะสุญญากาศ [วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต] ขอนแก่น :มหาวิทยาลัยขอนแก่น ; 2550

[4] วิลาวรรณ ผคังทิว อรวรรณ สกุลเลิศผาสุก และ นริสา ลีละถาวรปัญญา. คู่มือการเพาะเลี้ยงสัตว์ป่า. กรุงเทพฯ : ศูนย์พัฒนาการจัดการสัตว์ป่าบึงฉวาก ; 2544.

[5] สมปอง ธรรมศิริรักษ์. การศึกษากลไกการทำงานของสารออกฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อราจากเม็ดเลือดขาวจระเข้สายพันธุ์ไทย (Crocodylus Siamensis). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น ; 2552.

[6] อนวัทย์ ภักดีสุวรรณ. ศูนย์วิจัยโปรตีนและ โปรติโอมิกส์เพื่อการพาณิชย์และอุตสาหกรรม. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัย ขอนแก่น ; 2555.

[7] Pakdeesuwan, A, Daduang, S, Thammasirirak, S.Characterization of Antimicrobial Peptide from Crocodile (Crocodylus siamensis). Khon Kaen : Khon Kaen University ; 2005.

[8] Siruntawineti J, Chaeychomsri W, Ardom, S. Analysis of Insulin Like Growth Factor-I (GF-I) in Crocodile Serum for Development of Diabetes Millitus Pateint’s functional food. Department of Zoology, Faculty of Science. Bangkok : Kasetsart University ; 2009.

[9] Theansuwan W, Triratanasirichai K. Air Blast Freezing of Lime Juice: Effect of Processing Parameter. American journal of Applied Sciences 2008; 34 – 40.